การสร้างคนให้เป็นผู้ช่วยเหลือสังคม มากกว่าเป็นภาระทางสังคม


มีคนพูดถึงเรื่อง CSR กันมากว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม  แท้ที่จริงเป็นบทบาทหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะช่วยเหลือสังคม   โดยทั่วๆไปแล้วจะเกิดขึ้นเพราะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ในองค์กรคือจัดทำไปตามหน้าที่  หรือทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้คนได้รู้ว่าเราได้ช่วยเหลือสังคมแล้ว  แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือการช่วยเหลือสังคมนั้นจะต้องเกิดจากภายในจิตใจ  ด้วยจิตสำนึกและเป็นวิถีธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ทำด้วยความเคยชินจนเป็นวิถีวัฒนธรรม 

การที่เราจะบ่มเพาะให้คนมีอุดมการณ์ที่จะช่วยเหลือขับเคลื่อนสังคม  ปลูกฝังพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม  เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน  สร้างความสามัคคี  สร้างมิตรที่ดี  จิตอาสาที่มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทต่างๆของสังคม  ที่มีความหลากหลาย และมีความแตกต่างในทางวัฒนธรรม  เชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  เพื่อให้เขามีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สังคม  มีทักษะในอยู่ร่วมกัน  ทั้งการฟัง  การพูด  และการแสดงออก 

การปลูกฝังวิถีวัฒนธรรมในการช่วยเหลือสังคมนั้น  จะเน้นที่ความไม่เป็นทางการมากกว่าการเป็นทางการ และเริ่มจากน้อยไปหามากตามแต่กำลังของกลุ่ม  ใช้ความเป็น Lifestyle ของแต่ละคนมาต่อเติมเสริมแต่งซึ่งกันและกัน  ให้ทำในวิธีที่ทำสอดคล้องกับวิถีชีวิตตนเอง  บางคนมีความเชี่ยวชาญเรื่องสัตว์นานาชนิด   บางคนสนใจต้นไม้  สนใจกีฬาฯลฯ ก็จะเกิดการสร้างสรรค์กิจกรรมนำเพื่อนๆที่สนใจร่วมกันจนเกิดความร่วมมือร่วมใจ แม้งานนั้นจะยากลำบากสักเพียงใด  

สิ่งหนึ่งที่ลุงเอกใช้เป็นเครื่องมือคือการนำเขาต่างๆเหล่านั้นได้ลงพื้นที่ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคน  ชุมชน  พูดคุยแลกเปลี่ยนกับประชาชนในพื้นที่  จะได้เห็นบริบทต่างๆนำมาสู่การเห็นเส้นทางที่จะช่วยสังคมให้สันติสุข

การสร้างคนให้ทันสมัย ทันคน ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันเทคโนโลยีจะช่วยงานประสานเสริมต่อกันอย่างลงตัว   ทุกคนเข้าสู่การติดต่อสื่อสาร  ประสานงานกันผ่านออนไลน์ทั้งfacebook  googlegroups และโดยเฉพาะ Line เพื่อสร้างประสิทธิ์ภาพในการติดต่อประสานงาน  

การสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มคน ได้นำเอารูปแบบเวียงปรึกษาของนครหิรัญเงินยาง  เมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นเมืองเกิดของพระเจ้ามังรายมหาราช  ที่ปกครองด้วยการประชุมปรึกษาหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งนี้มีชื่อว่า "เวียงปรึกษา" ปกครองแบบปรึกษา ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยก็ว่าได้  จากแนวคิดนี้ทำให้ลุงเอกทดลองกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาที่ไม่มีประธานรุ่นแต่จะทำงานด้วยการปรึกษาหารือกันในทุกเรื่อง  เกิดกิจกรรมมากมาย  โดยเฉพาะกิจกรรมช่วยเหลือสังคม

คำสำคัญ (Tags): #csr#ช่วยสังคม#casebased#km
หมายเลขบันทึก: 548988เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เครือข่ายสำคัญมากครับ

ภาพบนดูเหมือนว่าจะเป็นรุ่นพ่อครูบา ท่านอัยการ

ภาพสุดท้ายอาจารย์ติ๊กใช่ไหมครับ

เอามาฝากครับ

ผักกวางตุ้งกับอาหารกลางวันของน้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท