ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๐๒. แนะนำหนังสือ เสียงของความหวัง


 

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ. สมปอง ทองผ่อง มอบหนังสือ เสียงของความหวัง : เรื่องเล่าผู้หญิงเพื่อกระบวนการสันติภาพ ชายแดนใต้ ๑ เล่ม เมื่อวันที่ ๒๙ ส.. ๕๖   ในการประชุมสภาวิทยาเขตปัตตานีครั้งแรก  

 

ผมเอามานอนอ่านที่โรงแรมที่หาดใหญ่ แล้วบอกตนเองว่า นี่คือบทเรียนของความซับซ้อนของสังคม   ที่การศึกษาไทยต้องส่งเสริมให้ผู้คนเรียนรู้ และรู้จัก สภาพความเป็นจริงแบบนี้ ให้จงได้

การศึกษาต้องไม่หยุดอยู่แค่เรียนสิ่งที่ชัดเจน  สิ่งที่ผู้คนเห็นพ้องกันหมด    แต่จะต้องเลยไปสู่สิ่งที่มองได้หลายแง่หลายมุม หลายมิติ   ที่คนเราตีความแตกต่างกัน   คนเราต้องเรียนรู้ความเป็นจริงนี้ และยอมรับสภาพไม่เห็นพ้องเช่นนี้   จะยิ่งดี หากได้ฝึกฝนจนไม่เพียงยอมรับ   แต่ไปไกลถึง เคารพ”   คนที่เคารพความคิดเห็น และความเชื่อ ที่แตกต่างของคนอื่นเป็น   จะมีชีวิตที่ดี   ผมคิดถึงคำว่า จาคะในทางพุทธ ซึ่งแปลว่าการให้   การให้ที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง คือให้ความเคารพ ยอมรับ นับถือ   แม้เขาจะแตกต่างจากเรา

การฟัง ถือเป็นการให้ และการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง    

ในสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงอย่างในสามจังหวัด ชายแดนใต้   มี ความจริงที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง    หากไม่ ฟังให้ ได้ยินในระดับเข้าถึง สิ่งที่ไม่ได้พูด” (ในกรณีนี้คือ สิ่งที่ไม่ได้เขียน) เราก็จะไม่สามารถเข้าถึง ความจริงนี้ได้

หนังสือเล่มนี้ กลายเป็นบทเรียน หรือแบบฝึกหัด ฝึกเข้าถึงความจริงที่ซับซ้อน ของผม   และเรื่องเล่าหลายเรื่อง ให้ความสะเทือนใจอย่างยิ่ง    สะท้อนสภาพสังคมที่ไม่เป็นธรรม สังคมแห่งความระแวง สังคมแห่งการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐในบางเหตุการณ์ตามเรื่องเล่า   และสะท้อนภาพของความไม่เข้าใจความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชน บางคนที่ถูกกระทำโดยอำนาจรัฐ ส่วนที่ไม่เป็นธรรม ไม่เข้าใจ ไม่สนใจความเดือดร้อนของชาวบ้านตัวเล็กๆ ที่ดิ้นรนเพื่อความเป็นอยู่ของตน                                                       

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ส.ค. ๕๖

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 549315เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2013 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แค่ข้อคิดเห็นของอาจารย์ก็มีความหมายมากทำให้รู้ศึกอยากอ่านคิดว่าสักวันคงมีโอกาสค่ะ

".....หากได้ฝึกฝนจนไม่เพียงยอมรับ   แต่ไปไกลถึง เคารพ”   คนที่เคารพความคิดเห็น และความเชื่อ ที่แตกต่างของคนอื่นเป็น  

จะมีชีวิตที่ดี   ผมคิดถึงคำว่า จาคะในทางพุทธ ซึ่งแปลว่าการให้   การให้ที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง คือให้ความเคารพ ยอมรับ นับถือ   แม้เขาจะแตกต่างจากเรา...."

กราบขอบพระคุณอาจารย์  ที่กระตุ้น เตือน สิ่งดีงาม  ให้เสมอมาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท