จากซางคำถึงหมาน้อย (5)


Hb E ที่ไม่บริสุทธิ์

                                                                                                 หมาน้อยเพื่อนรัก......               

                   เมื่อวานเล่าให้นายฟังถึงเรื่องการใช้กระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน วันนี้ ได้โอกาสจะเล่าถึงประสบการณ์ที่เราได้มีโอกาสไปเรียนรู้กับคณะอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนเก่น ซึ่งแต่ละท่านเป็นปรมาจารย์ด้านธาลัสซีเมีย    นายคงจะเดาออกละซิว่าเราหมายถึงใคร ... ก็ รศ.ดร. สุพรรณ ฟู่เจริญ,   รศ. กุลนภา  ฟู่เจริญ , รศ.ดร.กนกวรรณ  แสนไชยสุริยา และรศ.ดร.ณัฐยา  แซ่อึ้ง  อาจารย์จัดอบรมฝึกการทำ PCR ให้แก่บุคลากรที่ทำงานด้านนี้   นายรู้ไหม... อาจารย์ท่านน่ารักมากเลย ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนใดๆทั้งสิ้นแถมอาจารย์ยังเลี้ยงข้าวเที่ยงพวกเราซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์อีก   เราสุดปลื้มอาจารย์ทุกท่านมากๆเลย ... ตอนแรกเราคิดว่ากระบวนการในการฝึกอบรมของอาจารย์ก็คงเหมือนกับการเรียนการสอนทั่วไป มีทฤษฎีและฝึกปฏิบัติก็คือการทำ Lab เหมือนเช่นทุกครั้ง    แต่ครั้งนี้ เราคาดการณ์ผิดถนัดเลย.... หมาน้อยเพื่อนรัก....  รูปแบบมันเปลี่ยนไป อาจารย์ให้พวกเราซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ห้อง Lab ที่มาจากศูนย์อนามัยและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมามากกว่า 10 ปีแล้ว นั่งเป็นโต๊ะกลม แล้วเล่าประสบการณ์ในการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย  ปัญหา  อุปสรรคและการแก้ไขปัญหาในแต่ละครั้ง  ถึงบางอ้อแล้วใช่ไหมหล่ะ ... ก็นี่แหละ ... กระบวนการจัดการความรู้ หรือ KM ที่พวกเรากำลังอยากจะนำมาใช้ในงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ..... ..

                   หมาน้อยเพื่อนรัก .... เมื่อนำความรู้ของทุกๆคนรวมทั้งผลงานวิชาการของอาจารย์ทุกท่าน สิ่งที่เราได้รับหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการในครั้งนี้ คือ Flow chat ในการวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย  ซึ่งนับวันจะมี genetic ที่สลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนไทยเราเป็นพาหะมาก ที่สำคัญเจ้า Hb E ที่พบทางภาคอีสานสูงถึง 50% ที่ทำให้เกิดโรค b–thalassemia/ Hb E   แต่ที่น่าสนใจคือ Hb E ที่ไม่บริสุทธิ์    ซึ่งข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้  อาจารย์ให้ใช้ค่า % Hb E  ช่วยในการวินิจฉัยด้วย  อย่าพึ่งงงหล่ะ ..  ในผู้ที่เป็นพาหะของ Hb E  สามารถใช้ % Hb E ช่วยในการวินิจฉัยว่ามียีน a thal 1  ร่วมด้วยหรือไม่  ยกตัวอย่างเช่น

                   -  %Hb E < 20 %  ผล  Hb  typing  เป็น EA  ให้สงสัยว่าเป็นพาหะของ Hb E ร่วมกับ พาหะของ  a thal 1  หรือผล Hb  typing  อาจเป็น EA Bart’ ก็ได้ แต่ ปริมาณของ Hb Bart’ มีปริมาณน้อยเกินไป เครื่อง HPLC ไม่สามารถตรวจวัดได้ทำให้พวกเราชาว Lab ทั้งหลายอ่านผลผิดพลาดไปเพราะไม่เห็น peak ของ Hb Bart’s

                  -  ถ้า  20  %  <  %  Hb E < 25 %  ผล  Hb  typing  เป็น EA  ให้สงสัยว่าอาจมี พาหะของ  a thal 1  ร่วมด้วย

                 -  %  Hb E > 25 %  ผล  Hb  typing  เป็น EA  ก็ให้วินิจฉัยว่าเป็นพาหะของ Hb E ที่บริสุทธิ์ หรืออาจมี a thal 2 ร่วมด้วย 

                ส่วนผู้ที่เป็น Homozygous Hb E ไม่สามารถใช้ %Hb E ช่วยในการวินิจฉัยได้ต้องทำ PCR อย่างเดียวเท่านั้น

                หมาน้อยจ๋า... ฉบับนี้วิชาการมากเกินไปใช่ไหมหล่ะ  ... เราแค่เพียงอยากจะบอกนายว่า ถ้าผล Hb typing เป็น EA แล้ว นายอย่าได้นิ่งนอนใจว่าลูกของคู่สมรสจะไม่มีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง   เพราะยังมีเจ้าตัวร้าย  a thal 1  ที่ทำให้เกิดลูกที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง นั่นคือ Hb Bart’s hydrop fetalis  เด็กจะตายตั้งแต่อยู่ในท้อง  ....  ฉบับนี้พอก่อนนะ....นายอย่าเพิ่งเบื่อเราหล่ะ... ตอนนี้เรากำลังทำ Project  เรื่องธาลัสซีเมีย มีเรื่องมาเล่าให้นายฟังอีกเยอะเลย  พอก่อนนะ   ไว้วันหลังเราจะเล่าให้ฟังใหม่นะจ๊ะ...... บ๊ายๆ

                                                            ....รักจ๊ะ....

                                                               ซางคำ

คำสำคัญ (Tags): #พาหะhbe
หมายเลขบันทึก: 54998เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณนะจ๊ะ ที่นำความรู้มาฝาก
มาบอกว่าก็เข้ามาอ่านแล้วนะครับคนอาไร๊...ก็ได้ความรู้ดีนะแต่ว่า........กว่าจะรู้เรื่องเล่นเอาเกือบหัวบวม....แบบว่าปกติเป็นคนชอบอะไรง่ายๆ เรื่องหมอหมอแบบนี้พอไหวครับแต่นานหน่อย ไงก็ขอบคุณที่อุตส่าห์เรียบเรียงให้มันดูเหมือนง่ายแสดงถึงความตั้งใจของคนเขียนดีครับ
    ขอบคุณนะคะที่เข้ามาแวะอ่าน ... อย่างนี้ค่อยมีกำลังใจหน่อย...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท