บันทึกแห่งความสุข (1) เปิดใจเรียนรู้


แม้ว่ากิจกรรมนี้มันอาจจะไปไม่ถึงแก่นของการเรียนรู้ที่แท้จริง แต่การที่พวกเขาได้มี "ใจ" ที่สนุกสนาน กระตือรือร้นที่จะทำ มันก็จะเป็นแรงผลักดันหนึ่งไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 กันยายน 2556) เข้าจัดการเรียนรู้ 1 ห้อง โดยที่ได้ให้เอกสารประกอบการเรียนรู้กับนักศึกษาไปแล้วในสัปดาห์ก่อน และแจ้งนักศึกษาเรื่องการทดสอบย่อย (quiz) ในเนื้อหาตามเอกสารประกอบการสอนที่แจกไปในคาบเรียน

เมื่อถึงคาบเรียนก่อนการทดสอบย่อย ฉันจับความรู้สึกในความกังวลใจของนักศึกษาในเรื่องการทดสอบได้ ไม่ว่าจะผ่านทางสีหน้า แววตา และคำพูด (นักศึกษามักเดาทางไม่ถูกว่าฉันจะมีบททดสอบมาในแนวไหน) ฉันทักทายพวกเขาและถามตามตรงว่าใครที่ไม่ได้อ่านเอกสารประกอบการสอนมาบ้าง มีนักศึกษา 3 คน กล้าที่จะตอบฉันตามตรงว่าไม่ได้อ่านมา ซึ่งฉันก็ไม่ได้ตำหนิพวกเขา บอกพวกเขาว่า การได้รู้ข้อมูล จะได้หาทางออกให้พวกเขาในการทดสอบย่อยครั้งนี้  

 

การทดสอบย่อยในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ฉันได้อ่านแนวทางการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ที่ฉันได้   download   สไลด์นำเสนอมาจากอินเทอร์เน็ต (สืบค้นภายหลัง พบว่ามาจาเว็บไซต์ของโครงการบูรณากาวิชาการ วิทยาเขตกำแพงแสน ในเอกสารประกอบการสอน หัวข้อที่ 12 จิตตปัญญาศึกษา) ฉันได้ประยุกต์ใช้กิจกรรมในเอกสารประกอบการสอนนั้นให้เข้ากับการทดสอบย่อยของฉัน โดยกระบวนการของฉันเป็นดังนี้

ในขั้นที่ 1 นั้นฉันแจกกระดาษ A4 เปล่าให้กับนักศึกษาคนละแผ่น เขียนชื่อเล่น รหัสนักศึกษา พร้อมทั้งแสดงโจทย์ในขั้นแรกบนสไลด์ PowerPoint  หลายคนที่เห็นโจทย์ในข้อแรกของฉัน มีสีหน้า แววตา ที่สงสัย มึนงง พยายามที่จะทำความเข้าใจ  ฉันอธิบายเพิ่มเติมว่าในเอกสารประกอบการสอนที่ฉันแจกไป ประกอบด้วยเรื่องหลัก 4 เรื่อง คือ โรคมะเร็ง โรคปวดข้อปวดเมื่อย ผู้พิการ และปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ฉันขอให้นักศึกษาเขียนในสิ่งที่พวกเขาคิดในประเด็นเหล่านี้ หรือเป็นสิ่งที่พวกเขาพยายามที่จะท่องจำมาเพื่อทำแบบทดสอบ และเปิดทางให้พวกเขาเขียนสิ่งที่คิด ที่สงสัย ที่อยากรู้ และเน้นย้ำให้พวกเขาได้เชื่อมโยงไปสู่บุคคล หรือสิ่งที่สัมพันธ์กับพวกเขาตามโจทย์ จริงๆ มันเท่ากับว่าพวกเขาอยากเขียนอะไรก็เขียนมา ตอนแรกฉันจับเวลาให้พวกเขาเขียนภายใน 5 นาที (อ่อ....เกือบลืมเล่าไป ก่อนที่จะทำกิจกรรมนี้ฉันได้พูดคุย ขอให้พวกเขาเปิดใจ ทำใจให้สบาย และรู้สึกสนุก ที่จะทำแบบทดสอบของฉัน) ทันทีที่จับเวลา ภายในห้องนักศึกษา 30 กว่าคนของฉันนิ่งเงียบใจจดใจจ่อกับการเขียนของตนเอง บางคนพยายามที่จะอ่านโจทย์ที่แสดงอยู่อีกครั้ง ด้วยแววตาสงสัย ครุ่นคิด และพวกเขาก็ลงมือเขียน สิ่งที่ฉันสังเกตได้อีกประการหนึ่งคือ นักศึกษาคนที่บอกว่าไม่ได้อ่านมา เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความตั้งใจในการเขียนมาก เมื่อครบเวลา 5 นาที ทั้งห้องยังคงเงียบและจดจ่อกับการเขียนของตัวเอง ฉันต่อเวลาให้พวกเขาอีก 5 นาที ใน 5 นาทีหลังนี้ หลายคนเริ่มเขียนเสร็จภายในนาทีที่ 2-3 เมื่อเขียนเสร็จก็หันไปดูของเพื่อนคนข้างๆ บ้าง พูดคุยกันเบาๆ บ้าง เมื่อครบเวลาฉันขอให้ทุกคนวางปากกา

ขั้นที่ 2 ฉันให้พวกเขาทุกคนได้จับฉลากคนละ 1 ใบ (เป็นฉลากที่มีหมายเลข 1 และ 2) โดยที่ยังไม่บอกว่าต้องทำอะไรต่อ ฉันกระตุ้นให้พวกเขาสนุกสนานโดยการแซวเล็กน้อย พร้อมกับบอกพวกเขาว่าไม่ต้องคิดมาก เพราะมันมีแค่เพียงเลข 1 กับ 2 เมื่อทุกคนจับฉลากครบแล้ว ฉันขอให้คนที่จับฉลากหมายเลข 1 และ 2 ลุกจากเก้าอี้มายืนเรียงแถวตรงข้ามกันคนละแถว  หลังจากนั้นก็ให้พวกเขาจับคู่กันในคนที่อยู่ตรงข้ามกัน (1 กับ 2) เมื่อจับคู่เสร็จให้พวกเขากลับไปนั่งเป็นคู่ๆ แล้วฉันจึงแสดงโจทย์ขั้นตอนที่ 2 ต่อ ฉันเน้นย้ำกติกาในการเป็นผู้ฟัง ที่จะต้องรับฟังเพียงอย่างเดียว (เป็นการสื่อสารทางเดียว) ฉันให้เวลาในแต่ละฝ่ายพูดคนละ 3 นาที เมื่อฉันจับเวลา ห้องเรียนที่เงียบ กลับกลายเป็นเสียงที่เซ็งแซ่ คนพูดแต่ละคนพยายามที่จะพูดในสิ่งที่ตนเองเขียนให้เพื่อนฟัง ส่วนใหญ่เป็นไปตามกติกา มีเพียง 4-5 คู่ ที่ผู้ฟังคุยกับผู้พูดด้วย ฉันก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่เข้าไปใกล้ ๆ และแซว ๆ เขาว่าผิดกติกา เมื่อจบขั้นตอนของการฟังแล้ว ฉันจึงนำพวกเขาไปสู่ในขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3 ในแผนเดิมของฉันฉันจะให้แต่ละคู่ออกมาเล่าหน้าห้อง แต่โชคดีที่ในห้องเรียนของพวกเราครั้งนี้มีไมค์ลอย ฉันจึงใช้วิธีที่จะเดินถือไมค์ไปหาพวกเขาที่โต๊ะรอบๆ ห้อง ฉันสร้างบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียดและสนุกสนานให้กับพวกเขา โดยเดินไปที่แต่ละคู่ แล้วเรียกชื่อเล่นของพวกเขา เช่น “ก. เล่าให้ ข. ฟังว่า....” แล้วฉันก็ส่งไมค์ไปให้เขาเล่า ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนครบทุกคู่ ระหว่างการเล่าของแต่ละคู่ มีทั้งคนสนใจ และหลุดความสนใจในเพื่อนร่วมชั้นออกไป เพราะพยายามที่จะนึกย้อน หรือจดจำเรื่องเล่าในคู่ของตนเอง แต่บรรยากาศในห้องก็ไม่ได้แย่นัก มีความสนุกสนาน เฮฮาเป็นระยะๆ เพราะฉันพยายามที่จะเน้นประเด็นในแต่ละคู่ และหากพวกเขาจำไม่ได้ก็ไม่ได้คาดคั้น 

 

ขั้นที่ 4 ฉันถามพวกเขาว่ายากไหมในการการเป็นผู้ฟัง ที่ฟังอย่างเดียวไม่มีการโต้ตอบ และถามว่าพวกเขามีความตั้งใจในการฟังเพื่อนมากน้อยแค่ไหน เป็นคำถามที่ฉันจุดประเด็นขึ้นโดยไม่ได้หวังในคำตอบ ฉันสรุปกิจกรรมนี้ให้กับพวกเขาว่า แต่ละคนมีการเรียนรู้ มีสิ่งที่ชอบที่สนใจแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็มีความสามารถในการคิด ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะถ้าหากการคิด การเรียนรู้นั้นได้สัมพันธ์กับประสบการณ์ตรงของแต่ละคน นอกจากนี้ เรายังได้ฝึกทักษะในการเป็นผู้ฟัง เปิดใจที่จะรับฟังเพื่อนโดยไม่โต้แย้ง ในสุดท้ายฉันให้พวกเขาได้ให้คะแนนการฟังของตัวเองในกิจกรรมที่ผ่านมา โดยมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน และให้พวกเขาได้เขียนความรู้สึกที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งบทสรุปความรู้สึกในกิจกรรมของพวกเขาในครั้งนี้นี่เองที่เป็นที่มาของบันทึกแห่งความสุขของฉันในครั้งนี้ ขอสิ่งที่ฉันประทับใจมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านค่ะ

หนึ่่งในนักศึกษาที่ไม่ได้อ่านเอกสารประกอบการสอนมา แต่เขาก็เขียนออกมาจากฐานคิดที่เขามีได้

ให้คะแนนตัวเองหลังทำกิจกรรม

 

 

เดิมทีบทสรุปของกิจกรรมนี้ในใจฉันคือการเปิดทักษะการฟัง และเปิดใจเรียนรู้ แต่เมื่อจบกิจกรรม หลายสิ่งหลายอย่างได้เพิ่มขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นความสนุกสนาน ตื่นเต้น การกล้าแสดงออก และการแสดงถึงตัวตนในการเรียนของนักศึกษาแต่ละคน แม้ว่ากิจกรรมนี้มันอาจจะไปไม่ถึงแก่นของการเรียนรู้ที่แท้จริง แต่การที่พวกเขาได้มี "ใจ" ที่สนุกสนาน กระตือรือร้นที่จะทำ มันก็จะเป็นแรงผลักดันหนึ่งไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

อีกสิ่งหนึ่่งที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อพวกเขาสบายใจ พวกเขามีวิจารณญาณ ใคร่ครวญ ไตร่ตรองตัวเอง ให้คะแนนตัวเอง อย่างไม่ลำเอียงและเข้าข้างตัวเอง ^_^

หมายเลขบันทึก: 548272เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2013 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตามมาเชียร์ค่ะอาจารย์ จุดเร่ิมต้นเล็กๆ ของเราคงจะช่วยเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยได้บ้างนะคะ ชื่นชมและเป็นกำลังใจในการเขียนนะคะอาจารย์ และขอนำเข้าไปไว้ในแพลนเน็ตห้องเรียนกลับทางด้วยนะคะ 

http://www.gotoknow.org/planet/flippedclassroom

 

ผมสอนเรื่องจิตปัญญาศึกษากับนิสิตอยู่ครับอาจารย์

สนุกมาก

นิสิต ที่กำแพงแสนตั้งใจทำกิจกรรมดี

อาจารย์ลองเอาอันนี้ไปปรับใช้ดีไหมครับ

คู่มือการถอดบทเรียนสำหรับวิทยากรกระบวนการ หน้าปกที่นี่

Flipped classroom ห้องเรียนกลับทาง(2)

HHC โรงพยาบาลสมุทรสาคร(เบาหวาน)

 

 

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313150

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313700

 

โปรแกรมการเรียนรู้จิตอาสา โรงพยาบาลสมุทรสาคร
http://gotoknow.org/blog/yahoo/397569
http://gotoknow.org/blog/yahoo/399442
http://gotoknow.org/blog/yahoo/397204


HHC กาญจนบุรี โรงพยาบาลท่าม่วง(1)

http://gotoknow.org/blog/yahoo/319517

http://gotoknow.org/blog/yahoo/319953

  

 

HHCและDialogue  คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

http://gotoknow.org/blog/yahoo/320619
http://gotoknow.org/blog/yahoo/321061
http://gotoknow.org/blog/yahoo/322589

 

HHC กาญจนบุรี โรงพยาบาลท่าม่วง(2)

 

 

 

ผู้สูงอายุกรมอนามัย
http://gotoknow.org/blog/yahoo/260807
http://gotoknow.org/blog/yahoo/261155

กรมอนามัยกองทันตฯ

http://gotoknow.org/blog/yahoo/423227

โรงพยาบาลอยุธยา
http://gotoknow.org/blog/yahoo/423435
http://gotoknow.org/blog/yahoo/423702

 

 

 

 

 

 

 

โครงการคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพ (1)

 

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/423227

 

 

กิจกรรมวิทยากรกระบวนการ( Facilitator )โรงพยาบาลอยุธยา(1)

 

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/423435

 

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/423702

 

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ สปสช. เขต 4 สระบุรี(1)

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/430255

 

 

วิทยากรกระบวนการโรงพยาบาลอยุธยา( 2.1)

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/435784

 

 

งานมหกรรมวิชาการเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพลังทางปัญญาสร้างคุณค่าคนทำงานเพื่อบริการที่ดีสู่ประชาชน(1)

 

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/4359

เยี่ยมมากครับ เรียนแบบนี้ น่าจะได้ผลดีครับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจนะคะ 

ดร.จันทวรรณ ด้วยความยินดีค่ะ

อ.ขจิต ขอบพระคุณกับแหล่งข้อมูลดีๆ ค่ะ ดิฉันจะพยายามเข้าไปศึกษาค่ะ พอได้อ่านมากขึ้นๆ ก็จะพยายามตกผลึกมาเป็นแนวคิด และประยุกต์ใช้กับนักศึกษาค่ะ ถ้ามีโอกาสคงได้พบกับท่านอาจารย์นะคะ

ขอบคุณเภสัชกรศุภรักษ์ ศุภเอมนะคะที่เข้ามาอ่านและเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณอ.ติ๊กที่ถ่ายทอดมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท