รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรที่21 อย่างยั่งยืน


รูปแบบการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ยั่งยืน

นักเรียนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ทั้งในเรื่องเสื้อผ้า สิ่งประดับตกแต่ง หรือแม้กระทั่งการแดงออก ที่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานเท่านั้น โดยที่ไม่มาสารถหวนคืนกลับไปได้อีก จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัว (Singularity) อันเนื่องมาจากการเกิดตัวอย่างรวดเร็วของเทคโลโลยีดิจิตอล (digital technology) ในช่วงท้ายศตวรรษที่ 20 คือ นักเรียนในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นถึงการเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ใช้เวลาส่วนให้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นนคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมส์ โทรศัพท์มือถือ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในยุคดิจิตอล ปรากฎการณ์ดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า นักเรียนในปัจจุบันมีระบบคิดและกระบวนการทางสารสนเทศที่แตกต่างจากคนรุ่นนี้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งแน่นนอนว่า ประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันยอมนำไปสู่โครงสร้างทางสมองที่แตกต่างกัน (วิโรจน์ สารรัตนะ : 2556)

การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ ดังนั้นคนที่จะอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีพื้นฐาน 3 อย่างที่สำคัญในการดำรงชีวิต คือ

1.พื้นฐานทางด้าน ICT

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้

3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองร่วมกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ในด้านขอบข่ายสาระของแนวคิด และกระบวนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา จากโสตทัศนศึกษา มาเป็นเทคโนโลยีการศึกษาครอบคลุม การจัดระบบ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อศาสตร์ และสื่อต่าง ๆ เกิดเป็นสหวิทยาการที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมการศึกษาทุกแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาทางไกล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษากับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายและสื่อสมัยใหม่ มุ่งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้เรียน โดยเปลี่ยนจาก Teacher Center เป็น Child Center และมีแนวโน้มจะเป็น Media Center หรืออาจพูดง่ายๆก็คือ นักเรียนกับโน้ตบุคเป็นของคู่กัน

2. พื้นฐานทางด้าน Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills) ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C

3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

7C ได้แก่ Critical thinking problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, teamwork leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, information media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) Career learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) (วิจารณ์ พานิช,2556)

สรุป การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต้องมีพื้นฐาน 3R ได้แก่ 1.Reading (อ่านออก) ไม่ใช่การอ่านแค่ภาษาไทยหรือภาษาแม่อย่างเดียวแต่ต้องอ่านได้ทุกภาษา โดยเฉพาะภาษาของประเทศที่เข้าร่วมอาเซียนเพื่อให้เราสื่อสารได้,2. Riting (เขียนได้) เพื่อใช้ในการสื่อสารแทนการพูด เช่น การสั่งของ การออกคำสั่งไปถึงอีกคนให้รับรู้และปฏิบัติตามได้ และ 3.Rithmetics (คิดเลขเป็น) เป็นการคำนวณที่จำเป็นในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการค้า ซึ่งพื้นฐาน 3Rนี้ เป็นเพียงแค่ทักษะพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวันให้อยู่รอดในศตวรรษที่ 21 และจะอยู่รอดอย่างมีประสิทธิภาพถ้าเพิ่มทักษะ 7C ดังที่กล่าวข้างต้น

3.พื้นฐานทางด้านภาษา

ทักษะการสื่อสารทางด้านการพูดในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่อาเซียนเป็นประเทศที่เปิดเสรีให้ต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมีการลงทุนค้าขายอย่างเสรี ทำให้คนต้องต้องมีการติดต่อสื่อสารกับต่างเป็นเทศจำเป็นต้องพูดได้หลากหลายภาษาเพื่อผลประโยชน์แก่ตัวเอง ภาษาที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 ภาษาคือ 1.ภาษาแม่(ภาษาไทย)ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนภายในประเทศ 2. ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลที่ทุกชาติพูดได้หรือจะนับเป็นภาษาที่สองรองจากภาษาแม่ก็ว่าได้ 3.ภาษาที่ตนเองสนใจและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญทำให้เรามีความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งไว้ใช้ในยามคับขัน

การสอนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ครูจะสอนอย่างไร)

ครูเพื่อศิษย์ต้องไม่ใช่แค่มีใจ เอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น ยังต้องมีทักษะในการ จุดไฟ ในใจศิษย์ ให้รักการเรียนรู้ ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิตครูจึงต้องยึดหลัก สอนน้อย เรียนมาก คือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร ในสภาพเช่นนี้ ครูยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทางคือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้อง ก้าวข้ามสาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่๒๑ ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) ดังนั้นครูควรมีเทคนิคการสอนให้นักเรียนค้นพบด้วยตัวเองโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก

1.ครูควรสอนอะไร (what)

1.สอนวิธีการเรียนรู้ ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหา วิชาที่เรียน ครูแนะนำวิธีการค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตัวอย่าง เช่น ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ สิ่งที่ครูควรแนะนำ คือ ช่องทางแหล่งการเรียนรู้มีแหล่งการเรียนที่ไหนบ้าง จากหนังสือ สื่อออนไลน์ เป็นต้น (ครูสวมบทบาทเป็นโค้ท) เพื่อคอยแนะนำกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.สอนวิธีคิด

2.1 การศึกษาข้อมูล

-ช่องทางในการศึกษาข้อมูล หนังสือ อินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์

-แหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ท้องถิ่น

-ให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.2 การแปลงข้อมูล

ครูควรสอนให้นักเรียนนำความความรู้ที่ได้มา คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำมาสู่กระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ รายงานผลการเรียนรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ได้ไปศึกษามาเช่น การทำโครงงาน เป็นต้น

-เกิดเป็นภูมิปัญญา เมื่อนักเรียนได้ความรู้มาแล้วผ่านกระบวนการสังเคราะห์ นำไปประยุกต์กับตนเองและถ่ายทอดให้กับผู้อื่น เกิดเป็นแหล่งการเรียนรู้ เสริมสร้างภูมิปัญญา

3.สอนการวางแผนชีวิต (คุณธรรม จริยธรรม)

3.1 สอนให้รู้ ปฏิบัติ จำฝังลึกเป็นนิสัย

ครูควรสอนความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ คือ คุณลักษณะพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ และพัฒนาสังคมให้มีความเจริญงอกงาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยคุณลักษณะเหล่านี้จะต้องฝึกฝนเป็นประจำทุกวันจนเป็นนิสัย ผ่านห้องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 5 ห้อง คือ (1) ห้องนอน (2) ห้องน้ำ (3) ห้องแต่งตัว (4) ห้องอาหาร (5) ห้องทำงานหรือห้องเรียน

ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ ( Global Merit 5 )

1. ความสะอาด

2. ความเป็นระเบียบ

3. ความสุภาพนุ่มนวล

4. ตรงต่อเวลา

5. จิตตั้งมั่น และผ่องใส

1. ความสะอาด หมายถึง ปราศจากสิ่งแปลกปลอม อันจะทำให้เสียคุณภาพ

2. ความเป็นระเบียบ หมายถึง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกลำดับ เป็นแถว เป็นแนว ไม่ขัดขวาง ไม่สับสน

3. ความสุภาพ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมกิริยาทางกาย วาจาให้เป็นปกติ ไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกในทางไม่ดี

4. ความตรงต่อเวลา หมายถึง ความสามารถในการควบคุมตนเอง ในการ เริ่ม ทำ เลิกงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

5. การมีสมาธิ(Meditation) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมจิตใจ อารมณ์ให้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้นจากภายใน

ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ หากเราฝึกอยู่เป็นประจำจะทำให้เรามีพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะพัฒนาตนเอง ทำให้เรามีจิตใจที่ผ่องใส และจะทำให้เรามีนิสัยบัณฑิตที่มีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีต่อไป

4. สอนเพื่ออะไร

4.1 สอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

4.2 สอนเพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้

(ซึ่งกระบวนการสอนดังกล่าวต้องเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก)สมองส่วนหน้าของคนเราจะทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้และการทรงจำ ชั้นบนสุดของสมองส่วนหน้าเรียกว่า ซีรีบลัม ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกัน

ด้านขวา จะรับผิดชอบ การรับรู้ทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ การเห็นเป็นภาพความรัก ความเมตตา ลางสังหรณ์

ด้านซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นตรรกยะ การวิเคราะห์ การจัดลำดับก่อนหลัง เป็นการคิดแบบใช้เหตุผล การเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษา

2. วิธีการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน หรือปรัชญาการศึกษาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ (How?)

เราสามารถนำเอาสิ่งที่ดีดีของแต่ละปรัชญาของทุกปรัชญานำมาใช้ในการพัฒนาการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการนำจุดเด่นมาผสมผสานกันแล้วนำมาใช้ ซึ่งปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่

1.ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม มีแนวคิด ความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านของจุดมุ่งหมายของการศึกษามีลักษณะคือ เพื่อทำนุบำรุงและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนรุ่นหลัง มิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป ในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน มีพัฒนาการทางปัญญา มีระเบียบวินัยในตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น

2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ

2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา

2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้น เพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์

3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดหลักของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้

ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาการเด็กทุกด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กัน โดยมองว่าการศึกษาจะต้องการศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับกã

หมายเลขบันทึก: 549480เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท