กลั่นกรองโครงการ : การจัดการความรักและความรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน


การกลั่นกรองโครงการที่เป็นเสมือนหนึ่งการพัฒนาโจทย์บน “ทุนทางสังคม” (Social capital) ที่นักวิชาการของแต่ละหลักสูตรได้สำรวจ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจมากับชาวบ้าน โดยกรรมการจะเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอโครงการด้วยตนเอง จากนั้นจึงซักถาม ตั้งข้อสังเกต ให้คำเสนอแนะทั้งในด้านประเด็นเนื้อหา ประเด็นพื้นที่ กระบวนการ วิธีการ เป้าหมาย หรือแม้แต่การบริหารจัดการเรื่องงบประมาณ ตลอดจนการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นต่อมหาวิทยาลัยและชุมชน

การกลั่นกรองโครงการ เป็นระบบละกลไกหนึ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยเรื่องโครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบในหลักการและวิธีการของการดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และโครงการการบริการแก่สังคม (หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน) ที่ประกอบด้วยคณะทำงานจากภาคีต่างๆ ได้แก่ ...

  • นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านงานวิจัย งานบริการวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นภายใต้โครงสร้างหลักด้านการเรียนการสอน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสายวิทยาศาสตร์และสุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

อย่างไรก็ดี กลไกการพิจารกลั่นกรองนั้น ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการจากปี 2554 อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ จากแนวคิดของการถอดบทเรียน (lesson learned) ของโครงการหนึ่งคณะหนึ่งชุมชนในปีงบประมาณ 2554 พบว่ากลไกการพิจารณากลั่นกรองนั้นขาด การจัดการความรู้ ที่เป็นรูปธรรม (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกลั่นกรองกับผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือในปี 2554 คณะกรรมการจะพิจารณากลั่นกรองโครงการจากเอกสาร หรือแบบฟอร์มที่แต่ละหลักสูตรส่งเข้ามายังฝ่ายเลขานุการ โดยไม่ได้ประชุมแลกเปลี่ยน หรือสนทนากับผู้เสนอโครงการโดยตรง



ด้วยเหตุนี้การพิจารณากลั่นกรองโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนในปี 2555 ทีมวิจัยร่วมกับคณะกรรมกรรบริหารโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จึงออกแบบระบบและกลไกด้วยการยึดมั่นในแนวคิด การจัดการความรู้ ผ่านกลไกของ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ลปรร (Knowledge sharing) ร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกลั่นกรองกับผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละโครงการเป็นที่ตั้ง ถือเป็นกระบวนการ กลั่นกรองโครงการแบบมีส่วนร่วม เสมือนการแบ่งปัน (share) และเรียนรู้ร่วมกัน (learn) โดยผู้รับผิดชอบหลักสามารถนำเสนอโครงการในรูปของสื่อต่างๆ หรือแม้แต่การนำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า (Story Telling) หรือสนทนา (Dialogue) ร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งแต่ละกลุ่มวิชาชีพจะมีการมอบหมาย หัวหน้ากลุ่ม ทำหน้าที่บริหารจัดการกระบวนการกลั่นกรองของแต่ละสายวิชาชีพ หรือแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปตามแต่จะออกแบบกระบวนการ เพียงแต่ยึดโยงด้วยเครื่องมืออันเดียวกันคือการจัดการความรู้ผ่านกลไกของ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นหัวใจหลัก




กระบวนการดังกล่าวนี้จึงไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของการจัดการความรู้ภายใต้โครงสร้างขององค์กร หรือระบบของมหาวิทยาลัยเท่านั้น หากแต่ยังสื่อให้เห็นถึงวิถีแห่งการแบ่งปัน หรือ การจัดการความรัก ของคนในองค์กรได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เติบโตและงอกงามขึ้นใน ระยะต้นน้ำ ของการขับเคลื่อนทั้งปวง

การเติบโตและงอกงามดังกล่าว เกิดจากการ เปิดใจ หรือสร้างทัศนคติเชิงบวกผ่านเวทีของการกลั่นกรอง ยึดมั่นในหลักแห่งกัลยาณมิตร ซึ่งหมายถึงการเชื่อมั่นในหลักคิดของการจัดการความรักก่อนเป็นลำดับแรก

ดังจะเห็นได้จากการกลั่นกรองโครงการที่เป็นเสมือนหนึ่งการพัฒนาโจทย์บน ทุนทางสังคม (
Social capital) ที่นักวิชาการของแต่ละหลักสูตรได้สำรวจ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจมากับชาวบ้าน โดยกรรมการจะเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอโครงการด้วยตนเอง จากนั้นจึงซักถาม ตั้งข้อสังเกต ให้คำเสนอแนะทั้งในด้านประเด็นเนื้อหา ประเด็นพื้นที่ กระบวนการ วิธีการ เป้าหมาย หรือแม้แต่การบริหารจัดการเรื่องงบประมาณ ตลอดจนการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นต่อมหาวิทยาลัยและชุมชน




ด้วยเหตุนี้ ผลการวิจัยจึงพบว่า ระบบและกลไกของการกลั่นกรองโครงการจึงมีสถานะที่เป็นเสมือนเครื่องมือในการจัดการความรักและความรู้ควบคู่กันไปในองค์กร เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะรายโครงการเท่านั้น หากแต่ครอบคลุมถึงทุกคนที่อยู่ในเวทีแห่งการกลั่นกรองโครงการ เสมือนการตอกย้ำให้เห็นถึงการเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร้พรมแดน เสมือนการตอกย้ำให้เห็นถึงคุณค่าความรู้คือการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันนั่นเอง

เช่นเดียวกับการนำไปใช้ พบว่า การกลั่นกรองโครงการในระยะต้นน้ำเช่นนี้ ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ทั้งในกลุ่มกรรมการกลั่นกรองโครงการกับนักวิชาการ เกิดเป็นความคุ้นชินและใกล้ชิดบนฐานคิดของความรักและกัลยาณมิตร เกิดเป็นเครือข่ายการดำเนินงานวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างกว้างขวางขึ้นในระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะหลักสูตร หรือสาขาใดสาขาหนึ่ง

นอกจากนั้นในระยะปลายน้ำ ยังถือเป็นกระบวนการที่นำไปต่อยอดสู่การกลั่นกรองงานบริการวิชาการแก่สังคม (โครงการหนึ่งหลักสูตร) สู่งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น รวมถึงการคัดกรองเชิดชูพื้นที่ต้นแบบและหลักสูตรต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน โดยยึดหลักแนวคิดเดิมคือการกลั่นกรองบนฐานคิดของการจัดการความรักคู่กับความรู้ มุ่งให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ต่อคณะกรรมการผ่านเวทีสาธารณะเช่นเดียวกับการกลั่นกรองโครงการในระยะต้นน้ำ


ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นกันเอง และทรงพลัง อันเป็นผลพวงของการจัดการความรู้คู่กับความรักมาตั้งแต่ระยะต้นน้ำ นั่นเอง



หมายเหตุ

ส่วนหนึ่งจากข้อเขียนการใช้ประโยชน์จาการวิจัย(RE :Research Exploitation) จากโครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ปี 2555)

หมายเลขบันทึก: 550108เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้ค่ะ

....การยึดมั่นในแนวคิด การจัดการความรู้ ผ่านกลไกของ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ลปรร (Knowledge sharing) ร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกลั่นกรองกับผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละโครงการเป็นที่ตั้ง ถือเป็นกระบวนการ กลั่นกรองโครงการแบบมีส่วนร่วม เสมือนการแบ่งปัน (share) และเรียนรู้ร่วมกัน (learn) โดยผู้รับผิดชอบหลักสามารถนำเสนอโครงการในรูปของสื่อต่างๆ หรือแม้แต่การนำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า (Story Telling) หรือสนทนา (Dialogue) ร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรอง....

- ชอบ  แนวคิด การกลั่นกรอง  วิธีนี้ มากค่ะ

- ขอให้ ทุกโครงการ ที่ได้รับการกลั่นกรอง ประสบความสำเร็จ อย่างยั่งยืน นะคะ

สวัสดีครับ พี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ

กระบวนการแลกเปลี่ยนเช่นนี้ เกิดจากการที่ผมมีโอกาสได้นั่งคุย-ถอดบทเรียนกับคนทำงานในปี 2554  ซึ่งส่วนใหญ่จะแจ้งผมว่าไม่เคยมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการ  ไม่มีโอกาสได้ชี้แจง อธิบาย หรือบอกเล่าถึงเจตนารมณ์ต่างๆ เพราะกรรมการจะพิจารณาจากเอกสารเป็นที่ตั้ง  นั่นคือที่มาที่ไปของการปรับแต่งกระบวนการที่อยากให้คนทำงานในแต่ละโครงการได้แลกเปลี่ยนกับกรรมการ และคนอื่นๆ...

กระบวนการเหล่านี้  ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน  เป็นการสร้างเครือข่ายที่ดีไปในตัว  หลายๆ หลักสูตรได้มาพบมาเจอกัน ได้รู้ว่าใครจะไปทำอะไรที่ไหน ...จนนำมาสู่การหนุนเสริม หรือแม้แต่ปรับเปลี่ยนไปจัดกิจกรรมร่วมกันเลยก็มี..

 

 

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ อ.Joy

ปี 57 นี้  การกลั่นกรอง ทาง มมส  อาจเรียนเชิญเครือข่ายจากภายนอกมาร่วมเป็นกรรมการกลั่นกรอง ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันครับ อย่างน้อยก็จะเรียนเชิญกลุ่มอาจารย์ในสถาบันใกล้เคียง  นักวิชาการอิสระในท้องถิ่น ....ฯลฯ

ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ไปในตัว และการสร้างทางเลือกอันหลากหลายในการเติมเต็มกันและกัน

ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท