สมุนไพรก็มีหลายชื่อ


ไม่เพียงแต่มนุษยเท่านั้นที่มีชื่อหลายชื่อ เช่นมีชื่อจริง ชื่อกลาง ชื่อเล่น

ชื่อที่เพื่อนเรียก ฯลฯ สมุนไพรบางตัวก็มีชื่อเรียก หลายชื่อ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

แล้วจะหามาตรฐานได้อย่างไร

หรือเรียกตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นที่สมุนไพรนั้นเกิด

เมื่อเรียนๆไป บางตำราเรียกอย่างหนึ่ง แต่พอพิจารณาตัวยาประกอบก็ต้องร้องเอ๊ะ!

ทำไม ..มันอะไร....หรือมียาหลายตำรับ

เป็นเหตุให้ศึกษาเพิ่มเติม และหันไปหยิบตำราแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข

ซึ่งกองประกอบโรคศิลปะ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะอนุกรรมการแผนโบราณทั่วไปจัดขึ้น

และเป็นตำราที่กระทรวงสาธารณสุข

รับรอง จำนวน 5 เล่มด้วยกัน ขึ้นมาอ่านใหม่ โดยเริ่มจากคำนำ ที่บอกให้รู้ว่าตำราเล่มนี้

มีที่มาจากตำรา ต่างๆดังนี้

ตำราเวชศึกษา ของ พระยาพิษณุประสาทเวช เล่ม 1-3

ตำราแพทย์ศศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงเล่ม 1,2

ตำราคัมภีร์แ พทย์แผนโบราณ ของขุนโสภิตบรรณาลักษณ์ เล่ม 1-3

ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-3

ตำราเวชศึกษา และตำราประมวลหลักเภสัช ของ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ (วัดพระเชตุพนฯ)

การเรียนแพทย์แผนไทยนั้น โดยทั่วไปจึงเป็นการเรียนจากตำรา หรือสีบต่อๆๆกันมา

โดยการมอบตัวเป็นลูกศิษย์

กองประกอบโรคศิลปะ จึงได้จัดทำตำราเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา

จากการที่ได้ศึกษา ก็มาพบว่าตำราได้รวบรวมไว้แล้ว

ซึ่งเป็นหน้าที่ของตัวเองที่จะต้องจดจำและเรียนรู้เพิ่มเติมตามความสนใจต่อไป

ได้นั่งเขียนเพื่อให้เกิดความแม่นยำ แต่ก็พบว่าต้องใช้ความพยายามเข้าถึงให้มากขึ้น

จึงได้คัดลอกมาบันทึกไว้เพื่อสืบค้นต่อไป

ว่ามีตัวยาไหนบ้างที่ยังไม่เคยเห็น ไม่รู้จัก ดังนี้

ทิ้งถ่อน เรียกอีกชื่อว่า พระยาฉัตรทัน

ตะโกนา เรียกอีกชื่อว่า พระยาช้า

หนาวเดือนห้า เรียกอีกชื่อว่า พระขรรค์ไชยศรี

ร้อนเดือนห้า เรียกอีกชื่อว่า ต้นมะไฟเดือนห้า

กระพังโหมใหญ่ เรียกอีกชื่อว่า ตูดหมู

กระพังโหมเล็ก เรียกอีกชื่อว่า ตูดหมา

กระพังโหมน้อย เรียกอีกชื่อว่า ขี้หมาข้างรั้ว

ผักบุ้ง เรียกอีกชื่อว่า ผักทอดยอด

ผักกระเฉด เรียกอีกชื่อว่า ผักรู้นอน

ต้นชิงซี่ เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าสมิงกุย

เถาหญ้านาง เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าเขาเขียวหรือ หญ้าภัคคีนี

เท้ายายม่อม เรียกอีกชื่อว่า ประทุมราชา

เจตมูลเพลิง เรียกอีกชื่อว่า ลุกใต้ดิน

ต้นช้าพลู เรียกอีกชื่อว่า ผักอีไร

เปรียงพระโค เรียกอีกชื่อว่า น้ำมันในไขข้อกระดูก

ผักเป็ด เรียกอีกชื่อว่า กินตีนท่าหรือ หากินตีนท่า

หยากไย่ไฟ หรือ หญ้ายองไฟ เรียกอีกชื่อว่า อยู่หลังคาหรือ นมจาก

ขี้ยาฝิ่น เรียกอีกชื่อว่า ขี้คารู

สุรา เรียกอีกชื่อว่า กูอ้ายบ้า

น้ำครำ เรียกอีกชื่อว่า น้ำไขเสนียด

ต้นบีบ เรียกอีกชื่อว่า ก้องกลางดง

ต้นชะเอม เรียกอีกชื่อว่า อ้อยสามสวน

เถามะระขี้นก เรียกอีกชื่อว่า ผักไห

เถาโคกกระสุน เรียกอีกชื่อว่า กาบินหนี

ก้างปลา เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าคาคลอง

เกลือกระดังมูตร เรียกอีกชื่อว่า เกลือเยี่ยว

เถากระไดลิง เรียกอีกชื่อว่า กระไดวอก

กำมะถันเหลือง เรียกอีกชื่อว่า สุพรรณถันเหลือง หรือมาดเหลือง

กระบือเจ็ดตัว เรียกอีกชื่อว่า กระทู้เจ็ดแบก

แก่นขนุน เรียกอีกชื่อว่า กรัก

พริกพองลม เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าลอยท่า

กำแพงเจ็ดชั้น เรียกอีกชื่อว่า ตะลุ่มนก

กาสามปีก เรียกอีกชื่อว่า กาจับหลัก หรือ หญ้าสองปล้อง

กระเช้าผีมด เรียกอีกชื่อว่า หัวร้อยรู

หมายเลขบันทึก: 549506เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผมมีความคิดว่า...จะเรียนแพทย์แผนไทย ในอีกไม่นานนี้เช่นกัน

ขอบคุณครูต้อยมากนะครับ

มีชื่อที่แปลกันไปนะครับ

บางชื่อสงสัยเหมือนกันว่าเป็นอะไร

เพิ่งมาทราบว่าอย่างเดียวกัน

ขอบคุณมากครับพี่ครูต้อย

 

 

บางชื่อไพเราะมากๆค่ะ..การจัดทำตำราเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา ... ดีและมีประโยชน์มากค่ะ

One day someone or some computer programmers will collect all these names and scientific (Latin) names and link them up to a "national and authoritative' database of herbs for Thais. That days is not too far away. Soon we may even have apps on mobile phone prescribing herbal remedies for some (simple and common) complaints. ;-)

 แสงแห่งความดี

ขอบคุณค่ะน้องแสงแห่งความดี

พี่ยินดีมากๆที่ได้ยินเช่นนี้

นี่แหละค่ะ ที่มาของความสำเร็จในวงการแพทย์ของไทยเรา

คณาจารย์ทางการแพทย์แผนใหม่ท่านเก่งมากอยู่แล้ว

ขอเพียงท่านเปิดใจเท่านั้นไม่นานการแพทย์ไทยประยุกต์

จะสามารถนำความสุขมาสู่ประชาชน และวงการสาธารณสุขของไทยเราแน่นอน

การค้นพบตัวยาหรือสารต่างๆในพืชจะช่วยให้ประเทศไทยเราไม่เสียดุลย์ทางการค้า

ความเจริญทางวิทยาศษสตร์ของชาวโลกทำให้เกิดการศ฿กษาค้นคว้าเรื่องอาหารที่ก้าวไกลมาก

แพทย์แผนไทย/ตำรับการรักษาของไทยแบบโบราณก็มิใช่ว่าจะขี้เหร่ หรือน่ารังเกียจ

ยิ่งคนเปิดใจเป็นคนมีความรู้สูงแล้วหันมาช่วยกันต่อยอดองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทยของเรา

ไม่นานเกินรอพี่เชื่อว่าโรคที่รักษาไม่หายจะได้รับการดูแลแบบองค์รวม

พี่ก็อดที่จะชื่นชมอ.หมอของหลายๆมหาวิทยาลัยของไทยที่ท่านเปิดใจและศึกษาค้นคว้า

ให้เกิดมาตราฐานสากลขึ้นในวงการแพทย์ไทย นับเป็นมหาคุณที่ชาวไทยเราเฝ้ารอ

แต่ก็ยังแอบคิดไปว่าวิถีแห่งไทยนั้นก็มีดีเกินคาดคิดโดยไม่ต้องการการประดิษฐ์อะไรเพิ่มเติมเช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่ะใกล้ช่วงเวลารับศิษย์ของหลายสำนักตักศิลา ซึ่งกระทรวงกำหนดแบบแผนตามวิถีแห่งแพทย์ไทย

พี่ขอให้น้องแสงแห่งความดีทำสำเร็จโดยเร็ว ขอบคุณค่ะ

 โอ๋-อโณ ขอบคุณค่ะน้องดร.โอ๋

 ขจิต ฝอยทอง ขอบคุณน้องอ.ดร.ขจิตค่ะ

ใช่แล้วค่ะ ยิ่งมีโฮกาสเรียนรู้ ยิ่งเกิดความมหัศจรรย์ขึ้นในใจ

โบราณท่านเก่งมากๆ ท่านทราบได้อย่างไร ในระยะต้นๆของการนำสมุนไพรมารักษาอาการต่างๆ 

เคยถามคุณปู่ผ่อง วรรณประสิทธื์ ท่านบอกว่า ก็พ่อข้าสอนมา ข้าต้องจดต้องจำเอา แล้วฝึกหัดจนพ่อข้าพอใจ

พอใจคือทำได้เหมือนที่เจ้าตำรับทำกันมา ห้ามพลิกตำรา นี่ก็อาจเป็นจุดหนึ่งที่ตัวยาสมุนไพรของไทยเราถูกต่างชาตินำไปค้นคว้าและจดลิขสิทธิ์

เพราะมุมคิดต่างกัน คนโบราณท่านก็คิดและเชื่อมั่นว่าตำรับยาสมัยนั้นเยี่ยมที่สุดแล้ว เหมาะสมแล้ว

ต่อเมื่อนำเอาวิทยาซาสตร์มาจับให้เป็นมาตราฐานสากลให้ยาสมุนไพรไทยเรามีคุณภาพของการเก็บการใช้มากขึ้น

ก็มีทั้งคุณและโทษปรากฏให้เห็นชัดเจนหรืออาจยังคลุมเครือทั้งทางกฏหมายไทยกฏหมายสากล รวมทั้งทางคุณภาพของสารต่างๆที่อยู่ในตัวสมุนไพรนั้นๆ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความสนใจ ที่ม.เกษตรศษสตร์มีสมุนไพรไทยเยอะมากนะคะ พี้่เองกำลังทำผืนดินให้ปลอดสารพิษและลงสมุนไพรไปเรื่อยๆ

อยากให้เป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับท้องถิ่น สมุลไพรบางอย่างก็ไม่เหมาะคือปลูกก็ตายๆ บางอย่างไม่ได้ปลูกถึงฤดูก็มาเอง 

ก็กำลังเรียนรู้วิธีเก็บสมุนไพรตามฤดูกาล ซึ่งคงต้องใช้เวลานยานเป็นหลายปี เพราะนี่เป็นเพียงขั้นอนุบาลของพี่เท่านั้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ  Dr. Ple

เมื่อก่อนเข้าใจผิดว่าไม่มีคนยุคใหม่สนใจสมุนไพรมากไปกว่าการซื้อหามาใช้ตามแฟชั่นเล่าลือกัน 

ซึ่งพอเข้ามาศึกษาแล้วจึงรู็ว่าเราเข้าใจผิด เพียงแต่กระบวนการวิจัย ทดลองของไทยเราอาจช้าไปบ้างไม่ทันการต่างชาติ

ที่ลงมือทำกันจริงจัง ไม่ได้ทำเพียงกวาดใบไม้มารวมกันเท่ารนั้น

การรวบรวมตำรายาที่หายไปเมื่อครั้งสมัยโบราณก็กำลังได้รับการนำกลับมาศึกษาเพิ่มเติม

อยากให้กระทรวงทำให้เสร็จไวๆ แต่ตอนนี้การมอบศิษย์ก็ต้องสัมพันธ์กับการบริหารจัดการของกระทรวง

ว่าการแพทย์แผนไทยจะขึ้นอยู่กับใคร ใครจะเป็นหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบ ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ค่ะ

ส่งผลให้ความมุ่งมั่นของนักเรียน และสถาบันที่สามรรถรับศิษย์ได้ถูกต้องตามกฏหมายเริ่มสับสนว่า

เจ้ากระทรวงจะมีนโยบายอย่างไร ก็คงต้องแล้วแต่รัฐบาลจะมองและจัดการอย่างไร

ที่จะยกระดับการแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

ขอบคุณค่ะ

เรียนท่าน  ตามความเห็นของท่าน 

"One day someone or some computer programmers will collect all these names and scientific (Latin) names and link them up to a "national and authoritative' database of herbs for Thais. That days is not too far away. Soon we may even have apps on mobile phone prescribing herbal remedies for some (simple and common) complaints. ;-)"

เห็นด้วยค่ะ รวดเร็ว ทันใจการใช้งาน นับเป็นการนำสื่อเทคโนโลยี่เข้ามามีบทบาท ก็เป็นมุมคิดว่าด้านหนึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนไทยที่จะเข้าถึงการเรียนรู้และรักษาสุขภาพแบบธรรมชาติ และอีกด้านหนึ่งก็ยังเป็นเหยื่อล่อให้เกิดการจดลิขิตจากคนต่างชาติ ไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ความมั่งคั่งและใช้ไทยเป็นตลาดซื้อขายของในบ้านเราในราคาีที่สูงเกินไป อย่างที่ปรากฏให้เห็นแล้วในเวลานี้ คนของรัฐเองก็มองเห็นประโยชน์ส่วนนี้ไปในทิศทางเดียวกับต่างชาติ คนไทยจึงต้องหันมาช่วยตนเอง ครูบาอาจารย์โบราณท่านจึงหวงวิชา และก็อย่างที่ทราบกันดี เราหวงวิชา แต่ขาดการอนุรักษ์การส่งเสริมด้านการลงทุน การผลิตยังไม่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐที่มากพอจะให้เกิดการเปิดเผยความลับที่ถ่ายทอดจากบูรพาจารย์แบบตัวต่อตัว ..จึงยังมีความลับเรื่องสมุนไพรบางตัวที่ไม่อาจเปิดเผยได้จริง เว้นแต่การรับมอบเป็นศิษย์เอกหรือเชื้อสายโลหิต ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาในแง่พัฒนาการทางวิชาการแพทย์แผนไทยโบราณ ขอบคุณค่ะ

  • เพิ่งทราบค่ะ ว่าคุณครูต้อยติ่ง "สนใจและเป็นผู้รู้" เรื่อง "สมุนไพร"
  • ปู่ของ "ไอดิน-กลิ่นไม้" เป็นหมอยากลางบ้านค่ะ ไอดินฯ เคยไปช่วยท่านฝนยา แต่ตอนนั้นไอดินฯ ยังเด็กมากเลยไม่ได้เรียนรู้อะไรมาก ได้แต่หยิบรากไม้ ท่อนไม้แต่ละอย่างมาดมแล้วถามปู่ว่า นี่เรียกว่าอะไร...ใช้กินแก้อาการอะไร ท่านจากไปตอนที่ไอดินฯ เรียนประมาณ ป.๒ และก็ไม่มีใครสืบทอดงานของท่าน
  • ปัจจุบันไอดินฯ ก็มีความสนใจ ชอบซื้อหนังสือเกี่ยวกับพืชสมุนไพรไว้อ่านและซื้อพืชสมุนไพรที่น่าสนใจไปปลูกที่ฟาร์มค่ะ แต่ไม่ลงลึกถึงขั้นเรียนรู้ในเชิงแพทย์แผนไทย
  • หลายชื่อไม่คุ้นหูค่ะ แต่บางชื่อก็จำง่ายและสื่อความหมายชัดนะคะ เช่น "สุรา เรียกอีกชื่อว่า กูอ้ายบ้า" 

น้องอ.ดร.ขจิต ในตอบข้อแสดงความคิดเห็นของน้อง

พี่พิมพ์ภาษาไทยผิดมากมาย

เช่น คำว่า "วิทยาซาสตร์"  ที่ถูกต้อง  ควรเป็น  "วิทยาศาสตร์"

     คำว่า "ม.เกษตรศษสตร์" ที่ถูกต้อง  ควรเป็น  "ม.เกษตรศาสตร์" 

ขออภัยด้วยค่ะ เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีเลย ครั้งหลังต้องตรวจทาน และทำงานให้ช้าลงอีกนิด อิอิ

เรียนอ. 

ไอดิน-กลิ่นไม้

เราต่างอยู่กับสมุนไพรมานานตั้งแต่เกิด หากวิทยาการการแพทย์ตะวันตกที่เก่งทางด้านเครื่องมือ

ทำให้เราแทบจะตัดขาดความรู้ด้านสมุนไพรออกไปจากชีวิตเรา

จำได้ว่าเมื่อไข้นกระบาด ได้มีการนำฟ้าทลายโจรมาใช้

เรารู็จักเพียงว่าฟ้าทลายโจรเป็นยาลดไข้ เพราะสมัยโบราณเวลาเป็นอีสุกอีใส พ่อแม่ก็ใช้ฟ้าทะลายโจรนี่แหละเป็นยาขมปี๋

เวลาไอก็ฟ้าทลายโจร ขมจนหายไอ แต่เราก็ไม่ทราบว่าถ้ากินฟ้าทลายโจรนานเกิน 3 วันร่างกาย

เราจะหนาวเย็นด้วยธาตุไฟสงบก็จะเกิดปัญหาอีก เพราะเราเป็นสัตว์เลือดอุ่น

นอกจากนี้การแพทย์สมัยใหม่ยังค้นพบว่าในฟ้าทลายโจรมีตัวยาที่ออกฤทธิ์เหมือนยาปฏิชีวนะบางตัวที่สามารถฆ่าเชื้อได้

เราเรียนรู้การใช้งานเพียงยาตัวเดี่ยวๆ แต่ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงคนโบราณเขารู้วิธีการนำตัวยาหลายอย่างมารวมกันจนเกิดคุณในการรักษา

เช่นเรากินมะขามป้อมกันเพียวๆ เราก็ว่าวิตามินซีเยอะแล้ว ชุ่มคอ ลดอาการไอเรื้อรัง และอื่นๆอีกมากมาย

แต่เราก็ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงสารที่อยู่ในมะขามป้อมนั้น เมื่อรวมตัวกับสารในสมุนไพรตัวอื่นๆก็จะมีฤทธิ์รักษาโรคได้อีกหลายอย่าง

ซึ่งต้องศึกษา และอาศัยวิทยาศาสตร์เข้ามาจับก็จะเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทย

สู่การแพทย์แผนไทยประยุกต์เช่นที่มหาวิทยาลัยแพทย์หลายๆแห่งกำลังดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

ในส่วนตัวแล้วชอบต้นไม้ ชอบเห็นความมหัศจรรย์ของพืชเป็นพื้นอยู่แล้วแต่ไม่เคยรู็ว่าแท้จริงแอบรักสมุนไพรไทยมานานมาก

เมื่อมีเวลาก็ได้เริ่มเรียนจริงจัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำไร่ป่าผสม ให้ไม้ไร่เขาได้อยู่อาศัยกัน

เป็นการตอบแทนแผ่นดินแม่ที่ให้เราได้อยู่เย็นเป็นสุขมากกว่าทุกข์ อิอิ

สำหรับชื่อสมุนไพรต่างๆก็ชวนให้เ้กิดอารมณ์ขันได้ทุกเวลา รวมทั้งสงสัยก็หลายตัวเช่นกัน

"กูอ้ายบ้า" นั้นอันที่จริงก็สะท้อนให้เห็นว่าผู้กินเข้าไปก็รู้ตัวไม่มีใครเบาแบบไม่รู้ตัว

เพราะถ้าเมาขนาดไม่รู้ตัวก็จะไม่ทำอะไรผิดๆก็จะหลับไปเลย 

อย่าง"ต้นบีบ เรียกอีกชื่อว่า ก้องกลางดง" อันนี้ก็มีที่มา

เพราะว่าโบราณใช้ดอกปีบมาทำยาสูบรักษาริดสีดวงจมูกค่ะ 

เจตมูลเพลิง เรียกอีกชื่อว่า ลุกใต้ดิน เพราะปลูกลงไปตรงไหน ต้นไม้อื่นๆตายเรียบ

ด้วยเจตมูลเพลิงเป็นยาร้อน ร้อนชนิดที่พริกเรียกพี่กันไปเลย แต่สีสวย ใบสวยชวนใหลหลง อิอิ

ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณ ครูต้องติ่ง  มากมาก  / ทำให้ มีความรู้ มากขึ้นโดยเฉพาะ

ผักที่ชอบมากมาก คือ "ผักบุ้ง" หรือ "ผักทอดยอด"

"ผักกระเฉด"  หรือ  "ผักรู้นอน" ....อื่น ๆ อีกมากมาย

ส่วนตัว มักจะได้รับ หนังสือประเภทนี้ จาก "งานศพ" ซึ่งมีประโยชน์มากมาก....

สะสมไว้ จำนวนหนึ่งแล้ว  ...แต่ไม่ค่อยได้เปิดอ่าน...(รู้สึกตนเอง แย่จังค่ะ ครูต้อย)

ขอบพระคุณ ที่แบ่งปันค่ะ

 

 

Joy

 

 ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่านและขอบคุณที่เห็นคุณประโยชน์

ตอนครูต้อยอายุมากกว่าหนูครูต้อยไม่ได้สนใจเรื่องดีๆเหล่านี้เลย  ก็รู้สึกว่าตัวเองนี้ แย่จัง!

แต่ความคิดที่ผ่านไปก็ช่วยให้เรามีสติมากขึ้น และสงบมากขึ้น

สิ่งดีๆที่เราเคยฝันก็กลับมาทันเวลาที่เราอยากเรียนรูh อยากเข้าถึง

โดยเฉพาะเรื่องจิตของเราเอง และการทำความเข้าใจตังเองนี่สำคัญไม่น้อยเลย

เพราะทำให้เราเข้าถึงธรรมชาติ และยังพอรู้ว่าของดีมีอยู่ใกล้ตัวเรานี่เองโดยไม่ต้องพึ่งใคร

และทำให้เราได้พึ่งตัวเองได้สำเร็จ

หนังสืองานฌาปนกิจนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษสุด เพราะผู้จัดทำมีความปรารถนาแรงกล้าจะทำเพื่ออุทิศผลบุญให้กับผู้วายชนม์

และจะเกิดบุญมหาศาลเมื่อผู้รับได้เห็นคุณค่าและนำไปใช้ประโยชน์

ส่งผลทั้งผู้ให้และผู้รับต่างมีความสุขตามธรรมชาติของตนเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท