ประเภทผู้ป่วยที่ได้รับบริการสุขภาพที่บ้าน


ประเภทผู้ป่วยที่ได้รับบริการสุขภาพที่บ้าน โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องการดูแลสุขภาพที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำแนกตามระบบโรค คือ
1.1 โรคทางกลุ่มงานอายุรกรรม
1.2 โรคทางกลุ่มงานศัลยกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมกระดูก
1.3 โรคทางกลุ่มงานสูติ – นรีเวชกรรม
1.4 โรคทางกลุ่มงานกุมารเวชกรรม
1.5 โรคทางกลุ่มงาน ตา หู คอ จมูก
2. ผู้รับบริการตรวจรักษาที่งานผู้ป่วยนอก คลินิกพิเศษ และงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่ต้องได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้ป่วยที่ค้นพบในชุมชนหรือชุมชนส่งต่อ เช่น ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช ปัญญาอ่อน เป็นต้น

เกณฑ์ในการค้นหาคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับบริการตามลักษณะของกลุ่มงานต่างๆ

กลุ่มงานอายุรกรรม
1. ผู้ป่วยเรื้อรัง
1.1 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  :  ใช้ออกซิเจน  พ่นยา
1.2 โรคเบาหวาน :  ใช้ยาฉีด  มีแผลเรื้อรัง
1.3 โรคหลอดเลือดและสมอง  :  มีกายภาพบำบัด
1.4 โรคไตวายเรื้อรัง : ล้างไต
2. ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
2.1 การทำแผล
2.2 การดูดเสมหะ
2.3 การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ
2.4 การดูแลผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง
2.5 การให้ออกซิเจน
2.6 การฉีดยาอินซูลิน
2.7 การดูแลผู้ปวยได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ
งานศัลยกรรมกระดูก

1.  ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่มีอาการอัมพาตครึ่งท่อน   , อัมพาตทั้งตัว
2.  ผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังติดเชื้อในกระดูก ( Osteomyelitis)  ,แผลกดทับ
3.  ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้   หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกโปรแกรมฝึกขับถ่ายปัสสาวะ
4.  ผู้ป่วยที่มีปัญหาในเคลื่อนไหวในการทำกิจวัตรประจำวันหรือต้องถูกจำกัด  กิจกรรม
5.  ผู้ป่วยที่ใส่โลหะดามกระดูกภายใน หรือภายนอกที่แขน ขา
6.  ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม  ,ข้อเข่าเทียม
7.  ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ส่วนคอ  อก  เอว
8.  ผู้ป่วยที่ใส่อุปกรณ์เสริม อุปกรณ์เทียม เช่น SOMI , Juwett , chair back ,taller  brace , L-S support  , philadelphia
9.  ผู้ป่วยที่ใส่เฝือกแขน , ขา , ลำตัว ,  ศีรษะ
10. ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการแก้ไขความพิการ เช่นนิ้วเกิน ,นิ้วติด , เท้าปุกฯลฯ
11. ผู้ป่วยที่ตัดอวัยวะแขน , ขา
12. ผู้ป่วยชราที่มีปัญหาด้านการสื่อสารและ/หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
13. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตร่วมด้วย
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม
- ผู้ป่วยหลังคลอดทุกราย
- ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
กลุ่มงานศัลยกรรม
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่คาสายยางต่างๆ
- ผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมอง
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
1. ทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อย
2. ทารกที่มีปัญหาระบบประสาทและสมองไม่ปกติ
3. ผู้ป่วยแรกคลอดที่ติดเชื้อเป็นผลให้พัฒนาการช้า
4. ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรัง
5. ผู้ป่วยโรคเลือด
กลุ่มงาน ตา  หู  คอ  จมูก
1. มะเร็งระยะสุดท้าย
2. ผู้ป่วย  on  Tracheostomy  tube
กลุ่มงานจิตเวช
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ในโรคดังต่อไปนี้
โรคจิต  โรคประสาท  ลมชัก  ปัญญาอ่อน  มีอาการกลับซ้ำของโรค  ด้วยสาเหตุ
1.1 ขาดยาเนื่องจาก  หยุดยาเอง  รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
1.2 มีปัจจัยอื่นส่งเสริมให้มีอาการทางจิตมากขึ้น  เช่นปัญหาครอบครัว  ปัญหาเศรษฐกิจ  เครียด  วิตกกังวลสูง
2. ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย
3. ผู้ป่วยโรคจิตที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาต้านโรคจิตชนิดออกฤทธิ์ยาว

หมายเลขบันทึก: 54803เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท