ต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์


ฝากให้คิดครับ ผู้บริหารทีบริหารประเทศบนแผ่นกระดาษ และเครื่องคิดเลข ... ถ้ายอมเราจะสูญเสียป่า นิเวศป่า และสรรพสิ่งในนิเวศป่าผืนใหญ่ไปอย่างไม่ควรจะต้องเสีย

เขื่อนแม่วงก์ เป็น ๑ ในหลายเขื่อนที่จะถูกสร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม ตามงบเงินกู้ ๓.๕ แสนล้านบาท

งบเงินกู้ก้อนนี้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ “กู้เงินมาแล้ว” แต่ยังไม่ได้เริ่มใช้เงิน เพราะถูกศาลปกครองระงับไว้ฐานไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

การทำงานของคณะกรรมการผู้ชำนาญการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน

เขื่อนแม่วงก์มีความจุอ่างเก็บน้ำสูงสุด ๒๕๐ ล้าน ลบ.ม. และสำหรับความจุเฉลี่ยเมื่อนับน้ำตาย (Dead Storage) ที่ต้องเก็บไว้ใต้เขื่อนอีก ๑๕๐ ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากเทียบกับเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนภูมิพล หรือเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งมีความจุ ๑๐,๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. หมายความว่าเขื่อนแม่วงก์มีความจุเพียง ๒ เปอร์เซ็นต์ของเขื่อนใหญ่ ๆ เท่านั้น โดยพื้นที่น้ำท่วมมีประมาณ ๑๗.๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๑,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้าง ๑๓,๐๐๐ ล้าน (แพงขึ้นมาเท่าตัว)

เรียกร้องเพื่อนคนไทย ทุกช่วงวัย ทุกพื้นที่ ต่อต้านการสร้างเขื่อน แม่วงก์

คำสำคัญ (Tags): #เขื่อนแม่วงก์
หมายเลขบันทึก: 549026เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ ดร. จูล

ถ้าไม่ให้สร้างเขื่อน ผู้ประท้วงเสนอทางเลือกอะไรคะ 

แล้วปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งก็คงยังมีต่อไป การที่เขาจะสร้างเขื่อนก็ได้ศึกษากันมาอย่างดี

และอย่างสัมพันธ์กับโครงการอื่น ๆที่จะแก้ปัญหาให้ครบวงจร และคงมีการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบแล้ว

ประเทศไทยทำไมถึงทำอะไรยากจริง ๆ ขอเรียนถามเพราะไม่ทราบและไม่เข้าใจ

น้ำก็ท่วมอีกแล้วปีนี้ จะรุนแรงเท่าปีโน้นหรือไม่ก็ต้องลุ้นกัน ท่วมเสร็จก็แล้ง พืชผลทางเกษตรเสียหาย

ภาษีอากรส่วนหนึ่งก็ต้องเอามาชดเชยให้ วนเวียนน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ ไม่ได้ดั่งใจก็ทำม้อบ

โรคระบาดม้อบในไทยแลนด์นี่รุนแรงและดื้อยาเป็นที่สุด

ก่อนจะตอบคำถาม ขอทำความเข้าใจใหม่ว่า ประโ้ยคเหล่านีผิดโดยสิ้นเชิง คือ

"การที่เขาจะสร้างเขื่อนก็ได้ศึกษากันมาอย่างดี"
ม่จริง ในสังคมไทย ในหลายๆ กรณี (ไปหาข้อมูลได้ มีเยอะแยะ)

"อย่างสัมพันธ์กับโครงการอื่น ๆ"
ไม่เคยมีปรากฏว่าสัมพันธ์

"แก้ปัญหาให้ครบวงจร"
ไม่เคยปรากฎ

"มีการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบแล้ว"  
เลอะเทอะ

 

สรุป คือ ขอให้ไปทบทวยเหตุการณ์ใหม่ ดูกิจกรรมที่ รัฐ ทำผ่านมา 

จึงไม่ขอตอบคำถามที่ว่า "ถ้าไม่ให้สร้างเขื่อน ผู้ประท้วงเสนอทางเลือกอะไรคะ " ครับ

ให้แนวคิดไว้แต่เพียงว่า ยังมีแนวทางอีกมากในการจัดการน้ำ ... ที่ไม่ต้องใช้เขื่อน
ให้กลับไปทบทวน เรื่องของ เขื่อน ว่า สร้างเพื่ออะไร สร้างแล้วมี impact อย่างไร

 

สิ่งหนึ่งที่พอจะใช้ในการศึกษากรณีนี้ได้ คือ โมเดลการบริหารความเสี่ยง 5G (Genba Genbutsu Genjitsu Genri and Gensoku)

กรณี เขื่อนแม่วงก์ รัฐ ไม่เคยได้มาซึ่ง 3Gen (
Genba Genbutsu Genjitsu) แล้ว ปลอดประสพ ก็มั่วใช้ 2G (Genri and Gensoku)

ลองไปหาอ่านครับ มีเรื่องนี้เยอะแยะ

ถ้าพูดแบบไม่เกรงใจกัน 

"น้ำจะไม่ทำร้าย มนุษย์ ถ้ามนุษย์ไม่ไปขวางทางน้ำ ... " 
(การใช้ประโยชน์ที่ดิน มันเพี้ยน)

"น้ำไม่เคยต้องพึ่งพามนุษย์ แต่มนุษย์ อยู่ได้เพราะน้ำ"


มนุษย์ ฉลาด มาก แต่ก็แก้ปัญหาแค่นี้ไม่ได้ 
ซ้ำมนุษย์ ยังจะไปสร้างเขื่อน ทำลาย ทำร้าย นิเวศวิทยา ด้วยความเห็นแก่ตัวของตน 

ในนามของธรรมชาติ หม เจ็บใจครับ

น้ำท่วมที่ผ่านมาทุกกรณี เพราะ มนุษย์ มันชุ่ย มันก็สมควรแล้ว

อย่าโกรธกันครับ กลับไปคิดให้ดี ดี 

ถ้าไม่มีอะไรสักอย่าง นึกจะทำก็ทำก็สมควรได้รับการต่อต้านนะคะ

 

โครงการใหญ่ภายใน 3.5 แสนล้าน กรรมการผู้เชียาวชาญเต็มไปหมด 

หลุดออกมาได้อย่างไร ไม่ได้เข้าข้างนะ แต่มันน่าจะรัดกุมพอสมควรจึงผ่านมาได้

"การที่เขาจะสร้างเขื่อนก็ได้ศึกษากันมาอย่างดี
ม่จริง ในสังคมไทย ในหลายๆ กรณี (ไปหาข้อมูลได้ มีเยอะแยะ)  

ไม่อยากเชื่อว่าเขาไม่ไม่ศึกษาข้อมูลมาก่อนแล้วตัดสินใจทำเฉพาะกรณีนี้   

"อย่างสัมพันธ์กับโครงการอื่น ๆ" 
ไม่เคยมีปรากฏว่าสัมพันธ์

"แก้ปัญหาให้ครบวงจร
ไม่เคยปรากฎ

หมายความว่า  เท่าที่ติดตามมาเขาทำหลายเรื่องเกี่ยวกับแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง จะทำอย่างไร อะไร ที่ไหนบ้าง แก้ปัญหาอะไร จึงลงทุนวงเงินถึง3.5 แสนล้าน 

"มีการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบแล้ว"  
เลอะเทอะ

อ้าว!  เขาไล่คนออก ท่วมไร่นาของใครเสียหาย  เขาไม่ทำอะไรให้เลยหรือ ยกเว้นสัตว์คงอพยพกันเองสู่ป่าผืนเดียวกัน

เห็นภาพใน นสพ. ออนไลน์เมื่อวาน เชื่อว่ารัฐบาลถอย ยินดีกับทุกท่านด้วยค่ะล่วงหน้า

เรื่องเขื่อนในประเทศไทยมีการต่อต้านกันมาตลอดทุกเขื่อน ถ้าไม่มีเขื่อนเหล่านั้น นึกไม่ออกเลยว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในวันนี้ แน่นอนมีผลกระทบทั้งทางบวกและลบ รัฐบาลก็ต้องตัดสินใจถ้าทางบวกสูงกว่าแล้วทำความเข้าใจและชดเชยเยียวยาช่วยเหลือกันอย่างดีที่สุด เรื่องของเขื่อนคงเข้าทำนอง

สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย

ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและเป็นคนที่ชอบการพิสูจน์แล้วจึงเชื่อ ต้องขออภัย ดร. จูล ในความ ignorance

ป่าแม่วงก์ ถือเป็น "หัวใจ" ของผืนป่าตะวันตก
ผืนป่าแห่งนี้มีพื้นที่อนุรักษ์ ๑๗ แห่ง ต่อเนื่องเป็นผืนใหญ่ถึง ๑๑.๗ ล้านไร่
เป็นผืนป่าใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผืนป่าแห่งนี้ เป็นความหวังแห่งสุดท้าย......
ที่จะเป็นป่าขนาดใหญ่พอที่จะเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด
เช่น เสือโคร่ง ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ ควายป่า เป็นต้น

ขอร่วมคัดค้าน การสร้าง..ที่ทำลายธรรมชาติ บ้านของสัตว์ และป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ในครั้งนี้ครับ

จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะไม่มีใครใน รัฐ ที่จะไม่รู้จักลุ่มน้ำ "สะแกกรัง" 
เป็นไปไม่ได้

ผมได้สัมผัสลุ่มน้ำนี้ตอนเรียน "สิ่งแวดล้อม" ที่ มหิดล 
ผมได้เดินผ่าน แม่วงก์ ผมได้เรียนรู้การทำแผนที่
ผมไม่เชื่อว่าที่นี่จะเป็นที่รับน้ำที่ดี

 

มันไม่ใช่แค่เรื่องของ "เขื่อน"

มันหมดสมัยของการต่อต้านโดยไร้ ข้อมูล แล้ว

ปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

แต่กรณีแม่วงก์ หน่วยงานที่เชี่ยวชาญ และดูแลเรื่องการสร้างได้ หรือสร้างไม่ได้ เค้าก็ ฟันธงแล้วว่า ไม่ควรสร้าง แต่ รัฐ ดันทะลึ่งไปเปลี่ยนคณะทำงานเค้า 

มันเป็นการแทรกแซงโดยไม่สนใจข้อมูล 

หลายเรื่อง รัฐไทย ชอบทำแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น พรรค ใด มันเป็นค่านิยมที่ห่วย

คุณ GD ต้องศึกษาข้อมูลมาก มาก ครับ 
แล้วจะเจอคำตอบในทุกคำถาม

ลงชื่อ ต่อต้านการสร้างเขื่อนนี้ครับ ;)...

มาร่วม..ลงชื่อ..ด้วยคน..เจ้าค่ะ...(อยากเห็นผืนป่าในประเทศเพิ่มขึ้น..แม้จะไม่เหมือนเดิม..แต่ไม่ใช่ลดลงไปกว่า..สิบเปอร์เซ็นต์ที่เหลือ..อยู่เวลานี้..)

"คน สัตว์..อยู่ไม่ได้..ถ้าไม่มีป่า"...ป่าอยู่ได้..ถ้าไม่มีคน..อ้ะะ...

...ร่วมต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ค่ะ

 

       คำอธิบายของนายปลอดประสพ  ทำไมเดิมไม่ให้สร้าง (ท่านปราโมทย์เสนอให้สร้าง แต่อธิบดีปลอดไม่อนุมัติ) แต่เดี๋ยวนี้เห็นควรสร้าง

 

(ข่าวจากมติชนออนไลน์)

 

เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 24 กันยายน ในการอภิปรายผลงานรอบ 1 ปีของรัฐบาลดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพานิช สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ที่อดีตเคยเป็นข้าราชการที่มีงานดีเด่นเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว 13 ปีผ่านไป เมื่อปี 2542 เคยพูดว่า การตัดสินใจไม่อนุญาตให้เข้าไปสร้างเขื่อนในป่าแม่วงศ์นั้น เป็นการตัดสินใจเพียงคนเดียว ในฐานะอธิบดีกรมป่าไม้ หลังจากพิจารณาข้อมูลโดยรอบคอบแล้ว ทั้งนี้เพื่อต้องการรักษาผืนป่าไว้ หากปล่อยให้ใช้ฟุ่มเฟือยไปเรื่อยๆ ต่อไปคงไม่มีป่าเหลืออย่างแน่นอน เเต่ในปี 2556 กลับสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนแม่วงก์

                
ทำให้ นายปลอดประสพ ใช้สิทธิพาดพิงว่า ตนยอมรับว่าสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ ตนไม่ให้สร้างเขื่อนแม่วงก์ เพราะแบบที่กรมชลประทานเขียนในขณะนั้น เป็นการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน ในพื้นที่ จ.อุทัยธานี อีก 3 แสนไร่ โดยตนเห็นว่า จ.อุทัยธานี ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรได้มากเท่าจำนวนดังกล่าว และไม่เชื่อว่าการลงทุนสร้างเขื่อนสมัยนั้นจะใช้พื้นที่ป่าประมาณ 1 หมื่นไร่จะคุ้มค่า ตนไม่ได้สับปลับ อยากบอกว่าที่มีการประท้วงเรื่องอีเอสไอเอขณะนี้ เป็นอีเอสไอเอที่กรมชลประทานจ้างบริษัทที่ปรึกษามาวิเคราะห์แบบสร้างเขื่อนของกรมชลประทานที่ออกแบบต่อเนื่องมา 20 ปี ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กบอ.หรือเงินจำนวน  3.5 แสนล้านบาท ในเงินจำนวนนี้ของเขื่อนแม่วงก์คงจะใช้พื้นที่เดิม แต่การออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วม ไม่ใช่เพื่อการชลประทาน หากมีน้ำเหลือเพื่อไปใช้เพื่อการชลประทาน ถือเป็นผลพลอยได้


"หลักคือ การป้องกันน้ำท่วม เพราะแม่น้ำสะแกกรังที่ออกมาจากแม่วงก์ไม่มีการควบคุม ทำให้ปีหนึ่งจะมีน้ำ

 

หลากเต็มที่ 3 เดือน พีคอยู่ที่ 800 คิวเซก และน้ำส่วนดังกล่าวจะลงมาที่ จ.นครสวรรค์ เมื่อปี 2554 น้ำมาประมาณ 4,000 คิวเซก และเมื่อรวมกับจำนวน 800 คิวเซก ทำให้เขื่อนชัยนาทไม่สามารถบริหารจัดการได้ 

 

(หมายเหตุ ...นครสวรรค์ท่วมทั้งเมืองท่วมนานและลงมาท่วมจังหวัดต่าง ๆบนลุ่มเจ้าพระยา กรุงเทพ ฯ บางส่วนก็จม เช่นสนามบินดอนเมือง)

 

ดังนั้นเราจึงจำเป็นสร้างเครื่องมือต้นน้ำเพื่อระงับความเสียหาย” นายปลอดประสพ กล่าว

ภาพนกสวยมากเลยนะครับ

หากนกตัวนี้สวยมากเลยนะครับอาจารย์

และสัตว์อีกหลายร้อย หลายพัน อยู่ที่นี่ ผมไม่อยากคิดต่อเลยครับ

เป็นกำลังใจให้บันทึกนี้นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท