การศึกษาเชิงวิพากษ์...


วิธีการเรียนการสอน และ วิธีการ "โก๊ะจัง" ของบรรดา "นิสิตโข่ง"......กลุ่มนี้ มากมาก .... เฮฮา ขำขัน ปน การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญ.....

.....กลับมา รำลึก เล่าเรื่อง ... ในการเรียนรายวิชาต่อไป ที่จะอรรถาธิบายในครั้งนี้ คือ วิชา Critical Analysis in Education and Sustainable Development หรือ การวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิพากษ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ... รายวิชานี้ จำนวน 2 หน่วยกิต จัดอยู่ในภาคการศึกษาแรก ของชั้นปีที่ 1 ( หนึ่งภาคการศึกษา ตามระเบียบ ของจุฬาฯ กำหนด ให้ลงทะเบียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และ ไม่เกิน 15 หน่วยกิต)

สำหรับ ผู้เขียน ลงทะเบียนในเทอมแรก เต็มพิกัด 15 หน่วยกิต เพราะ ต้องการเก็บ Course work ให้หมดเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ (เนื่องจาก ขณะนั้น ลาราชการไปเรียนโดยใช้เวลาบางส่วน จึงต้อง Speed เต็มที่)

...วิชา "การวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิพากษ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน" จัดเป็นรายวิชาเลือกเสรี ผู้สอนคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชื่นชนก โควินทร์ (ข้อมูลเมื่อปีการศึกษา 2552 - ปัจจุบัน ไม่แน่ใจว่า ท่านยังสอนรายวิชานี้ อยู่หรือไม่) การเรียนการสอน ได้บรรยากาศที่ดีอย่างหนึ่งคือ ผู้ลงทะเบียนเรียน มาจากหลากหลายสาขาในภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มีผู้ลงทะเบียนประมาณ เกือบ 30 คน จึงทำให้บรรยากาศการเรียน เป็นไปอย่าง คึกคัก ได้รู้จักเพื่อนต่างสาขา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนคติ แนวคิด แนวทางการวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น ร่วมกันในชั้นเรียนที่หลากหลาย ....

....ขออนุญาต "นินทา" ย้อนหลัง ถึงท่านอาจารย์ผู้สอน ด้วยความเคารพยิ่ง....ท่านอาจารย์ชื่นชนก เป็นอาจารย์ ที่เก่ง มาก มาก มาก .... และเป็นอาจารย์ที่มี มุมมอง วิสัยทัศน์ กว้างไกล ทั้งใน และต่างประเทศ ( ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ที่ดูแล งานด้านต่างประเทศด้วย) .... บุคลิกภาพ ท่านเป็น หนุ่มวัยกลางคน สไตล์เกาหลี ญี่ปุ่น ประมาณนั้น....รสนิยม เสื้อผ้า หน้า ผม เนี๊ยบ มาก (บรรดานิสิตหญิง ตั้งฉายาว่า "พี่ชื่น (ใจ) " /// พวกเรา แอบเห็น ท่านอาจารย์ ชอบรับประทาน สาหร่ายทอด (เถ้าแก่น้อย)-----/// พวกเรา บางส่วน จึง ทานตามด้วย---หวังว่า จะฉลาดเฉลียว เหมือนท่าน ....ว่างั้นเถอะ.....5555

...เนื้อหาของรายวิชาที่ได้เรียน เป็นเรื่องของ รูปแบบการคิด เทคนิคการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ หรือ "วิภาษวิธี" เป็นประเด็นวิกฤตด้านการศึกษา / ประเด็นวิกฤตด้านการพัฒนา / กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน / กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน / การวิจัยการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอด จน การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน .....

.... จุดเด่นของการเรียนการสอน รายวิชานี้ คือ ....ท่านอาจารย์ชื่นชนก จะกำหนด หัวข้อที่จะพูดคุย วิพากษ์ในชั้นเรียน สำหรับ แต่ละครั้งล่วงหน้า โดยให้นิสิตไปศึกษา ตำรา ที่แนะนำ ( ภาษาอังกฤษ ล้วน ๆ ) ... ในบรรยากาศ การเรียน จะมีมุข ขำขัน กันเป็นประจำ .... นั่นคือ ความบัดซบ ของผู้เรียน ที่ แปลภาษา และ ตีความ จากตำรา ผิดเพี้ยน อย่างน่าอับอาย....5555...เมื่อนำมาพูดคุยในชั้นเรียน ร่วมกัน จึงเป็นที่ขำขัน ร่วมกัน....มิได้ มีการ "อับอาย" ต่อกันเลยแม้แต่น้อย.....เพราะ พวกเรา ล้วน ผิด ๆ เพี้ยน ๆ ถ้วนทั่วกันทุกคน.....555555.....

.....ส่วนตัว ผู้เขียน ค่อนข้างชอบ วิธีการเรียนการสอน และ วิธีการ "โก๊ะจัง" ของบรรดา "นิสิตโข่ง"......กลุ่มนี้ มากมาก .... เฮฮา ขำขัน ปน การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญ.....


จนในที่สุด อาจารย์ ผู้สอน ท่านทนไม่ได้อีกต่อไป....ต้องแปลตำรา มาให้ล่วงหน้าก่อนสอน ทุกสัปดาห์.....(นี่แหละ หมัดเด็ด...ที่ท่านอาจารย์ ได้ใจ นิสิต ป.เอก จุฬาฯ ไปครอง ยกรุ่น...555555) ...มิฉะนั้น....ท่านอาจารย์ เองจะปวดเศียร เวียนเกล้า กับ ทักษะการแปล ที่ผิด ๆ เพี้ยน ๆ นำมาซึ่ง การวิพากษ์ วิจารณ์ ที่ผิดเพี้ยน ตามไปด้วย........เฮ้อ....!!!! กว่าจะจบมาได้ เหนื่อยแทน ท่านอาจารย์ จริง ๆ ค่ะ.....

...... มีเรื่องราว เกี่ยวกับ วิชานี้อีก พอควร ขอยกยอด ไปคราวหน้า ....เพราะเกรงว่า บันทึกนี้ จะยืดยาวเกิน พิกัด...ชวนน่าเบื่อ......

สำหรับ เวลานี้ ผู้เขียน บันทึกด้วยร่างกายที่ "พยายามจะเข้มแข็ง" ภายใน "หัวใจที่ยังคงเจ็บปวด"....แต่มุ่งมั่นจะทำหน้าที่ให้สำเร็จลงจงได้....หวังใจว่า "บันทึกรำลึกการเรียนรู้" ของสมุดเล่มนี้ จะคงไว้ซึ่งอรรถประโยชน์ ต่อ ผู้ได้เข้ามาอ่านสืบไป...

ขอบพระคุณที่ท่านกรุณาติดตาม
จอย ทองกล่อมสี
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 550145เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอเป็นกำลังใจให้กับพี่จอยคนขยันนะคะ 

"พยายามจะเข้มแข็ง" ภายใน "หัวใจที่ยังคงเจ็บปวด"  คมมากเลยนะคะ

 

แม้ใจที่อ่อนล้า..แต่ทว่ายังมีมุมหนึ่งที่ได้มอบความสุข 

ก็ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุด...ไม่มีอยาใดที่จะรักษาโรคได้อย่างเฉียบพลัน

มันต้องอาศัยเวลา เยียวยาใจก็เช่นกัน...ปล่อยให้เวลาผ่านไปสักพัก

สักวันเราจะกลับมานั่งหัวเราะ...กับน้ำตาที่ไหลในวันนั้น

และต้องเก็บ..ประสบการณ์ดังกล่าวมิให้เกิดซ้ำอีกในโอกาสต่อไป

ถ้าไม่ลงแข่งขัน..เราจะไม่รู้จักความพ่ายแพ้

ถ้าไม่อ่อนแอ...หรือจักรู้คุณค่าของความเข้มแข็ง

ไม่ลุกขึ้น..สู้ แล้วจะรู้หรือว่ามีแรง

ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนแปลง...ก็..ไม่มีวันรู้ว่า...ตัวเราเองมีคุณค่าอย่างไร

 

                        ฮิ ฮิ...เค้ารักนะหอยขม555

 

การวิพากษ์ทำให้เกิดการ "พัฒนา" แต่ต้องไม่ใช่เฉพาะเพียงวิพากษ์เชิง "ปรัชญา" เพราะจะพัฒนาได้เฉพาะ "การคิด"  ปัญหาการศึกษาของเราตอนนี้คือ เราไม่ได้เน้นการ "เรียนชีวิต" ซึ่งต้องพิจารณามิติสำคัญของ "บริบท"  การเรียนรู้ของเราต่อไปในอนาคตจึงควรเน้น การวิพากษ์ปัญหาหน้างานในพื้นที่ วิพากษ์กับคนที่ทำงานจริงๆ ...... 

เป็นเพียงความเห็นครับ

เข้ามาเรียนรู้ครับ

น่าสนุกนะครับเรียน ป.เอก...

สวัีสดีค่ะ น้องกล้วยไข่

- ขอบคุณ ที่เข้ามาอ่านค่ะ

- ดูแลสุขภาพ  ยามฝนฟ้า โปรยปราย นะคะ

สวัสดี "พี่ครูหยิน"

- วันนี้ หนูได้ประโยคเด็ด " ไม่มียาใด รักษาโรคได้เฉียบพลัน" ....

ฮิ ฮิ...เค้ารักนะหอยขม555 ////---- ประโยคนี้ทำให้ -- หนูอมยิ้ม--ทั้งที่ตายังบวมช้ำค่ะครู

สวัสดีด้วยรอยยิ้ม ค่ะ คุณพิช้ย

- ขอบพระคุณ ที่ติดตาม นะคะ

- ดูแลสุขภาพ ยามฝนโปรยปราย ค่ะ

 

น้องจอยรู้ไหมหอยขมก่อนจะกินต้องจุ๊บก่อน  

จุ๊บ ตามแบบฉบับของคนใต้.... ก็คือการดูดระยะสั้นนั่นเอง

รักนะหอยขม...จึงมีความหมายว่า...

รักนะจุ๊บ จุ๊บ  นั่นเอง

555

- กลับมาอีกรอบ เพราะอยากจะบอก พี่ครูหยินว่า....หนูเคย ทาน "แกงหอยขม" ที่แม่ ทำให้ ก็ต้อง จุ๊บ ๆ แบบนี้ เหมือนกัน...

จุ๊บ ...กี่... จุ๊บ ก็ไม่ออกมาให้เชยชม สักที////...แม่ก็ต้อง ใช้ไม้จิ้มฟัน จิ้มออกมาให้...5555...

- "ดูดระยะสั้น"  คือ จุ๊บ ๆ ...บวกกับ เข้าใจแล้ว  "รักนะหอยขม".... คราวนี้  หนูยิ้มกว้าง อยู่ หน้อจอคนเดียว เลยละค่ะ พี่ครูหยิน

....หนูได้ "สำนวนใหม่แล้ว".....รักนะหอยขม....555555....

 

สวัสดีค่ะ คุณฤทธิไกร

- ขอขอบคุณ ที่อ่านบันทึก นะคะ

- เห็นด้วย กับท่านอย่างยิ่งค่ะ ว่า  "การวิพากษ์ ในพื้นที่กับคนที่ทำงานจริงๆ  ... จะช่วยให้การพัฒนาเป็นจริงได้ประจักษ์..."

ขอบพระคุณ จุดประกายความคิดเห็นดีดีนะคะ

 

อ่านแล้วสนุกกับจุดเด่นวิชานี้ค่ะ.....กล้าคิด กล้านำเสนอ...และกล้าเปิดใจยอมรับข้อวิพากษ์ของเพื่อนและครู
ทักษะที่น่าฝึกฝนค่ะ

จำอาจารย์ท่านนี้ได้

ดร.ชื่นชนก โควินท์

เข้าใจว่าชื่ออาจารย์ไม่มีร์ นะครับ

เคยแนะนำให้ผมไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับ การพัฒนาหลักสูตร

ตอนนั้นอาจารย์เพิ่งมาใหม่ๆยังไม่ได้ ผศ เลยครับ

 

การที่แต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการที่อิสระ ปลอดโปร่ง-สร้างสรรค์
นี่แหละครับ คือสิ่งอันพึงประสงค์ของการโสเหล่  หลายต่อหลายเรื่อง ไม่จำเป็นต้องมีบทสรุป
หากแต่คนแต่ละคน รู้เองว่า อะไร คือ อะไร  และได้อไรจากสิ่งที่โสเหล่กัน

 

ขอขอบพระคุณ ครูนก  ค่ะ  ที่กรุณา   ให้เกียรติ เข้ามาอ่าน

ดูแลสุขภาพ ยามฝนโปรยปราย นะคะ

สวสดีค่ะ  ท่าน อาจารย์ ขจิต

ขอบพระคุณอาจารย์ื  มาก มากค่ะ  ที่กรุณา แจ้งชื่อสะกดที่ถูกต้อง ของท่าานอาจารย์ชื่นชนก...

อาจารย์ ดูแลสุขภาพ ด้วยนะคะ

 

ขอขอบคุณ  คุรพ่อ น้องจอมขวัญ  // ที่กรุณา ให้เกียรติ  เข้ามาติดตามอ่าน

น้องจอมขวัญ "หน้ากลม " เหมือน สาลาเปา "  น่ารัก น่าเอ็นดู น่ากิน...555

ขอให้ทุกท่านในครอบครัวดูแลสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะ  คุณแผ่นดิน

- ขอขอบพระคุณ ที่กรุณา ให้เกียรติ เข้ามาอ่าน

- ขอบพระคุณ ที่ทำได้รู้จักภาษาอีสาน "โสเหล่"  เพิ่มขึ้นอีก 1 คำ ( ...เปิดพจนานุกรม ทันที ที่เห็น คอมเม้นท์ นี้...555 )

ขอบพระคุณ ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท