ยุทธศาสตร์ประเทศไทยต้องเดิน 3 ขาคือ ทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน และการวิจัยเพื่อพัฒนา


  • บทเรียนจากความจริง

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  • บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556
  • ติดตามอ่านได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
  • http://www.naewna.com/columnist/1104
  • 2
  • ยุทธศาสตร์ประเทศไทยต้องเดิน 3 ขาคือ ทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน และการวิจัยเพื่อพัฒนา

    กฎหมาย 2 ล้านล้านบาทผ่านได้ แต่อาจจะเจอข้อโต้แย้งจากศาลรัฐธรรมนูญบ้าง ถึงจะผ่านได้ไม่ใช่ว่าประเทศจะหลุดพ้นจากกับดักของประเทศรายได้ระดับกลาง (Middle Income Trap)ซึ่งเฉลี่ยต่อหัว 15,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ปัจจุบันไทยแค่ 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคนต่อปี จึงขอให้คนไทยเฝ้ามองวิธีการบริหาร และวางแผนของประเทศในระยะยาว

    นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องลงทุนในด้านการศึกษาและทุนมนุษย์ เรื่องการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศหลุดจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง

    อย่างเช่น RD หรือวิจัยเพื่อพัฒนา รัฐบาลชุดนี้สวนทางกับความเป็นจริง กล่าวคือ งบประมาณที่เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาถูกตัดออกไปเกือบหมด ผมได้ทราบมาจากผู้บริหารของสวทช. และหน่วยงานวิจัยซึ่งก็ถูกตัดออกเพื่อไปใช้ในนโยบายประชานิยม และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน

    ปัญหาคือ R D คือเครื่องมือที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต เพราะถ้าประเทศไทยจะหนีจากการใช้แรงงานราคาถูก (Labor-Intensive) มาเป็นการใช้ความรู้ การให้Technology ขั้นสูง จำเป็นจะต้องลงทุนในการวิจัยและพัฒนา

    เช่นการวิจัยและพัฒนาเรื่องมูลค่าเพิ่มของสินค้าการเกษตร ขอยกตัวอย่าง เรื่องยางพาราของไทย ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ๆ ในปัจจุบัน ถ้ารัฐบาลใจเป็นกลางไม่เน้นการเมืองอาจจะทุ่มเงินและงานวิจัยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีนักวิจัยระดับ Ph.D เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการวิจัยแบบแปรรูปยางพาราเป็นต้น หรือการวิจัยเพื่อสร้างผลผลิต การแปรรูปของพืชปาล์มรวมทั้งการวิจัยการเลี้ยงกุ้ง ปัจจุบันเรากำลังแพ้คู่แข่งอย่างอินโดนีเซีย หรือประเทศเวียดนาม

    เรื่องการแพทย์ก็เช่นกัน ในอนาคตจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยคงไว้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ในอาเซียน ดังนั้นการลงทุนในด้าน RD จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่ถ้าเงินทุกเม็ดทุ่มไปที่โครงสร้างพื้นฐานจะขาดเม็ดเงินในทางวิจัยและพัฒนาทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่าTrade Off

    เรื่องทุนมนุษย์นั้น รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์กลับไม่สนใจที่จะพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม มองว่าการศึกษาเป็นเรื่องระยะยาว เกิดผลทางการเมืองช้า กลายเป็นหัวคะแนนของนักการเมืองสำคัญกว่าทุนมนุษย์

    ในความเห็นของผม ถ้าจะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าอย่างยั่งยืน รัฐบาลยุคนี้ต้อง

    1. มีคุณธรรม จริยธรรมดูแลประเทศมากกว่านี้

    2. ใช้หลักการเดินสายกลางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

    3. สร้างความสมดุลในการดำเนินนโยบาย การผ่านกฎหมาย2 ล้านล้านบาท ไม่ได้สร้างความสมดุลในนโยบายประเทศ เพราะไปเน้นสาขาโครงสร้างพื้นฐานมากเกินไปจะทำอันตรายต่อประเทศในระยะยาว

    สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปทำงาน 2 แห่ง จึงมาแบ่งปันความรู้ให้ท่านผู้อ่าน

    เรื่องแรกคือ เป็นองค์ปาฐกถาให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในโครงการประกันคุณภาพ ผมได้พูดถึงการเพิ่มคุณภาพของการอุดมศึกษาไทย ซึ่งมี 3 เรื่องใหญ่คือ

    1 Megatrends ที่จะกระทบมหาวิทยาลัย เช่น

    - เด็กเกิดน้อย จำนวนนักเรียนลดลง เข้ามหาวิทยาลัยน้อยลง

    - ภาวะโลกร้อน ทำให้งานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีบทบาทและเติบโตขึ้น เช่น พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานลมในภาคใต้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แก้ไขและจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ ดูแลสิ่งแวดล้อม

    - ปัญหาขาดแคลนงบประมาณจากภาครัฐ จะทำอย่างไรที่ให้มหาวิทยาลัยต้องสร้างความเข้มแข็งในการหารายได้ของตัวเองซึ่งต่อไปจะมากขึ้น

    - การให้ ICT เพื่อการเรียนการสอน

    - การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และปรับตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์

    ซึ่ง Megatrends ดังกล่าวจะทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ให้เหมาะสม ซึ่งมีหลายเรื่อง แต่เรื่องที่สำคัญก็คือ

    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต้องสร้างนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนให้มีความเป็นภาวะผู้นำ ซึ่งทุกๆฝ่ายในวันที่ผมนำเสนอเห็นชอบด้วย โดยเฉพาะจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้าสู่ตำแหน่งบริหารในอนาคต จะต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรม

    - เรื่องบทบาทของมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง

    ผมเสนอแนวทาง 2Rs คือต้องเข้าใจความจริง(Reality)ในบริบทของภาคใต้และต้องทำให้เกิดประโยชน์หรือใช้คำว่า (Relevance)คือสอนเพื่อออกไปทำงาน ไม่ใช่สอนให้รู้อย่างเดียว

    นอกจากนั้นจะต้องเน้นวิธีการสอนให้คิดและแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์

    สุดท้ายผมเน้นว่า มียุทธศาสตร์(Strategy)ไม่พอต้องมีการกระทำให้สำเร็จ(Execution)โดยเฉพาะแนวคิดปฏิบัติเรื่องการตามผล(Follow up)มีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback )และระยะเวลาที่กำหนด (Deadline)

    สุดท้ายให้ตัวละครในมหาวิทยาลัยในประเทศและนอกมหาวิทยาลัยเดินทางในขณะเดียวกัน เกิดไปในทิศทางเดียวกัน(Alignment)ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจจุบันตัวละครต่างคนต่างเล่นและอาจจะขัดแย้งกัน

    สุดท้ายที่ผมไปที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา บริเวณใกล้วัดไร่ขิง ผมดีใจมากที่ได้นำเสนอให้ผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการคิดนอกกรอบ ในการนำเสนอ ได้พบว่าถ้าวิธีการเรียนเป็นแบบให้ทุกคนได้มีโอกาสคิดและและเปลี่ยน เอากรณีศึกษามาดู ข้อเสนอก็จะเป็นประโยชน์มาก ยิ่งกว่านั้น ผมยังได้ยกตัวอย่างว่า

    คิดนอกกรอบ(Thinking outside the box)นั้นก็จำเป็น แต่มีวิธีใหม่คือสร้างกรอบใหม่(Boxes)ใหม่ จึงเป็นอะไรที่ผู้บริหารจะนำไปปฏิบัติ

    บรรยายกาศการบรรยายหัวข้อ การพัฒนาคุณภาพของอุดมศึกษาไทยไปสู่อนาคต

    :กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน 2556

    บรรยายหัวข้อ "ผู้นำกับการคิดนอกกรอบ" ณ สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556

    หนังสือ THINKING IN NEW BOXES

    จีระ หงส์ลดารมภ์

    [email protected]

    www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

    แฟกซ์ 0-2273-0181

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 549958เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท