อ่านอย่างไรให้จำได้


อ่านอย่างไรให้จำได้

 

               การจำในทีนี้ ไม่ได้หมายความถึงการจำโดยการท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ขอเน้นการจำในลักษณะ ของความเข้าใจ หรือการจำอย่างมีความหมาย จำอย่างมีความคิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนจากเอกสารการสอน  การอ่านเอกสารการสอนให้จำได้สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.         อ่านส่วนนำของเนื้อหา

                    ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อหา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา รวมทั้งเป้าหมายของเนื้อหาทีจะเรียน การอ่านทำความเข้าใจและสามารถจำแนวคิดได้ จะช่วยให้จำหัวเรื่องหลัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาทีจะนำไปสูเนื้อหาย่อยของแต่ละหัวข้อ    

2.         จัดระบบของเนื้อหา

                    พยายามจัดระบบของเนื้อหา เช่น จัดกลุ่ม หรือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหัวข้อและเนื้อหา การเปรียบเทียบเนื้อหา ควรอ่านเป็นส่วนๆที่ละเรื่องโดยอ่าน 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านคร่าวๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาให้ได้ก่อนว่า มีใจความสำคัญอะไร รอบทีสองเป็นการอ่านเพื่อขจัดระบบของเนื้อหา

3.         เชื่อมโยงความรู้เดิม

                     ขณะอ่านหากเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้หรือประสบการณ์เดิม จะช่วยทำให้จำเนื้อหาความรู้ใหม่ได้ดี

4.         จดบันทึก

                    การจดบันทึก ลงในสมุดจะช่วยให้จำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นโดยบันทึกตามความเข้าใจและถ้อยคำภาษาของตนเอง หรืออาจเขียนแผนภูมิโครงสร้างของเนื้อหาตามความเข้าใจของตนเองจะเป็นการช่วยทวนซ้ำและระลึกข้อความรู้ในขณะจดบันทึก จะช่วยให้จำได้ดี

5.         อ่านส่วนสรุป

                      การอ่านส่วนสรุปจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ได้ทำแบบฝึกปฏิบัติแล้ว การอ่านแนวตอบกิจกรรม ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสรุปเนื้อหาและช่วยจำอีกส่วนหนึ่ง

6.         ทวนซ้ำขณะอ่าน

                      การทวนซ้ำ เป็นวิธีธรรมชาติของการจำที่บุคคลใช้กันมานาน ที่ยังมีผลต่อการจำ  การทวนซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อหาและจำนวนครั้งของการทวนซ้ำ

7.         ทดสอบตนเอง

                       การทดสอบตนเองเป็นการฝึกในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เคยจดจำไปแล้ว  ในการทดสอบตนเอง หากระลึกได้ช้า หรือไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากการเก็บจำไม่ดี ข้อความรู้อาจจัดไม่เป็นระบบ หรือจำในปริมาณทีมากเกินไป ซึ่งสามารถกลับไปทบทวนความจำนั้นใหม่ หรือจัดระบบการจำเนื้อหาใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  

8.         หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน

                     ควรเลือกเวลาเรียนที่ปลอดโปร่งจากการรบกวนในความคิด เช่น ช่วงเวลาก่อนนอนหลังจากที่อาบน้ำและพักผ่อนมาพอสมควร หรือช่วงเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุด โดยอาจอ่านวันละชุดวิชาในตอนค่ำแล้วทบทวนอีกเล็กน้อยในตอนเช้า 

ที่มา....

http://www.stou.ac.th/Thai/Offices/Oes/Guide/article/r_remem.html

คำสำคัญ (Tags): #อ่านให้จำ
หมายเลขบันทึก: 548733เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2013 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท