E22PAB
ว่าที่ร.ต. วีระพงษ์ สิโนรักษ์

นายวีระพงษ์ สิโนรักษ์ (ครั้งที่ 6)


บันทึกครั้งที่ 6

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2549 บันทึกครั้งที่ 6                 ในวันนี้ผมและเพื่อนทั้ง 3 คน  ได้รับมอบหมายให้ไปสังเกตการณ์การบันทึกเทปของฝ่ายโทรทัศน์  สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา  หรือฝ่ายที่ผมได้ฝึกงานอยู่นี่เอง  ซึ่งเป็นงานการมอบเหรียญรางวัลการแข่งขันคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์โอลิมปิก  ณ โรงแรมอโนมา  ย่านราชประสงค์ตั้งแต่เวลา  08.45 น. 10.00 น.                 

     

     แต่เมื่อไปถึงสถานที่จัดงานแล้ว  อาจารย์ดุสิต  ทั่งทอง  ได้มอบหมายให้ผมถ่ายภาพบันทึกเทปโทรทัศน์เป็นกล้องที่ 2 (กล้อง Insert)  เพื่อไว้สำหรับตัดสลับภาพในเวลาตัดต่อ 

         

โดยครั้งนี้ได้ใช้กล้องในการถ่ายทำบันทึกเทปโทรทัศน์ทั้งหมด 2 ตัว  เป็นกล้อง Sony DVCAM และบันทึกภาพนิ่งทั้งหมด 2 ตัวโดยการไปร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ผมได้ความรู้และข้อสงสัยซึ่งจะทำการสอบถามกับอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ  และสรุปผลองค์ความรู้ใหม่ต่อไป องค์ความรู้ใหม่นั้นคือเรื่อง                1.การวางแผน                
                                    
2.การกำหนดกรอบในการทำงาน               
                                    
3.การประสานงาน
                               

     การวางแผน  เรื่องการวางแผนผมได้เห็นฝ่ายโทรทัศน์ทำการวางแผนการทำงานตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว  (13/10/2549) การวางแผนในครั้งนั้นทำให้ทีมงานทุกคนได้รู้ว่าตัวเองทำหน้าที่อะไร  แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในหน้าที่นั้นๆ  และทำให้การทำงานในวันจริงนั้นไม่เกิดความสับสนของทีมงาน  เพราะผมไม่เห็นใครมาถามกันถึงข้อสงสัยต่างๆของงานกันเลย                               

      การกำหนดกรอบในการทำงาน  ในตัวทีมงานแต่ละคนจะต้องมีกรอบของตัวเองในการทำงานจะได้ไม่เกิดการซับซ้อนในการทำงานท้ะงนี้เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด  เช่น  การถ่ายภาพบันทึกเทปโทรทัศน์ของกล้องทั้ง 2 ตัว  มีลักษณะเป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหวเหมือนกัน  ต่างกันตรงหน้าที่ของกล้องทั้ง 2 ตัว  และกล้องทั้ง 2 ตัวนี้ก็จะไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน  คือกล้องที่ 1 เป็นกล้องหลักในการบันทึกภาพ  ส่วนกล้องที่ 2 เป็นกล้องเสริมในการแทรกภาพในการตัดต่อ  ทั้ง 2 ตัวนี้จะไม่ทำงานซ้ำกันไม่ว่ากรณีใดๆ                               

     การประสานงาน  ในกาประสานงานที่ผมได้รียนรู้จากงานนี้ก็คือ  การทำงานของฝ่ายโทรทัศน์แทบจะทุกหน่วยงานจะต้องมีการประสานงานที่ดีก่อน  งานจึงจะออกมาดีตาม  เช่นในวันนี้หากทางเราไม่มีการประสานงานเกี่ยวกับเรื่องของไฟสปอตไลท์ที่เปิดหน้าเวทีว่าขอให้เปิดไว้ตลอดจนกว่างานจะเริ่ม  เราก็จะไม่สามารถวัดแสงในการถ่ายภาพบันทึกเทปโทรทัศน์ได้  ซึ่งหลังจากที่ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่เทคนิคของทางโรงแรมแล้ว  ก็สามารถวัดแสงได้สมบูรณ์ตามความต้องการ  และทั้งหมดนี้ก็เป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำงานในสายงานโทรทัศน์ที่ผมคิดว่าไม่น่าจะมีการเขียนบรรจุไว้ในตำราของโปรแกรมวิชาเทคโนฯ และหลังจากที่ผมเขียนฉบับร่างการปฏิบัติงาในช่วงเช้าข้างต้นเสร็จ  ก็ได้เข้าไปที่ห้องตัดต่อ Non – Linear เห็นอาจารย์ดุสิต  กำลังตัดต่อหนังวิทยาศาสตร์อยู่และเห็นกำลังประสบปัญหาอย่างหนึ่งในการตัดต่อ  ผมจึงได้เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ข้างๆอย่างเงียบๆ  เพื่อรอดูวิธีการแก้ปัญหาของอาจารย์ในกรณีนี้  ปัญหาของการตัดต่อในครั้งนี้ก็คือ  ภาพกระตุกขณะ Run บน Timeline ของโปรแกรม  ซึ่งปัญหานี้อาจารย์ได้นั่งคิดอยู่พักใหญ่จึงได้ทางออกคือ  การถ่ายข้อมูลลงในเทป BETA แล้วมา Insert ภาพเข้าอีกครั้งหนึ่ง  ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนครับว่า  การตัดต่อแบบ
Non – Linear นั้นเป็นการให้เครื่องอ่านค่าดิจิตอลของไฟล์ภาพและเสียง  ดังนั้นถ้าไฟล์มีปัญหาในขั้นตอนการเตรียมงาน  ตอนนำมาใช้ก็จะมีปัญหาด้วย  ในกรณีนี้ไฟล์ที่เตรียมไว้มีการบีมอัดไฟล์  หรือ Drop Frame ก่อนนำมาใช้  และเมื่อเครื่องตัดต่อเรียกหาไฟล์ที่แฝงอยู่ (ซึ่งได้หายไปแล้วเนื่องจากขั้นตอนการ Drop Frame) จึงทำให้เครื่องกระตุกเพราะการประมวลผลที่ไม่สมบูรณ์  ถ้าแก้โดยการตัดท้ายเฟรมหรือท้ายไฟล์นั้นออกไปก็ไม่หายอาการกระตุก  เนื่องจากงานที่นำมาตัดนั้นเป็นไฟล์หลายๆไฟล์แยกกัน  ถ้าตัดไฟล์ออกไปเลยก็ไม่มีปัญหา  แต่งานก็จะไม่สมบูรณ์  จึงต้องทำการถ่ายข้อมูลลงในเทป BETA เนื่องจากเทปBETA นั้นอ่านข้อมูลแบบ Composite  เลยสามารถตัดท้ายเฟรมหรือไฟล์ออกได้เฉพาะจุดและก็นำข้อมูลภาพและเสียงที่เหลือมาต่อจนเป็นงานที่สมบูรณ์

คำสำคัญ (Tags): #ครั้งที่6
หมายเลขบันทึก: 54809เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท