ให้กำลังใจพ่อแม่เด็กพิเศษ


             ตลอดชีวิตการทำงานกิจกรรมบำบัด มีโอกาสได้ทำงานกับผู้ป่วยหลายวัย แต่ช่วงนี้ วันเสาร์-อาทิตย์จะได้คลุกคลีกับเด็กพิเศษมากเป็นปกติค่ะ หลายครั้งอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า พ่อแม่ของหนูน้อย เขาไม่เหน็ดเหนื่อยบ้างหรือ??? พ่อแม่ต้องมาส่งและรอครูในการสอนเด็กพิเศษ ตลอด1 ชั่วโมง (ไม่รวมการเดินทาง)การต้องมาเรียนเกือบทุกสัปดาห์ เด็กบางคนก็เรียนกับครูพร้อมๆกันหลายคน  แล้วค่าใช้จ่ายล่ะ?? คิดว่าถ้าเป็นลูกของเราบ้างเราจะทำได้อย่างนี้ไหมน้อ

            มีกรณีศึกษาคุณแม่มีลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น ตอนนี้ก็มาเรียนกับดิฉันสม่ำเสมอ เป็นเด็กน่ารักทีเดียว คุณแม่พอสังเกตว่าน้องมีปัญหาที่โรงเรียน เช่น ชอบชวนเพื่อนคุย วอกแวก นั่งนิ่งกับโต๊ะเรียนไม่ค่อยได้ โมโหบ่อย จึงสงสัยว่าน้องมีปัญหาเรื่องสมาธิหรือไม่ ?? คุณแม่น้องเครียดเลยทีเดียว ...เครียดแบบต้องพึ่งคุณหมอ คล้ายมีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ โทษตนเองว่าไม่มีเวลาให้ลูก ตนเองเป็นสาเหตุให้ลูกเป็นแบบนี้ ....แต่ตอนนี้คุณแม่เข้มแข็งขึ้นแล้ว เธอบอกว่า   ต้องสู้ค่ะครู!!! จากงานวิจัยทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศให้ข้อมูลว่า พ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษย่อมมีความเครียดสูงมากกว่าพ่อแม่ที่มีลูกปกติ ....

            ดิฉันได้มีโอกาสทำโครงการวิจัยสมัยเรียนปริญญาโท สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาในมารดาเด็กออทิสติกจำนวน 150 คนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มารดาที่เลือกวิธีการเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับอารมณ์ โดยใช้วิธีการจัดการกับอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น เลือกใช้การตำหนิบุคคลอื่นว่าเป็นต้นเหตุของความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตน ระบายความกดดันโดยการแสดงความก้าวร้าวต่อผู้อื่น หรือใช้การกินเพื่อระบายความเครียด...หรือเลือกใช้การเผชิญความเครียดแบบวางเฉย เช่น การหวังว่าอาการของลูกจะดีขึ้นเอง การหันไปสวดมนต์หรือยึดศาสนาเป็นที่พึ่ง การคิดว่าเป็นชะตากรรมของตนเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นการเลือกรับรู้ปัญหา โดยสถานการณ์หรือปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับความเครียด>> ยิ่งใช้วิธีการเหล่านี้มากยิ่งเครียด เพราะไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มารดาเด็กออทิสติกหายเครียดได้มากขึ้น คือการมีการสนับสนุนทางสังคม (การได้รับความช่วยเหลือ)จากทั้งครอบครัว การมีแหล่งกระตุ้นพัฒนาการที่ช่วยเหลือเด็ก การสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะการสนับสนุนทางสังคมเปรียบเหมือนตัวกันชนช่วยลดผลกระทบจากภาวะเครียด... ในฐานะนักกิจกรรมบำบัด แหล่งสนับสนุนทางสังคม ตัวเล็กๆ รู้สึกมีความสุข

           ในการสอนเด็กพิเศษ และหายเหนื่อยเมื่อเห็นรอยยิ้มของผู้ปกครองเด็ก ถึงแม้บางครั้งแววตาและท่าทางที่แสดงออกมาอาจจะดูล้า ...^ ^ สู้ๆกันต่อไปค่ะ มุ่งเผชิญกับปัญหา

หมายเลขบันทึก: 549000เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท