สุนทรียสนทนา พลังแห่งการเยียวยาซึ่งกันและกัน


 สุนทรียสนทนา พลังแห่งการเยียวยาซึ่งกันและกั


เมื่อเร็วๆนี้ผมได้มีโอกาสรับฟังรายงานเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความไม่พอใจของผู้ใช้บริการในการสนทนาของน้องผู้ช่วยพยาบาลท่านหนึ่ง พอสืบสาวหาข้อเท็จจริงมูลเหตุก็พบว่า เกิดจากการสนทนาที่ไม่มองหน้าคู่สนทนา เพราะมัวแต่มองหน้าจอคอมพิวเตอร

เรื่องนี้ทำให้ผมสะดุดคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับการสนทนาเรื่องหนึ่ง ที่นักเรียนแพทย์ลูกสาวเคยเล่าให้ผมฟังเมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นเป็นช่วงปฐมนิเทศนักเรียนแพทย์ใหม่ของ U.of Melbourne เขาใช้การแสดงละครจริงโดยให้เหล่านักเรียนแพทย์ร่วมแสดงด้วย เพื่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกจริงๆณขณะนั้น

นักเรียนแพทย์ลูกสาวและเพื่อนถูกให้แสดงเป็นคนไข้และญาติคนไข้ สองคนถูกพาเข้าไปให้ห้องตรวจแพทย์ ขณะที่พูดคุยกันนั้น แพทย์เอาแต่ดูประวัติและเขียนบันทึก โดยมิได้เงยหน้าขึ้นมาสบตาคนไข้เลย สักพักมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น คุณหมอก็ยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันอย่างปกติ เหมือนกับไม่มีใครนั่งอยู่ตรงนั้นร่วมด้วยเลย 

ถึงแม้นักเรียนแพทย์ทั้งสองจะรับรู้มาก่อนแล้วว่า นี่คือละคร หมอก็ปลอม พยาบาลก็ปลอม เจ้าหน้าที่ก็ปลอม คนไข้ก็ปลอม แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นของจริง พวกเขารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับเกียรติจากแพทย์เลย ความเคารพศรัทธาลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด

มีอีกหนึ่งเหตุการณ์คล้ายๆกันที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ นักเรียนแพทย์ลูกสาวและเพื่อนได้มีโอกาสเฝ้าดูการตรวจของอาจารย์แพทย์ในคลินิกผู้ป่วยนอก ลูกสาวเล่าให้ฟังว่าการเป็นบุคคลที่สามที่ได้เฝ้าสังเกตการสนทนาระหว่างคู่สนทนานั้น ให้ประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว หลายครั้งที่สังเกตเห็นการสนทนาทั้งที่เป็นคำพูด โทนเสียง ภาษากาย และได้เห็นการตอบสนองของอีกฝ่าย ทำให้ทราบได้เลยว่า “การสนทนาที่ดีนั้น มีอานุภาพแห่งการเยียวยาที่ยิ่งใหญ่จริงๆ” และในทางตรงกันข้าม “การสนทนาที่ไม่ราบรื่นนั้น จะมีผลต่อความเข้าใจ ความส้มพันธ์ จนกระทั่งมีผลต่อการดูแลรักษา ตลอดจนผลของการรักษาอย่างมากเลยทีเดียว” 

เพื่อนๆครับ การสนทนาที่ดีที่เราเรียกกันว่า “สุนทรียสนทนา” นั้น มีพลังอานุภาพแห่งการเยียวยาจริงๆครับ คงมิได้เยียวยาเเต่เฉพาะผู้ที่สนทนากับเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวเราเองที่เป็นคู่สนทนาด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างตั้งใจ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “สุนทรียสนทนา คือ พลังแห่งการเยียวยาซึ่งกันและกัน" ที่ยอดเยี่ยมจริงๆครับ 

คำสำคัญ (Tags): #สุนทรียสนทนา
หมายเลขบันทึก: 547314เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2013 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2013 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I became aware of this issue some 3 years ago after listening to a talk between 2 doctors. The essence of the talk was that doctors were (still are) pre-occupied with symptoms/diseases, medical advancement, pharmaceutical issues, money and government (health) regulations, they tended to forget the real-life patients or no longer focused on patients but rather abstractions of patients.

The talk named patients as "icon on the canvas/work area of doctors" who are now practicing i-medicine.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท