คำยืมภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทย


คำยืมภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทย

Photobucket - Video and Image Hosting

ไทยและกัมพูชามีอาณาเขตติดต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ทำให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก

การสังเกตคำเขมรที่ใช้ในภาษาไทย มีดังนี้

1.  คำที่เติม บำ บัง บัน บรร ข้างหน้า เช่น

       บำ + เพ็ญ =  บำเพ็ญ

       บัง + เกิด  =  บังเกิด

       บัน + ดาล =  บันดาล

       บรร+ ลุ    =   บรรลุ 

2.  คำที่ขึ้นต้นด้วย บำ บัง บัญ บัน บรร เช่น บำบัด บำเรอ บังคับ บังเอิญ บัญชา บันลือ บันเทา บรรดา บรรทัด 

(ยกเว้น  บัญชี บรรพต  บรรยาย  บรรษัท  บรรหาร  บรรพชิต เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต)

3. คำที่สามารถแทรก -ำ หรือ -ำน เข้าไปตรงกลางคำได้ เช่น

       ทลาย   แทรก -ำ   เป็น  ทำลาย

       ตรัส     แทรก -ำ   เป็น  ดำรัส

       เกิด     แทรก -ำ    เป็น  กำเนิด

       อาจ     แทรก  -ำ  เป็น  อำนาจ

       ทาย    แทรก  -ำ   เป็น  ทำนาย

4.  คำที่ออกเสียงแบบอักษรนำ ส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น เขม่า  ฉลาด  สงวน  สยบ  แสม  เสนอ ฯลฯ

5.  นิยมใช้ จ ญ ร ล เป็นตัวสะกด เช่น กาจ กำเหน็จ สำรวจ ควาญ จัญไร ชำนาญ เผชิญ สำราญ ขจร ระเมียร กังวล ทูล บังคล สรวล

Photobucket - Video and Image Hosting

ตัวอย่างคำภาษาเขมร

กรวด กระโถน กระบอง กระทรวง กระแส กำจัด กำจาย กำเดา ขนง ขลาด เข็ญ เขลา ฉนวน ฉนำ ฉบัง ฉลู โฉด เชลย เชิง เฌอ แด(ใจ) โดม(สูง) โดย(ตาม) ได(มือ) ไถง เนา(อยู่) ประกายพรึก ปรัง(ฤดูแล้ง) โปรด ผกา ผกาย ผจง ผจญ ผทม ผสม ผสาน เผดิม เผดียง แผนก พนม เพยีย(ดอกไม้) ระเมียร(ดู) เลบง(การเล่น) สกาว สดับ สดำ สมอ(หิน) สำราญ เสงี่ยม เสน่ง เสนียด แสะ(ม้า) ลออ สไบ

Photobucket - Video and Image Hosting

ทดสอบความเข้าใจ

1.  ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาเขมร

ก.  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ข.  คุณปู่ทำกนกแก้วลายไทยงามไพจิตร

ค.  ให้รื่นเริงสุขสำราญเหมือนดอกไม้บานยามเช้า

ง.  เพลงลาวดำเนินทรายมีทำนองไพเราะอ่อนหวาน

เฉลย  คำตอบที่ถูกได้แก่ข้อ ข. 

คำทีี่มาจากภาษาเขมรได้แก่ โปรด สำราญ และ ดำเนิน

ส่วนคำว่า กนกในคำตอบข้อ ก นั้น ออกเสียงอย่างอักษรนำแต่มิใช่คำที่มาจากภาษาเขมร  กนกเป็นคำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต มีความหมายว่า ทองคำ

2.  ข้อใดไม่มีคำยืมจากภาษาเขมร

ก.  เสียงเสือกวางกลางเนินพนมวัน      ให้หวั่นหวั่นวังเวงหวาดฤทัย

ข.  พวกแตกทัพคงกลับไปกราบทูล     เป็นเค้ามูลว่าเราคิดขบถ

ค.  ทั้งผัวเมียแสนอนาถเพียงขาดใจ     สุดอาลัยแล้วก็กอดกันโศกา

ง.  ไก่ป่าขันแจ้วอยู่แนวไพร              เขี่ยคุ้ยขุยไผ่เป็นถิ่นถิ่น

เฉลย  คำตอบที่ถูกได้แก่ข้อ ค 

คำที่มาจากภาษาเขมรได้แก่ พนม ทูล และไพร

ส่วนคำว่าอนาถซึ่งเป็นคำลวงในข้อค. นั้นออกเสียงอย่างอักษรนำว่า [อะ-หฺนาด] เป็นคำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต มีความหมายว่า สงสาร สังเวช สลดใจ ไม่มีที่พึ่ง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #คำยืม#ภาษาเขมร
หมายเลขบันทึก: 550548เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท