เราจะคิดโจทย์วิจัยอะไรต่อไปจาก "ผลวิจัยแท็บเล็ตป.1"


              จากผลการวิจัยเกี่ยวกับแท็บเล็ตที่ถูกเปิดเผยออกมา "ผลวิจัยแท็บเล็ตป.1หลากปัญหาที่ไร้คำตอบ" รายละเอียดเพิ่มเติม เราจะคิดอะไรเพิ่มเติม หรือมีแนวทางการวิจัย หรือการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอะไรได้บ้างกับ ประเด็นดังกล่าว

              เผยผลวิจัยโครงการแท็บเล็ตป.1ของสพฐ. กับสารพัดคำถามและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน

 

 

                ผ่านมาเป็นเวลากว่า 1 ปี หลังจากที่โครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา หรือ แท็บเล็ตป.1 เริ่มไปตั้งแต่ 2555 ล่าสุด "จาตุรนต์ ฉายแสง" รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ออกมายอมรับว่า ผลการวิจัยการใช้แท็บเล็ต ป.1 ที่จัดทำขึ้นโดย ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ศนฐ.) ของ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)นั้น พบว่า ครูและนักเรียนยังคงใช้ศักยภาพแท็บเล็ตที่ได้รับแจกประกอบการเรียนการสอนเพียง 20% ซึ่งถือว่ายังน้อย ทำให้ต้องหาแนวทางและจัดทำแผนเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้งานมากยิ่งขึ้น

                จากแนวทางดังกล่าว เราจะใช้ศักยภาพแท็บเล็ตให้เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • การเตรียมความพร้อมให้กับครูมากยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการสอน สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น โปรแกรมแฟลช Captivate หรือ Sencha ฯลฯ
  • การพัฒนาเทคนิคการสอนโดยใช้ไอซีที  การสืบค้น การใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค การใช้แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่
  • การเตรียมความพร้อม สิ่งสนับสนุนให้การใช้งานดีขึ้น เช่น ระบบไวไฟภายในโรงเรียน ความเร็วของอินเทอร์เน็ต 
  • การพัฒนาทักษะทางไอซีทีให้กับผู้เรียน
  • การปรับเปลี่ยนแผนการสอนร่วมกับไอที

        ดังนั้นเราสามารถที่จะวิจัย หรือ ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ทั้ง การศึกษา เตรียมความพร้อม การศึกปัจจัยเชิงสาเหตุในการใช้ไม่ใช้แท็บเล็ต การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาถึงแนวทางการใช้งาน การวิจัยพัฒนาแอพพลิเคชั่น การวิจัยพัฒนาเทคนิคการสอน การวิจัยพัฒนาทักษะในการใช้ไอซีที  การวิจัยบูรณาการการสอนร่วมกับไอซีทีของครู 

 

จากประเด็น ที่ผลการวิจัยพบว่า "แท็บเล็ต ป.1 ยังประสบปัญหาเดิมที่ถูกกล่าวถึงมาโดยตลอด นั่นคือเรื่องปัญหา ความไม่พร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องครูผู้สอนที่ ยังไม่สามารถปรับเนื้อหาการเรียนการสอนจากแท็บเล็ตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นได้"

          ตรงประเด็นนี้ทำให้ได้โจทย์วิจัย ในการศึกษาปัญหา หรือปัจจัยความไม่พร้อมของครูผู้สอน การวิจัยวิธีการบูรณาการการสอนด้วยแท็บเล็ตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ก็ได้

 

            จากประเด็นที่กล่าวว่า "ปัจจุบัน สพฐ. ยังใช้สื่อการเรียนการสอนในแท็บเล็ตแบบออฟไลน์ในเนื้อหา 5 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษา ชั้นป.1-ป.3 จำนวน 2,310 บทเรียน ส่วนม.1 และม.3 มี 1,020 บทเรียน และยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับแท็บเล็ต ชั้น ป.2 วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 400 เรื่อง รวมทั้งกำลังพัฒนาเนื้อหาของชั้น ป.2 ป.3 ใน 5 วิชาหลัก อีก 1,100 เรื่อง ซึ่งสิ่งที่ถือเป็นปัญหาจากส่วนนี้ คือ เนื้อหาส่วนใหญ่ยังเหมือนในหนังสือเรียน"

          แสดงให้เห็นว่าการนำแท็บเล็ตเข้ามาใช้ต้องการให้มีการลดการใช้หนังสือ ใช้ทดแทนหน้งสือเรียน เมื่องใช้ไปหนึ่งปีแล้ว มีปัญหาอะไรที่นักเรียนยังต้องแบกหนังสือคู่กับแท็บเล็ตหรือไม่ หรือว่าวิธีการอ่านจากแท็บเล็ตมันยากกว่าหรือไม่ หน้าจอมันเล็กไปไหม  หรือหนังสือมันไม่น่าสนใจอย่างไร มีวิธีการใช้หนังสือจากแท็บเล็ตในการสอนอย่างไร กิจกรรมใบงานสามารถทำในแท็บเล็ตได้หรือไม่ ความจริง PDF ก็สามารถนำมาทำเป็นใบงานได้ ส่งทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ ก็ได้ ดังนั้นจะเห็นว่ามีประเด็นคิดโจทน์วิจัยต่อยอดไปได้อีกหลายเรื่อง 

 อ่านเพิ่มเติม

   

หมายเลขบันทึก: 547939เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2013 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2013 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นข้อมูลที่สำคัญมากครับอาจารย์ ;)...

บ้านเรามีข้อมูลมาก

แต่ไม่ค่อนได้เอามูลหรืองานวิจัยมาเป้นตัวช่วยตัดสินใจครับ

เสียดายมากๆๆๆ

สวัสดีครับ อ.ขจิต เริ่มกลับมาเขียนเรื่อยๆครับ

  • หรือเพียง ได้มีการ จำหน่าย ขายเครื่อง เพื่อสร้าง "สังคม ก้มหน้า" เท่านั้นกระมัง ครับ

- เป็น ข้อมูล ที่มีประโยชน์  มาก

- 20 % ของการใช้ ศักยภาพของ แทบเล็ต  สะท้อน  ....

  • การเตรียมความพร้อมให้กับครูมากยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการสอน สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น โปรแกรมแฟลช Captivate หรือ Sencha ฯลฯ
  • การพัฒนาเทคนิคการสอนโดยใช้ไอซีที  การสืบค้น การใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค การใช้แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่
  • การเตรียมความพร้อม สิ่งสนับสนุนให้การใช้งานดีขึ้น เช่น ระบบไวไฟภายในโรงเรียน ความเร็วของอินเทอร์เน็ต 
  • การพัฒนาทักษะทางไอซีทีให้กับผู้เรียน
  • การปรับเปลี่ยนแผนการสอนร่วมกับไอที

- น่า จะพัฒนาต่อไปได้ ... ถ้าตั้งใจ จริง จัง ...กันทุก ภาคส่วน....

สวัสดีครับ อาจารย์หมอ JJ ชอบมากเลยครับ สังคม ก้มหน้า โดนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท