ร่วมขอบคุณ สรอ. และ เสนอแนะแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคประชาชน หมดเขต 30 กย. 56 นี้ พร้อมลุ้น 1,000 บ. 5 รางวัล จาก สรอ.


ร่วมบันทึกข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคประชาชน

ในโอกาสที่ครบระยะเวลาในการสนับสนุน GotoKnow ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. และเพื่อเป็นการขอบคุณในการสนับสนุนของ สรอ. ด้วยดีมาตลอด ดิฉันขอความร่วมมือจากสมาชิก GotoKnow ช่วยให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างย่ิงที่จะทำให้เห็นการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐเพื่อประชาชน (e-Government for the People) มากยิ่งขึ้นค่ะ อาทิ

  • การให้บริการของภาครัฐจะต้องสะดวกรวดเร็วถูกต้องและเป็น one-stop service

  • เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต้องครอบคลุมทุกพื้นที่และราคาไม่แพง

  • มีช่องทางเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนและสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของภาครัฐผ่านทาง social media  และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ

พูดง่ายๆ ก็คือ ท่านอยากให้ภาครัฐใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาชนอย่างไร (อ่านเพิ่มเติม แนวทางการพัฒนา e-government จาก สรอ (.pdf)) เขียนเป็นข้อๆ อย่างข้างต้นได้เลยค่ะ ซ้ำกับคนอื่นก็ไม่เป็นไรนะคะ 

สามารถบันทึกลงในสมุดของท่านได้เลยนะคะ ใส่คำสำคัญเป็น e-government ด้วยนะคะ หมดเขตการร่วมกิจกรรมนี้ในวันที่ 30 กย. 56 นี้ค่ะ ผู้ร่วมกิจกรรมจะมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลเป็นเงินสด 1,000 บาทจำนวน 5 รางวัล จากการสุ่มจับหมายเลขบันทึกค่ะ 

และดิฉันขอถือโอกาสนี้ขอขอบคุณ สรอ. แทนสมาชิก GotoKnow ทั้งหมดนะคะ ที่ สรอ. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเติบโตของชุมชน GotoKnow ของเราเป็นเวลาเกือบปีครึ่งค่ะ

* ทั้งรางวัลสุดคะนึง (GotoKnow Writer of the Month) ในแต่ละเดือนที่ถูกคัดสรรให้แก่สมาชิก  GotoKnow ที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ใน GotoKnow ค่ะ

* และรางวัล สรอ. ขอความรู้ ที่เปิดประเด็นให้สมาชิก GotoKnow ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอยู่เกือบทุกๆ 15 วันค่ะ เพื่อนำไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายที่เร่งด่วนและสำคัญของประเทศ อาทิ เรื่องเทคโนโลยีการศึกษา และเรื่องการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ค่ะ

และเป็นที่น่ายินดีค่ะรายงานล่าสุดในการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล ของ Waseda University International e-Government Ranking 2013 ซึ่งจัดทำโดยสถาบันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในอันดับที่ 20 จาก 55 ประเทศทั่วโลกค่ะ

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนางานทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประเทศไทยหลายอย่างค่ะ อาทิ

  1. การศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเน้นประชาชนเป็นที่ตั้ง
  2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. การพัฒนาบุคลากรภาครัฐสำหรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  4. การปรับปรุงพัฒนาระบบสารสนเทศที่ให้บริการประชาชน อาทิ ระบบภาษี ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบบริการเกี่ยวกับประกันสังคมให้ประชาชน และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ (1) (2) และ (3) )

ดิฉันชอบประโยคคำพูดของ อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ที่ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับทางทีมงาน สรอ. และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ สรอ. เข้ามาร่วมสนับสนุน GotoKnow และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน GotoKnow ค่ะ ท่านอาจารย์หมอกล่าวไว้ว่า 

ข้อจำกัดและความยากลำบากในการผลักดันหรือดำเนินการในแต่ละส่วนจะมากแค่ไหน เพียงแค่เรามีความตั้งใจ มุ่งมั่นและลงมือทำ ร่วมด้วยช่วยกันอย่างเอาเอาจัง ค่อยๆเป็น ค่อยๆไปดีกว่าไม่ทำอะไรเลย... ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของเราทุกคน..”

หมายเลขบันทึก: 548481เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2013 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ในโอกาสครบระยะเวลาในการสนับสนุน "GotoKnow" ของ "สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. : EGA" ไอดิน-กลิ่นไม้" ขอขอบคุณ "EGA" ที่ได้ดำเนิน "โครงการสรอ.ขอความรู้" ซึ่งเป็นการให้โอกาสไอดินฯ ได้จัดการศึกษาผ่าน "GotoKnow" แบบบูรณาการการพัฒนาทักษะ IT การอ่าน การคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ และการเขียนสื่อความ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีกว่าร้อยคน จากเกือบทุกคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๕ และได้มอบรางวัลตามโครงการดังกล่าวให้กับนักศึกษาที่ร่วมเขียนบันทึกตาม "โครงการสรอ.ขอความรู้ครั้งที่ ๖ เรื่องเล่าดีๆ ของแม่กับลูก" (ในภาพพวงผกา : นักศึกษาที่ได้รับรางวัลกล่าวขอบคุณ EGA และ GotoKnow หน้าชั้นเรียน) และไอดินฯเองก็ได้รับรางวัลจากการร่วมเขียนบันทึก "ใช้สื่อออนไลน์อย่างไรเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพ" และ “แนวคิดโครงการร่วมกันทำความดีทางสื่อออนไลน์”

ปัจจุบันในหลายประเทศได้ให้ความสำคัญเรื่องการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของนโยบายในรูปแบบต่างๆ เช่น ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ 

“รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)” หมายความว่า การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการประชาชน

ทั้งนี้ การจะเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นไม่เพียงแค่มีเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ เท่านั้น แต่การเข้าใจถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการที่จะต้องบรรลุความสำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความคุ้มค่ากับการลงทุน การยกเลิกวิธีปฏิบัติเก่าๆ ที่เป็นอุปสรรค และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานบางอย่างให้เป็นระบบมากขึ้น 

ทาง สรอ. จึงอยากเชิญชวนเพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันสร้างสรรค์ ร่วมเสนอแนะแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อประชาชน. เพื่อนำไปผลักดันต่อในเชิงนโยบาย

ท้ายนี้ ต้องขอขอบพระคุณ ดร.จันทวรรณ และทีมงาน GotoKnow ทุกท่านด้วยนะคะ ที่ทุ่มเทการทำงานและให้ สรอ. ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน GotoKnow ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีจิตอาสาที่พร้อมจะช่วยเหลือกันตลอดเวลา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้จะสร้างพลังการขับเคลื่อนประเทศที่ยิ่งใหญ่ได้แน่นอนค่ะ

Visibility ยังน้อย ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ผมคนหนึ่ง ที่รู้ผิวเผินมาก

ยังมีคนรู้จักน้อยมาก มาก ถ้าเทียบกับ ปตท. ทั้งที่ภารกิจ ใหญ่โตกว่า ปตท. หลายเท่านัก ...
และ ปตท. ก็เป็นเอกชนที่รัฐร่วมถือหุ้นไปแล้ว แต่ สรอ. ไม่ใช่

·การให้บริการของภาครัฐจะต้องสะดวกรวดเร็วถูกต้องและเป็น one-stop service

โดยองค์รวมขององค์กร ยังขาดความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรแบบ one-stop service แน่นอนว่าผู้บริหารเข้าใจ แต่ผู้ปฏิบัติยังไม่แน่ใจ ยังมี turnover rate ของพนักงานสูง อาจจะเพราะว่าเค้าไม่เข้าใจว่า องค์กรทำอะไร ?

·เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต้องครอบคลุมทุกพื้นที่และราคาไม่แพง

ยังทำไม่ได้ !!!

·มีช่องทางเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนและสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของภาครัฐผ่านทาง social media  และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ

ยังทำไม่ได้ !!! ส่วนที่ทำอยู่แล้ว ก็อยู่ในวงแคบ ยังไม่ไปถึงการรับรู้ของประชาชนทั่วไป

เมื่อพิจารณาจากงานสองปีที่ผ่านมาคือ

1. 1) การศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเน้นประชาชนเป็นที่ตั้ง
2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3) การพัฒนาบุคลากรภาครัฐสำหรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
4) การปรับปรุงพัฒนาระบบสารสนเทศที่ให้บริการประชาชน อาทิ ระบบภาษี ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และระบบบริการเกี่ยวกับประกันสังคมให้ประชาชน และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์


ทั้ง
4 งานข้างต้น อยู่ที่ไหน ไม่รู้เลย ต้องตอบตรงๆ ว่าไม่เคยเห็น ...

แต่เชื่อว่า องค์การนี้ได้ทำแล้ว แต่ไม่เคยเห็นจริงๆ หรืออาจจะไม่ทราบว่าเป็นผลงานของ องค์การนี้ :-(
ต้องพูดตรงๆ ในฐานะที่เป็นคนไทย หรือประชาชนไทยคนหนึ่ง ไม่เคยเห็นจริงๆ

ที่น่าสนใจ คือ ตามกฏหมายแล้ว องค์การมหาชนจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานให้กับสภาฯ ทราบ แล้วผลที่เคยรายงานอยู่ที่ไหน ไม่เคยเห็นเลย "
ประชาชนเป็นที่ตั้ง" จริงเหรอ ? มีประชาชนซักกี่คนที่รู้ว่า องค์การ นี้ ทำอะไร ?

 ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็ต้องขอขอบคุณที่มีองค์การมหาชนลักษณะนี้ ในประเทศ
และให้กำลังใจต่อไปครับ

 

 

หมดเขตส่ง "แนวทางdkiพัฒนา ฯ.....31 ก.ย. ...."  ปีใดกะเจ๊า.....ขอ...หยอกนิด...หยิกหน่อย... 

คุณรัชธีรินทร์ รักนา

แนวทางการพัฒนา  e-Government  จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลได้หรือไม่นั้น มีแนวทางดังนี้

1.Easy Net  ทำระบบเครือข่ายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวสำหรับประชาชน

2.e-Governance ทำให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีธรรมาภิบาลเพื่อความยั่งยืน

3.e-learning  ทำให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

และ 4.e-wisdom ทำให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างมีสติ

 

 

ต้องทำให้คนอ่านหนังสือเยอะ ๆ เมื่ออ่านมากก็รู้มาก...จะได้ไม่ถูกหลอกว่ามีแผนงานหรือโครงการที่สวยเฉียบแต่ทำไม่ได้?

ร่วมให้แนวคิดในมุมมองหนึ่งนะคะ...ไม่ขอลุ้นรางวัลจึงไม่ใส่คำสำคัญนะคะ...ขอบคุณค่ะอาจารย์จันทวรรณ

 

-ให้มีจุดมุ่งหมายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปในทางสร้างสรรค์  ให้พัฒนาทางสติ ปัญญาและอารมณ์ เป็นเรื่องสำคัญ  

- ใช้เป็นตัวเชื่อมในการสื่อสารในการพัฒนารัฐ กับประชาชน

- เน้นปกป้องเด็กและเยาวชนที่จะเติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ จากสิ่งมอมเมาทั้งหลายโดยเฉพาะทางกามรมณ์ โดยอาจจะสร้างเครือข่าย    และสามารถดิวกับหน่วยงานรัฐได้โดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว (ที่มีอยู่เหมือนทำอะไรไม่ได้ เห็นดาษดื่น)

- เปิด หรือ สร้าง หรือเพิ่มช่องทาง หรื่อเครือข่ายมากขึ้นทั้งใน หน่วยงานของรัฐ อาสาสมัคร เพื่อให้แก่เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษา ทั้งทางสุขภาพ ปัญหาอื่นๆ ได้โดยง่าย เสมือนบิดา มารดา ครู คนที่สอง

โรงเรียนเทคโนโลยีเชียงยืน

เวียดนาม เปิดใช้wifi ฟรีทั้งเมือง เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงทุกอนุของแผ่นดิน เพราะการศึกษาคือ education for all ของไทยเรา สนับสนุนสถานศึกษา หน่วยงานราชการทุกแห่งให้มี wifi ความเร็วสูง ฟรีก็น่าจะเป็นจุดเริ้มต้นที่ยอดเยี่ยมมากครับ

ควรถามประชาชนในเรื่องที่สำคัญ

แนวทางการพัฒนา  e-Government  แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคประชาชน  

  • การให้บริการของภาครัฐจะต้องสะดวกรวดเร็วถูกต้องและเป็น one-stop service โดยสามารถสื่อสารผ่านกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม

  • มีช่องทางเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนและสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของภาครัฐผ่านทาง social media  และเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ

  • จัดให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่พันธกิจ กิจกรรมหรือนโยบายของรัฐบาล  โดยการบริการอินเตอร์เน็ทให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และไม่เสียค่าใช้จ่าย

คนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้ทำไงครับเสนอทางไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท