เพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อสะท้อนค่านิยมและความเชื่อ


เพลงกล่อมเด็กจะแสดงถึงค่านิยมและความเชื่อของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น สะท้อนค่านิยมเกี่ยวกับบุคคล ดังปรากฏในเพลงกล่อมเด็กจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งวิมล ดำศรี((2556 ,น.69) กล่าวว่า

เพลงกล่อมเด็กแสดงให้เห็นถึงค่านิยมส่วนหนึ่งว่าบุคคลที่สังคมนครศรีธรรมราชยกย่องนั้น หากเป็นสตรี ต้องมีคุณสมบัติอันสำคัญประการหนึ่งในหลาย ๆ ประการ คือ ต้องชำนาญใน”กิจบ้านงานเรือน” อันมีการทอหูก เป็นต้น  หากเป็นผู้ชาย ก็ต้องมีคุณสมบัติอันสำคัญประการหนึ่งในคุณสมบัติหลาย ๆ ประการเช่นกัน คือต้อง”รู้หนังสือ” ดังเพลงกล่อมเด็กต่อไปนี้

                                                บ้านหนี้แก้วข้าเหอ             เขาบือลือมาว่าสาวมาก

                                สาวครกสาวสาก                                  สาวเชียกสาวบ่อ

                                สาวหูกสาวฝ้าย                                    สาวไม่รู้ทอ

                               สาวเชียกสาวบอ                                  สาวไม่รู้ทอหูก

      เชียก = เชือก

                                                 พี่บ่าวน้อยเหอ                      มานี่นวลน้องอี้ขอถาม

                                มานี่เถิดเหวอพี่โฉมงาม                     กราบน้องให้ถ้วนสักสามที

                                นอโมกอข้อ                                          รู้มั่งหรือพ่อเนื้อถี่

                                กราบน้องให้ถ้วนสักสามที               ชี้ตัวนอโมให้

    อี้   =  จะ               

วิมล ดำศรี.(2556).เพลงกล่อมเด็กภาคใต้:การศึกษาเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาเมืองนครศรีธรรมราช.                             พิมพ์ครั้งที่ 2.นครศรีธรรมราช:โรงพิมพ์ไทม์ พริ้นติ้ง.

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เพลงกล่อมเด็ก
หมายเลขบันทึก: 548833เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท