การก้าวไปสู่ความเป็นเลิศของชีวิตการงาน - GUITARS (เริ่ม)


ดี คือ ยิ่งใช้ความคิดไปแก้ปัญหา ยิ่งเกิดปัญญา ได้ประสบการณ์ ยิ่งใช้ ความรู้สึกมีส่วนร่วมช่วยกัน ทำกับผู้อื่น ยิ่งเกิด อารมณ์หนักแน่น ได้ความสัมพันธ์

              ได้อ่านบทความดี ๆ ของ อาจารย์วัลลภ ปิยะมโนธรรม ทำให้คิดถึงหลายสิ่งหลายอย่าง

            

             คนเราต้องมีเป้าหมายชัดเจนก่อนว่า ต้องการอะไร (What do you really need) แล้วจึงพัฒนาตนเองอย่างเป็นขั้นตอน  ความที่สังคมยุคใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่จะมัวแต่นั่งคิดนอนคิดอยู่นั่นแหละ หรือที่เรียกว่า Change with Chance ต้องเน้นถึงคุณภาพชีวิตเป็นหลัก

            คุณภาพ หมายถึง สิ่งที่จะทำ..จะเป็นนั้น จะต้องสอดคล้องกับ

            ข้อที่ 1 วิสัยทัศน์–พันธกิจ-วัตถุประสงค์ ที่องค์กรกำหนดไว้ 

           วกกลับมาในชีวิตการงานทุกวันนี้ พบว่า ทุกสิ่งที่ สคส. ขับเคลื่อน ล้วนตั้งใจแล้วว่า จำเป็นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพราะ สคส. มีพันธะผูกพันการดำเนินงานตามเอกสารถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ถือว่าเหลือเวลาอีก 1 ปี 4 เดือนเท่านั้น  ทุกอย่างต้องมั่น และ แม่น เข้าเป้า เพื่อไม่ให้เสียเวลาประเทศชาติ และจัดสรรทรัพยากรอย่างลงตัว  
             ดังนั้น การหวังมารับ (เงิน) ทุน  หรือ มาเพื่อขอรับ.. จาก สคส. ก็อาจจะต้องพิจารณาดูว่า เวลาของ สคส. เหลือเท่าไหร่  จะรอคอยความหวังจาก สคส. หรือไม่ เพราะในที่สุด ถ้า สคส. ไม่อยู่แล้ว   เริ่มต้นขยับที่หน่วยงานของตนก่อนเป็นอันดับแรก น่าจะดีกว่า

             ข้อที่ 2 ต้องทำได้บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 

             ด้วย spirit ของ สคส. ทุกคนเกินสองร้อยค่ะ  ทำสิ่งใดไม่หวังผล เห็นจะมิใช่  เกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่จะให้บรรลุก็ใช่ย่อย  วัดกันตาม core competence กันเลย 

            ข้อที่ 3 ผลงานต้องเป็นเลิศที่ตรวจวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม
             ยอมรับค่ะว่า ผลงานต้องดี แต่ไม่อยากใช้คำว่าเลิศ เพราะวัดยาก  ทำนองเดียวกับ best practice ไม่ใช่ดีเลิศ หรือ ดีที่สุด  แต่ดีในบริบทของตัว ในห้วงเวลานั้น ๆ

            ข้อที่ 4 คุณค่างาน ค่าแรง ค่าของทุกอย่างต้องคุ้มค่ากับการลงทุนหรืองบประมาณที่ตั้งไว้ 

            สคส. มีอยู่ 12 ชีวิต ดังนั้น การจะทำงานสิ่งใดต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะทรัพยากรบุคคลมีไม่มาก  การทำงานเป็นคณะ จำเป็นต้องใช้ระบบหมุนเวียน กรรมการจึงซ้ำซ้อนกันระหว่างคณะ  งานบางอย่างต้องเลือกที่จะทำ หรือ ไม่ทำ เพราะเรื่องจำนวนคน และ เรื่องการประสานงาน

             ข้อที่ 5 วิธีการทำงานต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันได้

             ปีแรก สคส. ให้ทุนเพื่อดำเนินการจัดการความรู้  ปีต่อมา ลดการให้ทุน เน้นการให้พึ่งพาตนเองบางส่วน  ให้ทุนบางส่วนในการเริ่มดำเนินการ หรือส่วนที่จำเป็น  ส่วนปีนี้ แทบไม่มีการให้ทุนเลย แต่ใช้การไป “จับภาพ” หาความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ มา ลปรร. กัน ผ่าน Gotoknow ผ่านงานมหกรรมการจัดการความรู้
             โดยเฉพาะปีนี้ สคส. ไม่เน้นงาน workshop หรือ การบรรยายเรื่องจัดการความรู้ เพราะต้นกล้าที่ประคบประหงมไว้ เริ่มแตกรวง และ อดทนต่อสภาพแวดล้อม สามารถทำหน้าที่แทน สคส. ได้บ้างแล้ว และบางแห่งดูว่าจะดีกว่าด้วย เพราะเห็นกับตา ทำเองกับมือ
              สคส. จึงกระเถิบไปทำขับเคลื่อน KM ระดับประเทศ เพื่อให้เกิด KM ทั่วทุกภาคส่วน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งก็ต้องอาศัยหน่ออ่อน หน่อแข็งแรง ช่วยด้วยช่วยกัน เดินไปด้วยกัน  แต่ในที่สุด ก็เหมือนการยิงจรวด ตัวจรวดจริงๆ เป็นตัวที่พุ่งขึ้นไปดำเนินการในวงโคจรของท้องฟ้ากว้าง  ส่วนตัวส่ง/ตัวดันจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็ต้องถูกสลัดออก เพราะหมดหน้าที่ (เหมือน สคส. เลย)

              ข้อที่ 6 และ 7 จะตามมาติด ๆ ในวันพรุ่งนี้ค่ะ  ผู้สนใจ เชิญติดตามได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 54961เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ชอบบันทึกนี้ของคุณแกบมากค่ะ อ่านแล้วเห็นจิตวิญญานของ สคส. จริงๆค่ะ
ขอบคุณค่ะ my first commentator ที่เข้ามาทักทาย และ ชอบ  ถ้าไม่ชอบ ก็บอกกันได้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท