drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อการสอน (เน้น Powerpoint)


“เทคนิคการทำสื่อการสอนโดยใช้สื่อ PowerPoint”

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

1. ภาพประกอบภาพนิ่ง/วิดีทัศน์

- PowerPoint สำหรับวิชาปฏิบัติ ควรมีวีดิทัศน์ความยาวไม่เกิน 5 นาที ถ้าดาวน์โหลดจาก youtube หรือเว็บอื่นๆ ควรหาโปรแกรม iLivid จาก

http://www.ilivid.com/ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไฟล์วิดีทัศน์หลายรูปแบบจากเว็บไซท์เกือบทุกเว็บ

- ถ้ามีของจริงมาให้ดู ยิ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

- ภาพนิ่ง ควรมีลิงก์ต่ออินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์ช่วยสอน ควรมีกราฟช่วยทำให้เข้าใจ

- ควรมีภาพประกอบในช่วงการนำเสนอเข้าสู่บทเรียน จำนวน 2-3 ภาพ โดยรูปภาพ ต้องมีความสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง และควรเป็นภาพสีที่มีความทันสมัย มีความคมชัดของภาพ

- ภาพไม่ควรหยาบเกินไป เพราะทำให้นักศึกษามองไม่ชัดเจน (หมายเหตุ หากถ่ายรูปเองจะต้องถ่ายด้วยความละเอียดที่มากกว่า 1280x720 pixels)

- จำนวนภาพประมาณ 1-2 ภาพต่อหน้า ถ้าเพิ่มหลายๆ ภาพมากเกินไป อาจจะอ่านไม่ออก หรือมองภาพไม่ออก

2. ชนิดของตัวอักษร

- ชนิดตัวอักษร ควรเป็น Browallia UPC หรือ Cordia UPC หรือ TH Sarabun PSK (ฟอนต์อักษรไทยราชการ) สามารถดาวน์โหลดได้ที่

http://www.sipa.or.th/ewt_news.php?nid=481

- ถ้าเป็นหัวข้อใหญ่ ควรเป็นตัวหนา Font 32-34 points

- อักษรบรรยายใช้ Font 30-32 points

- อักษรบรรยายภาพ ใช้ Font 26-28 points

- เน้นข้อความสำคัญๆ ให้ใช้ขีดเส้นใต้ หรือทำตัวเอียง หรือตัวหนา

- ภาษาอังกฤษควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก (ถ้าตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดอ่านยาก และถือว่าไม่สุภาพ)

- Font ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ให้ระมัดระวังอย่าใช้ขนาดที่แตกต่างกัน ในบาง Font ควรปรับให้เท่ากัน

- ไม่ควรใส่เนื้อหามากเกินไป จนเป็นพรืด ทำให้ยากต่อการอ่าน ควรเลือกเพียงข้อความที่สำคัญๆ และเมื่อถึงจุดที่ต้องการขยายความ ให้นักศึกษาจดเพิ่มเติมบ้าง เพื่อป้องกันนักศึกษาหลับ หรือไม่สนใจ เพราะถือว่ามีเอกสารอยู่ในมือแล้ว

3. ขั้นตอนของสไลด์ ตั้งแต่เริ่มต้น --> สิ้นสุด

- ขั้นตอนแบ่งตามหัวข้อวัตถุประสงค์ โดยเรียงจากหน่วยเรียนย่อยๆ ตามลำดับ

- ควรจัดลำดับสไลด์ให้เป็นไปตามเนื้อหาลักษณะรายวิชา หรือการอธิบายจากง่ายไปสู่ยาก หรือการอธิบายแบบที่อธิบายให้กับคนไม่รู้เรื่องฟัง

 4. สีของตัวอักษร

- ความเข้ม/อ่อน ของสีที่ใช้ขึ้นกับพื้นหลัง หากใช้พื้นหลังสีอ่อน ควรใช้ตัวอักษรสีเข้ม แต่ถ้าพื้นหลังสีเข้ม ควรใช้ตัวอักษรสีขาว หรือสีอ่อนๆ จะทำให้มองเห็นชัดกว่า

- เนื้อหา สีเดียวกันทั้งหมด อย่าใช้สีเหลืองเพราะจะอ่านไม่ออก เมื่อฉายขึ้นจอแล้ว

- เน้นสีแดง เฉพาะคำสำคัญๆ ที่ต้องจำ

- เลขหน้าควรเป็นสีเข้มปานกลาง

5. พื้นหลัง

- พื้นหลังไม่ควรมีลวดลาย หรือรูปภาพที่มีรายละเอียดมากเกินไป

- ห้องที่มีขนาด 20 ฟุต สามารถใช้สีเข้มได้ แต่ถ้าระยะเกินจากนี้ ควรใช้สีสว่าง

- ควรเลือกสีตัดกันกับสีตัวอักษร แต่ไม่ควรใช้สีตรงข้ามบางคู่ เช่น สีเขียวและสีแดงมาใช้

- ถ้ามีตราสัญลักษณ์ของคณะฯ  จะมีเอกภาพมากขึ้น แต่ต้องพิจารณาให้ตราสัญลักษณ์อยู่ด้านบน โดยไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือตราสัญลักษณ์

- ถ้าเป็นพื้นหลังที่เป็นธรรมชาติจะน่าสนใจมากขึ้น

6. การเปลี่ยนสไลด์

- ไม่ควรใช้เปลี่ยนซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย สลับฟันปลา หายวับไปกับตา ฯลฯ ซึ่งเยอะเกินไป ดูแล้วผู้อ่านจะสับสนมากกว่า หรือบางคนอาจจะเป็นโรคที่ไม่ชอบแสงกระพริบ อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

หมายเลขบันทึก: 548970เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท