รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนรู้ เป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคน ซึ่งบูรณาการ ลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคน เรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไรเนื่องจากคนทุกคนมีจุดเด่น จุดด้อย ต่างกัน และมีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้ดีด้วยการฟัง บางคนเรียนได้ดีด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (จด, บันทึก) บางคนชอบลงมือปฏิบัติ หลายคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อเข้าอยู่เป็นกลุ่ม บางคนชอบทำงานคนเดียว จึงไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนทุกคน

นอกจากนี้ สิ่งเร้าต่าง ๆ อันได้แก่ สภาพแวดล้อม อารมณ์ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ สถานะของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพ และสภาวะทางจิตใจ ยังมีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคนการศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ คล้ายบุคลิกภาพมากกว่าศึกษาพฤติกรรมตามพื้นฐานทางจิตวิทยา รูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได

รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)

2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain)

3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho-motor domain)

4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process skill)

5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)

การเลือกรูปแบบการเรียนรู้

การเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ในการเรียน การสอนควรคำนึงถึง

1. เป็นรูปแบบที่เสนอแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้ความเข้าใจต่อบทเรียนเป็นอย่างดี ไม่ต้องใช้เวลามาก นำความรู้ไปใช้ได้

2. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดเจตคติที่ดีถูกต้องกับสภาพความต้องการของสังคมและเป็นที่ยอมรับ

3. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ เช่น การแสวงหาความรู้ การแก้ปัญหา การแสดงออกทางสังคมเป็นต้น

4. เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดแนวทางที่จะนำความรู้เจตคติและทักษะต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอย่างดี เอาไปใช้และปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

1. กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด เช่น การสอนตามหลักการเรียนรู้ของกาเย่ การสอนรายบุคคลหรือการเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบโครงงาน การสอนตามแนวพุทธวิธี การสอนแบบบูรณาการ

2.กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม เช่น การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบร่วมมือเทคนิค แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) การสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม การสอนแบบซิปปา (CIPPA)

3.กลุ่มรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม เช่น การใช้สถานการณ์จำลอง การแสดงบทบาทสมมติ การสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพ การสอนแบบนาฏการ

อ้งอิงบางส่วนมาจาก

http://www.itech.lpru.ac.th/file/manual-learning-and-teaching.pdf

หมายเลขบันทึก: 549815เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท