พุทธวิธีการบริหาร (Buddha’s Administration Method)


พุทธวิธีการบริหาร
(
Buddhas Administration Method)

พุทธะ หมายถึง พระพุทธเจ้า วิธี หมายถึงทำนองหรือหนทางที่จะทำ, แบบ, เยี่ยงอย่าง, กฎ, เกณฑ์, คติ, ธรรมเนียม บริหารหมายถึง ดำเนินการ, จัดการ, ปกครอง, ออกกำลัง

ความหมาย (Meaning) การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น(Getting Things Done Through Other People) เพราะฉะนั้น พุทธวิธีการบริหาร จึงหมายถึง รูปแบบการบริหารจัดการของ
พระพุทธเจ้า

พุทธวิธีการบริหารตามกรอบหน้าที่ (Function)
ของนักบริหาร คือ POSDC

P = Planning : การวางแผน

O = Organizing :การจัดองค์กร

S = Staffing :การบริหารงานบุคคล

D = Directing:การอำนวยการ

C = Controlling:การกำกับดูแล

พุทธวิธีในการวางแผน
Buddhas Planning

๑. ทรงวางแผนไปโปรดปัญจวัคคีย์

๒. ทรงกำหนดวัตถุประสงค์ของการบวชที่ชัดเจน

เช่นตัวอย่าง เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด (วิ. มหา. ๑/๑๘/๒๓)

๓. ทรงให้ผู้บริหารต้องมี จักขุมา คือ มีสายตา
ที่ยาวไกล หรือมองการณ์ไกล หรือมีวิสัยทัศน์ (องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๙/๑๔๖)

๔. ทรงกำหนดเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม คือ
ความหลุดพ้นทุกข์ หรือวิมุตติ ตัวอย่างเช่น
เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็มีรสเดียว คือ วิมุตติรส ฉันนั้น (วิ. จุล. ๗/๔๖๒/๒๙๑)

๕. ทรงวางแผนเพื่อประกาศพระศาสนาไปในทิศต่าง ๆ

ตัวอย่างเช่น ภิกษุทั้งหลาย...เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกันสองรูป...แม้เราเองก็จะไปยังตำบลอุรุเวลเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม (วิ. มหา. ๑/๓๒/๓๙)

๖. ทรงวางแผนให้เผยแผ่ธรรมด้วยหลักสมานฉันท์ ตัวอย่างเช่น ให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยขันติ คือ ความอดทน ไม่ให้ว่าร้ายหรือการเข่นฆ่าประหัตประหาร เพื่อบีบบังคับให้คนหันมานับถือพระพุทธศาสนา (ขุ. ธ. ๒๕/๒๔/๓๙)

พุทธวิธีในการจัดองค์กร
Buddhas Organizing

๑.ทรงให้มีความเสมอภาคและภราดรภาพ ตัวอย่างเช่น เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย...ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรอันเดิมเสีย วรรณะ ๔...ผู้ออกเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเสีย เข้ามาเป็นสมณะ เชื้อสายศากยบุตรเหมือนกัน (วิ. จุล. ๗/๔๖๐/๒๙๐)

๒. ทรงกำหนดให้พระภิกษุเคารพกันตามลำดับพรรษา เพราะถ้าเท่าเทียมกันหมด ไม่มีใครฟังใคร
หรือยอมให้ใคร
เช่น การอยู่ร่วมกันของคนที่เสมอกัน นำทุกข์มาให้ (ขุ. ธ. ๒๕/๓๑/๕๔)

๓. ทรงจัดตั้งพุทธบริษัท ๔ และทรงมอบอำนาจให้ สงฆ์บริหารจัดการเอง เช่น อธิกรณ์, อุปสมบท ทรงเป็น ธรรมราชา ผู้บริหารสูงสุดในองค์กร เชน เราเป็นพระราชา นั่นคือ ธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม(ม. ม. ๑๓/๖๐๙/๕๕๔)

๔. ทรงแต่งตั้งพระสารีบุตร เป็นธรรมเสนาบดี มีฐานะเป็น รองประธานบริหารพุทธบริษัท และอัครสาวกฝ่ายขวา ทรงแต่งตั้ง พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย ดูแลงานบริหาร ทรงแต่งตั้ง พระอานนท์ เป็นเลขาธิการของพุทธองค์ และทรงแต่งตั้ง สาวกทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นเอตทัคคะ คือ ผู้ชำนาญการที่รับภาระงานด้านต่าง ๆ เช่น พระมหากัสปะ ทางด้านธุดงค์(องฺ. เอกก. ๒๐/๑๔๖/๓๐)

(เป็นการกระจายอำนาจ ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน (Put right man on the right job) )

พุทธวิธีในการบริหารงานบุคคล
Buddhas Staffing

๑. การรับหรือบรรจุคนเข้ามาเป็นสมาชิกในพุทธบริษัท ๔ เช่น พระภิกษุ กำหนดคุณสมบัติและกลั่นกรองโดยคณะสงฆ์ ภิกษุณี กำหนดคุณสมบัติและกลั่นกรองโดยคณะสงฆ์ ทั้ง ๒ ฝ่าย อุบาสก กำหนดคุณสมบัติและแสดงตนเป็นพุทธมามกะ อุบาสิกา กำหนดคุณสมบัติและแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

๒. การพัฒนา : การศึกษาและฝึกอบรม ยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เน้นภาคฝึกปฏิบัติ (Training) มากกว่าภาคทฤษฎี (Teaching) เช่น เธอทั้งหลายต้องทำความเพียรเผากิเลสเอง ตถาคตเจ้าเป็นแค่ผู้บอกทาง (ขุ. ธ. ๒๕/๓๐/๕๑)

๒.๑ การจูงใจ : สิทธิประโยชน์ การได้บรรลุความเป็นอริยบุคคลเช่นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

๒,๒ ผลของงาน เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เช่น พฤติกรรมมนุษย์เป็นกระบวนการของกรรมและผลของกรรม (วิบาก) กล่าวคือ ทำกรรมดี ได้ผลดี ทำกรรมชั่ว ได้ผลชั่ว (ที. อ. ๒/๓๔)

๓. การธำรงรักษา มีการยกย่องและลงโทษ

นิคฺคณฺเห นิคฺคณฺหารหํ

ปคฺคณฺเห ปคฺคณฺหารหํ หมายถึง ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง (ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๒๒/๕๓๑)

 

พุทธวิธีในการอำนวยการ
(
Buddhas Directing)

๑. ผู้บริหารกับผู้นำ ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่ทำให้คนอื่นทำงานตามที่ ผู้บริหารต้องการ ผู้นำ หมายถึงผู้ที่ทำให้คนอื่นต้องการทำงาน ตามที่ผู้นำต้องการ

๒. ผู้บริหารที่ดีต้องมีภาวะผู้นำที่สามารถจูงใจ ด้วยการสื่อสาร ด้วยหลัก ๔ ส.

๑. สันทัสสนา : แจ่มแจ้ง ๒. สมาทปนา : จูงใจ

๓. สมุตเตชนา : แกล้วกล้า ๔. สัมปหังสนา : ร่าเริง (ที.สี. ๙/๑๙๘/๑๖๑)

๓. หลักตถาคตอำนวยการ ตรัสอย่างไรแล้วทรงทำอย่างนั้น (ยถาวาที ตถาการี)

ทรงสอนให้รู้ (ยถาวาที) ทำให้ดู (ตถาการี) อยู่ให้เห็น (/๒๑๑/๒๕๕ที.ม. ๑๐ )

๔. การอำนวยการแบบอธิปไตย ๓ อัตตาธิปไตย หมายถึงถือตนเองเป็นใหญ่ โลกาธิปไตย หมายถึงถือคะแนนนิยมจากคนอื่นเป็นที่ตั้ง และ ธัมมาธิปไตย หมายถึง ยึดธรรมคือความถูกต้องเป็นหลัก

(องฺ.ติก. ๒๐/๔๗๙/๑๘๖)

พุทธวิธีในการกำกับดูแล
(
Buddhas Controlling)

๑. ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ โดยเหตุผลดังนี้ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ เพื่อข่มบุคคลไร้ยางอายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ฯลฯ (วินย. ๑/๒๐/๓๗)

๒. ทรงให้มีการทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน ในตอนจบของศีลแต่ละสิกขาบท ผู้สวดถามที่
ประชุมสงฆ์ว่า
กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในศีลสิกขาบทนี้แล้วหรือ ? (วิ. มหา ๑/๓๐๐/๒๒๐)

๓. ทรงให้มีการตักเตือนกันเองวันปวารณา เช่น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อสงฆ์ เพราะเห็นก็ดี เพราะได้ยินก็ดี เพราะสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าผิดพลาด ก็จักปรับปรุงแก้ไขตัวเอง (วิ. มหา. ๔/๒๒๖/๓๑๔)

๔. ทรงให้ขับผู้ทุศีลออกจากสงฆ์ เช่น เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน

กล่าวโดยสรุป.. ๑. ทรงให้ถือประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นสำคัญ เช่น ถ้าเห็นว่าจะได้ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่ เพราะสละประโยชน์สุขเล็กน้อย บุคคลควรสละประโยชน์สุขเล็กน้อย เพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่ (ขุ.ธ. ๒๕/๘/๙) ๒. ทรงให้ประพฤติตามครรลองครองธรรม เช่น เมื่อฝูงโคข้ามฟากแม่น้ำ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมดในเมื่อโคผู้นำฝูงไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติ ๓. ทรงยกย่องนักบริหาร ผู้ประสาน ๑๐ ทิศ

เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธุโร โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ ผู้ใดเมื่อคนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ตนเองเป็นผู้ประสานให้พวกเขาดีกัน ผู้นั้นเป็นคนรับภาระและจัดการธุระที่ยอดเยี่ยม

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 550239เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท