ออนซอนหลาย....ลายผ้าอีสาน...!!!


เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ และเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริม ฟื้นฟู และสานต่อคุณค่าผ้าทออีสาน

วันนี้ผู้เขียน .... ไม่ได้เขียนจากงานของตนเอง ..... แต่ได้ดูรายการหนึ่ง..... และเห็นว่า "น่าจะนำการเรียนรู้นี้" ....โครงการ "ออนซอนหลาย ลายผ้าอีสาน"มาฝากเพื่อนๆ นะคะ

.....เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรเชิงวัฒนธรรม... ที่มุ่งอนุรักษ์และ ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ..อันทรงคุณค่าของชาวอีสาน จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม แถลงข่าวเปิด โครงการ "ออนซอนหลาย ลายผ้าอีสาน" หนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมที่สนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมสืบทอดและส่งเสริมผ้าทออีสาน ด้วยการนำเสนอผลงานผ้าทอ จากตัวแทนนิสิตนักศึกษา 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ที่ผสมผสานการออกแบบลายผ้า เข้ากับเอกลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองอีสาน จาก 11 ท้องถิ่น ผลงานความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนทั้งหมด ชุติมา ดำสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร .... จิม ทอมป์สัน .... เผยว่า กิจกรรมนี้จัดขึ้น

พื่อสังคม...มุ่งส่งเสริมและฟื้นฟูผ้าทออีสาน ซึ่งเป็นรากเหง้าที่สะท้อนบริบททางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของแต่ละท้องถิ่นอีสาน โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ และเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริม ฟื้นฟู และสานต่อคุณค่าผ้าทออีสาน

โดยจะนำผลงานผ้าทอทั้งหมดมาจัดแสดงในงาน เพื่อเผยแพร่ คุณค่าป้าทออีสานที่ผสมผสานIdeaสร้างารรค์ของเยาวชนให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โรงทอ จิม ทอมป์สัน กล่าวว่า ได้เห็น ศักยภาพและความติดสร้างสรรค์ของเยาวชน แต่ละกลุ่มมีแนวคิด ...การออกแบบที่น่าสนใจ...การออกแบบที่น่าสนใจ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุ การนำเทคนิคใหม่ๆ มาสร้างสีสันและเพิ่มลูกเล่นให้กับ ผ้าทอพื้นเมือง อย่างลงตัว ....โครงการนี้ยังเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาในโครงการเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เพื่อนิสิตนักศึกษาจะได้เรียนรู้กระบวนการผลิต รวมถึงวัสดุการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์

- น.ส.อนัญญา เค้าโนนกอก ... ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ..... เผยว่า ผู้ทอมีโอกาส ร่วมกับกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะนักออกแบบ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ในการทอผ้าอีสาน รวมถึง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและมุมมองการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ระหว่างผู้ทอกับนักออกแบบรุ่นใหม่ทุกคน แต่ละสถาบันร่วมเผยแพร่แนวความคิดที่มาของผลงานของตนเอง อาทิ

-น.ส.ปิยะนุช พิพัฒนกุล หนึ่งในสมาชิก ... ผลงาน ผ้าฝ้ายลายไข่มดแดง นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลกรุงเทพ เผยว่า แนวคิดการออกแบบมาจากชาวบ้านอ.หนองบัวแดงที่ต้องการให้คนรุ่นหลังในพื้นที่รู้จัก "ไข่มดแดง" อาหารพื้นถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีน้อยลงเนื่องจากการรุกล้ำถิ่นที่อยู่ นำมาเป็นIdea ตั้งต้นสร้างลวดลายให้ทันสมัย เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ลายที่เป็นระเบียบคิดว่าจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเล่นสีให้มีลายบ้างไม่มีลายบ้าง โดยมีเส้นด้ายที่คล้ายมดแดงในการออกแบบ


- นายพิชญ์ ภูมิสวัสดิ์ หนึ่งในสมาชิกผลงาน ผ้าขิดไหม นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงแนวความคิดและแรงบันดาลใจว่ามาจากงานวัดเพราะสะท้อนถึงแสงสี ความสนุก จากภาพงานเห็นเงาสะท้อนบนผิวน้ำ สไตล์บ้านทุ่งของชาวอีสาน นำมาประยุกต์เข้ากับ "ลายคลื่นเสียง" กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว


- นายกฤษฎา นุสันรัมย์ ตัวแทนสมาชิกผลงาน ลายหมี่เกล็ดเต่ามงคล นักศึกษาคณะศิลปะประยุกต์และ การออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ...เล่าที่มาของแนวความคิดว่ามาจาก "เต่าเพ็ก" เต่าที่มีชื่อเสียงใน อ.มัญจาคีรี เป็น...เต่าศักดิ์สิทธิ์ .... ตามความเชื่อแต่โบราณ ลายบนกระดองเต่าเพ็ก ... นำมาใช้เป็น แรงบันดาลใจ สื่อถึง ..... ลวดลายที่ปกป้องคุ้มครอง สอดคล้องกับการใช้ผ้าไหมที่ย้อมสีธรรมชาติซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ปลอดภัยจากสารเคมี .....ยังมีอีกหลายทีมที่ร่วมเผยแพร่แนวคิด การผลิตผลงานชิ้นนี้ออกมาด้วยความรู้สึกที่ต้องการสืบทอดวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นออกมาเป็นผ้าทอ สื่อให้เห็นเอกลักษณ์มรดกไทย ผสานความทันสมัยที่เยาวชนเหล่านี้ร่วมนำเสนอ


ติดตามผลงานผ้าทอนิสิตนักศึกษาทั้ง 8 มหาวิทยาลัยที่จะนำมาจัดแสดงนิทรรศการภายในงาน

สรุปได้ว่า .... เป็นงานวิจัยและพัฒนาต่อยอดความรู้ ...เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ .... ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีส่วนร่วมระหว่างศิลปินและชุมชน ....นำผลวิจัยที่ได้มาสร้างสรรค์งานศิลปะและงานศิลปะที่จัดแสดง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในแง่สุนทรีย และพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่าง ศิลปิน ชุมชนและคนนอกชุมชน นะคะ

หมายเลขบันทึก: 549557เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2013 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

พี่เปิ้นครับ

ชอบรายการดีๆแบบนี้

มีน้องท่านหนึ่งชื่อ  ออต

เป้นบล็อกเกอร์เรา

ทำเรื่อง ผ้าอีสาน ลองค้นดูนะครับ

ขอบคุณครับ

พี่เปิ้นครับ อยากเห้นรายการดีๆแบบนี้มากๆๆ

มีน้องคนหนึ่งชื่อ ออต เป็นบล็อกเกอร์ของเรา

ทำเรื่องผ้าอีสานครับ ลองค้นว่า ออต+gotoknow นะครับพี่

ขอบคุณครับ

น้องขจิต พี่อรเป็นแฟนพันธ์แท้ของน้องออต

น้องหายไปไม่เขียนนานแล้วนะคะ น้องหายไปไหน ใครจะตามกลับมาค่ะ

ทุกครั้งที่น้องโพสต์ จะได้เห็นผ้าโบราณ และใหม่ ลายแปลกตา สวยงามค่ะ

 

ขอบคุณคุณหมอเปิ้ลสำหรับข้อมูลเรื่องผ้าไทยค่ะ

ออต เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แก้วยังพบกันบ้างนานๆครั้ง ที่สวนครูบาค่ะ พี่อร

 

สวัสดี Dr.Ple

แวะมาเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจครับ.....

ขออนุญาตผ่านบันทึกคุณหมอเปิ้ลนะคะ

 

คุณแก้ว /  ฝากความคิดถึงน้องออตด้วยนะคะ พี่อรยังจำน้องได้อยู่

น้องเอก จตุพร/  น้องเม้ง ...ช่วยอารีย์ ก็หายไปค่ะ

 

ขอบคุณมากค่ะ

ออนซอนหลาย ผ้าลายอีสาน  

ชอบมากค่ะ ผ้าไหมลายอีสานสวยมากค่ะ

...เป็นบันทึกที่ดีมีประโยชน์มากนะคะ...ขอบคุณค่ะ

ดีจังค่ะ ทำ KM ไปเลยนะคะ ความรู้เหล่านี้จะได้คงอยู่คู่ ปท.ไทยค่ะ  เดี๋ยว AEC จะมาเเล้วค่ะ

 

นักศึกษาเก่งจัง น่าชื่นชม คนไทยมีงานฝีมือชั้นยอดจริงๆ

อีสานมีผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์หลายประเภท แต่ละประเภทก็ดูมีค่ามีราคาครับ

น่าสนใจมาก ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

 

  

ขอบคุณ พี่ใหญ่มากค่ะ ให้กำลังใจตลอดมานะคะ 

 

ขอบคุณพี่เปิ้น น้องอยู่ชะอำ ใกล้พี่เปิ้นเลยครับ ในค่ายนเศวร ชะอำ ครับ555

-สวัสดีครับ

-ต้องขอตามไปชมเรื่องราวดี ๆแล้วล่ะครับ

-ชอบรายการแบบนี้ครับพี่หมอ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท