การกำกับดูแลการวิจัย (Research Governance)


 

เช้าวันที่ ๘ ส.. ๕๖ ผมไปฟังเรื่อง University / Faculty's Research and Academic Services โดย ศ. ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล   ในหลักสูตรคณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง (DFC) รุ่นที่ ๓

อ่าน ppt ก่อนการประชุม   ทำให้ผมตระหนักว่า ในเรื่องงานวิจัยนั้น ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง  ต้องมีทั้งการลงมือทำ การบริหาร และการกำกับดูแล   ผมเคยเขียนหนังสือเรื่องการบริหารงานวิจัย   แต่ผมยังไม่ได้ตระหนักในประเด็นเรื่องการกำกับดูแลงานวิจัย   ppt ของ ศ. ดร. ศันสนีย์ ทำให้ผมได้คิด

เนื่องจากงานวิจัยเป็นเรื่องของคนมีความรู้ จึงต้องมีความรับผิดชอบด้วย (ยิ่งรู้มาก ฉลาดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสก่อความเสียหายแก่ส่วนรวมได้มาก หากเป็นคนไม่ดี  ตัวอย่างในวงการเมืองไทยในขณะนี้เห็นอยู่จะจะ)   วงการวิจัยจึงควรเน้นจัดให้มีระบบกำกับดูแลแบบเน้นกำกับตนเองและกำกับกันเอง (self-governance) เป็นหลักใหญ่   เพื่อให้ระบบกำกับดูแลจากภายนอก ที่เป็น top-down governance มีน้อยที่สุด ให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 

คงต้องตั้งต้นคิดเรื่องระบบกำกับดูแล ว่ามีเพื่ออะไร   คำตอบของผมคือ เพื่อให้กิจการหรือวงการนั้นทำประโยชน์ได้จริง และไม่ก่อโทษ   ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อโทษแก่ตนเอง แก่เพื่อนร่วมองค์กร/วงการ และแก่สังคม   รวมทั้งเพื่อธำรงรักษาชื่อเสียง/ความน่าเชื่อถือในสังคม

วงการวิจัยจึงควรรวมตัวกัน กำหนดกติกา และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้มีระบบกำกับดูแลตนเองที่เข้มแข็ง

การกำกับดูแลต่างจากการบริหารหรือการจัดการ

การบริหาร/จัดการ เน้นผลลัพธ์ที่กำหนด

การกำกับดูแล เน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม   ซึ่งมองในมุมหนึ่ง เป็นเรื่องของการยืนยันว่า องค์กร/วงการ นั้นๆ ควรดำรงอยู่ เพราะมีคุณค่าต่อสังคม   มีผลดีมากกว่าผลเสียต่อสังคมอย่างมากมาย

. ดร. ศันสนีย์ กล่าวถึงหลักการกำกับดูแลที่ดี ๖ ประการคือ

   ๑. Transparency

   ๒. Ethics

   ๓. Accountability

  ๔. Participation

  ๕. Rule of Law

  ๖. Value for Money

 

 

แต่ละเรื่องของการกำกับดูแลการวิจัยที่ดีมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย   การที่ผมได้ฟังการบรรยายนี้จึงประเทืองปัญญา อย่างยิ่ง   และทำให้ผมสรุปกับตัวเองว่า การวิจัยก็เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ทรงคุณค่าอย่างอื่น    อาจดำเนินการไปในทางมิจฉาทิฐิได้    จึงต้องมีกลไกตรวจสอบกำกับดูแล อย่างจริงจัง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๕๖

 

 

   

หมายเลขบันทึก: 547938เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2013 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2013 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท