โทนี่ แบลร์ มาช่วยสอนมวยการเมือง


  1.  

     คำบรรยายของ โทนี่ แบลร์ พร้อมคำแปล

     

    .....................................................................................................................................................................

    ฟังสรยุทธ์ ช่อง 3 ในยามเช้า จับคำคมของโทนี่ แบลร์ ได้

    ไม่ธรรมดาเหมือนกัน  เลยไปคว้ามาให้อ่าน

  2. "การปรองดองจะต้องมาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับความเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา
     
    และ
     
    สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุกฝ่ายมองเห็นรางวัลที่วางอยู่ในเบื้องหน้า ประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
    และ
     
    คำว่าประชาธิปไตย ไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่จะต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม
     
    ในระบอบประชาธิปไตยจะต้องทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือเป็นธรรม เพื่อที่คนในสังคมจะได้ยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ
     
    การปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อการเมืองสามารถนำมาได้ซึ่งนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
     
    ส่วน
     
    ความโปร่งใส ความธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชน และนำไปสู่ความปรองดองง่ายขึ้น"

    อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ยังกล่าวอีกว่า
     
    การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อรัฐบาลสามารถที่จะดำเนินการในสร้างความเป็นอยู่ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าดีขึ้น ด้วยความโปร่งใส
     
    และ
     
    เราอาจจะไม่เชื่อในการปรองดอง แต่อย่างน้อยต้องมีการเริ่ม อย่าเพิ่งท้อ แม้จะมีความแตกต่างแค่ไหน แต่จะต้องใช้ความพยายาม และนักการเมืองที่มีความตั้งใจในการนำไปสู่ความปรองดองเพื่อคนทั้งประเทศ.
     
    จาก 

    'โทนี แบลร์' หนุนปรองดอง ชี้คนไทยต้องแก้กันเอง - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

    www.thairath.co.th/content/pol/367223
     
    Translate this page
     
    โทนี่ แบลร์ เป็นผู้กำหนดนโยบาย ที่อังกฤษ รบ กับกองทัพไอริช มานาน
    มีการฆ่ากันตายเป็นเบือ ติดตามอ่านที่นี่
    portal.in.th/kpipeace/pages/2423/
     
    Translate this page
     
    ที่มีสาระสำคัญว่า  "ปี 1997 โทนี่ แบลร์ซึ่งได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยเสียงท่วมท้น
    ในรัฐสภา มีนโยบายที่จะสานต่อกระบวนการสันติภาพ และยินยอมให้ IRA เข้าสู่กระบวนการเจรจา
    โดยไม่จำเป็นต้องทำลายอาวุธให้หมดก่อนตามข้อเรียกร้องเดิม"
     และการฆ่าฟันก็ยุติลงได้ 
     
    ประวัติของ โทนี่ แบลร์ 

    โทนี แบลร์ - วิกิพีเดีย

    th.wikipedia.org/wiki/โทนี_แบลร์
     
    Translate this page
     
    ยกที่ 1 โทนี่ แบลร์ สอนมวยนายก

    วันนี้ 2 ก.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมพลาซ่า แอธินี นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้การต้อนรับ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ก่อนเข้าร่วมปาฐกถา Uniting for the future ที่โรงแรมพลาซ่าแอธินี กรุงเทพฯ

    โทนี่ แบลร์ - ยิ่ังลักษณ์

    ทั้งนี้ นายกฯ ได้กล่าวขอบคุณ นายโทนี่ แบลร์ ที่ได้เดินทางมาร่วมแสดงปาฐกถาในครั้งนี้ โดยหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยให้ประเทศไทย หาทางออกจากความขัดแย้ง และนำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่ที่จะสร้างความปรองดอง แต่แทบจะไม่มีความคืบหน้า ดังนั้น การได้รับฟังความเห็นของผู้มีประสบการณ์ในการสร้างความปรองดองในระดับสากล น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย

    1187098_620591187985340_2022468560_n

    ขณะเดียวกัน นายกฯ กล่าวกับ นายโทนี่ แบลร์ ว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ หลังจากที่ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะต้องการที่จะปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นกฎหมายสูงสุด ที่เป็นธรรมมากที่สุด

    ขณะที่ ด้าน นายโทนี่ แบลร์ ได้กล่าวกับนายกฯ ว่า การสร้างความปรองดองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย จุดเริ่มต้นที่สามารถลดความขัดแย้งได้คือ การที่รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายที่ได้ประโยชน์แก่ประชาชนทุกฝ่าย เพื่อสร้างความไว้วางใจว่าจะไม่ทำประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ ในระยะยาวจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งพร้อมที่จะให้การสนับสนุนให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทย ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์

    นายโทนี่ แบลร์ ได้สอบถามถึงการดำเนินการตามผลการศึกษาของ คอป.ว่าเป็นอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยด้านการเมืองจากหลายหน่วยงาน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่าแนวทางใดสามารถที่จะเดินหน้า เพื่อนำไปสู่ความปรองดองได้ทันทีก็จะเริ่มดำเนินการ

    นายโทนี่ แบลร์ ได้สอบถามถึงผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองว่าเป็นอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ยังมีนักโทษทางการเมืองจากทุกฝ่ายอยู่ในเรือนจำ ดังนั้น พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ จะเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเหลือนักโทษเหล่านั้น ขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีการจัดตั้งเวทีเพื่อร่วมหาทางออกในการปฏิรูปประเทศ ที่มีทุกภาคส่วนเข้าร่วมยกเว้นฝ่ายค้าน ซึ่ง นายโทนี่ แบลร์ กล่าวว่า จะได้มีโอกาสพบปะกับผู้นำฝ่ายค้าน และจะนำความตั้งใจของรัฐบาลในการสร้างความปรองดองไปให้ฝ่ายค้านทราบ เพื่อทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีให้กับประเทศไทย

    1230006_620591057985353_1941241003_n โทนี่ แบลร์ - ยิ่ังลักษณ์

    จาก  

    ยกที่ 2 ดอดออกมาสอนมวยหัวหน้าฝ่ายค้าน  
    (ยังไม่เห็นคำสอนโดยตรง หากอ่านข้างบนสุดที่ก็อปมาก็พอเป็นคำสอนได้เหมือนกัน)
     

    เมื่อวันที่ 2 ก.ย. เมื่อเวลา 12.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้าร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่บ้านพักเอกอัคราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ โดยภายหลังการหารือ นายอภิสิทธิ์  กล่าวเพียงว่า ในการพูดคุยกับนายโทนี แบลร์ พูดคล้ายกับที่ได้กล่าวบนเวทีปราฐกถาพิเศษ ส่วนรายละเอียดตนจะเล่าให้ฟังในวันที่ 3 ก.ย.นี้  เนื่องจากติดภารกิจเดินทางไปจ.สุราษฎร์ธานี

    ทั้งนี้ นายกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “KornChatikavanij” ตอนหนึ่งว่า นายแบลร์ ทราบแต่แรกว่าเราไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการปาหี่ปฏิรูป ของรัฐบาล จึงได้ขอนัดพบเราต่างหาก หลังจากที่ได้ไปบรรยายให้กับฝ่ายรัฐบาลฟังตอนเช้า ซึ่งนายแบลร์ เคยเดินทางมาประเทศไทยและพบกับพวกตนครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ในคราวนั้นได้อธิบายให้นายแบลร์ เข้าใจว่าจุดยืนของเราคือการให้อภัยกันเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีการเคารพสิทธิของผู้สูญเสียที่จะได้รับความยุติธรรมก่อน เรามองว่าการรักษาหลัก 'นิติธรรม' เป็นเรื่องจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดนี้ นายแบลร์ ก็เห็นด้วยและได้สัมภาษณ์ในหลักการเดียวกันด้วย

    “วันนี้เราจึงได้ชี้แจงกับท่านอีกครั้งว่าเราไม่เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปจริง และไม่ยอมที่จะทบทวนความเหมาะสมเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้สร้างความแตกแยกอย่างมาก และหลายฝ่ายมองว่ามีผลในทางลบกับระบอบการปกครองประเทศ ส่วนกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริงนั้น มีเวทีอื่นที่เหมาะสมกว่า และเราพร้อมเข้าร่วมเสมอ ต่อเมื่อรัฐบาลพร้อมยอมรับว่าในการปฏิรูปประเทศนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน และเวทีนั้นไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อหาความชอบธรรมในการจัดผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองให้ลงตัว ทั้งหมดเป็นการนั่งสนทนากันอย่างเป็นกันเอง คือท่านทูตฯได้จัดให้เราสามคนตักอาหารแบบบุฟเฟ่ต์มานั่งทานไปคุยไป ใครบอกว่าอังกฤษทำอะไรต้องมีพิธีรีตองมากมาย จริงๆสมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ” นายกรณ์ ระบุผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว.

    จาก “มาร์ค-กรณ์” กินข้าวกับ“โทนี แบลร์" | เดลินิวส์www.dailynews.co.th/politics/230296"โทนี่ แบลร์" ชี้ปัญหาในประเทศไทย คนไทยต้องเป็นคนแก้ไข : เนชั่น ...

     

    คำสอนมวยบางส่วน

    2 ก.ย. 2556  ที่โรงแรมพลาซ่าแอธินี มีงานปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ Uniting for the future : Learning from each other′s experiences หรือ “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ ”

     

     

    งานดังกล่าวมีวิทยากรระดับโลกมาร่วมบรรยาย ถ่ายทอดประสบการณ์ เช่น นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักร ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการยุติความรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือ ด้วยการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงสันติภาพจนนำไปสู่การหยุดยิงและยุติความรุนแรงที่สืบเนื่องกันมากว่า 30 ปีได้ในที่สุด

     

    นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี 2551 และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในกระบวนการเจรจาสันติภาพในโคโซโว ผู้ก่อตั้งและประธาน Crisis Management Initiative (CMI) ที่เน้นการแก้ข้อพิพาททางสันติวิธี และเป็นหัวหน้าคณะไกล่เกลี่ยในกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอาเจะห์ (Free Aceh Movement)


    และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ Centre for Humanitarian Dialogue หรือ HDC ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ผ่านงานด้านยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านในหลายประเทศทั่วโลกและยังเป็นที่ปรึกษาให้กับสหประชาชาติทางด้านสิทธิมนุษยชน

     

    นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญชาวไทยที่ได้รับเชิญเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วย 

     

    "มติชนออนไลน์"ถอดคำบรรยายปาฐกถาจาก 3 วิทยากรระดับโลก หวังว่าเวทีนี้จะเป็นจุดเริ่ม และต่อยอดสนับสนุนให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทยต่อไป

     


     

    โทนี่ แบลร์
    อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

     

     

    ผมมาที่นี่เพราะได้รับเชิญ ไม่ได้รับเงิน แต่มา เพราะเชื่อเรื่องกระบวนการสมานฉันท์และการปรองดอง ซึ่งเป็นความท้าทายที่ใหญ่แต่คุ้มค่าที่จะเข้ามามีส่วนด้วย 
     

     

    ปัญหาของไทยที่สุดแล้วจะแก้ไขได้ด้วยคนไทยเท่านั้น ไม่ใช่คนข้างนอก สิ่งที่ผมพูดวันนี้เป็นการแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยมีหลักการ 5 ประการที่ได้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วมกับขบวนการปรองดองสมานฉันท์ในหลายปีที่ผ่านมา
     

    ประการแรก การสมานฉันท์จะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่ามันเป็นการแบ่งปันโอกาสมากกว่าที่จะแบ่งแยกกัน แน่นอนว่าจะมีสถานการณ์ที่เรามีความไม่พอใจ มีประเด็นที่เถียงกันเรื่องการปรองดอง แต่บริบทของการทำงานเพื่อสร้างการปรองดองจะเป็นเรื่องความรู้สึกและการแบ่งปันโอกาสที่มีความสำคัญกับผู้คน มากกว่าที่จะมาไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดในอดีต
     

    ประเทศไทยมีศักยภาพมาก มีเศรษฐกิจที่เติบโต และเป็นผู้นำเรื่องต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว มีประชากร 67 ล้านคน มีความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ มีความท้าทายเรื่องการพัฒนาในชนบทและเรื่องสุขอนามัย แต่เรามีความปรารถนาที่จะก้าวไปถึงการพัฒนาอีกขึ้นหนึ่ง เราจะไปถึงจุดที่เราต้องการได้ก็ด้วยการผนึกกำลังในการแบ่งปันโอกาสและทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราต้องการจะก้าวไปถึงจุดนั้น 
     

    ในไอร์แลนด์เหนือการปรองดองเกิดขึ้นได้เมื่อคนตระหนักว่าไอร์แลนด์เหนือและไอร์แลนด์ใต้สามารถทำงานร่วมกันได้ เมื่อคนรู้สึกว่ามีโอกาสมากมาย เราจึงจะต้องสมานฉันท์ปรองดองเพื่อจะได้มีแนวทางในการนำพาประเทศไปข้างหน้า ในอิสราเอลและปาเลสไตน์ แม้เราจะมีบริบทในการเจรจาสันติภาพมากแต่ขณะนี้ความรู้สึกเช่นนี้ของคนยังไม่เกิด เพราะผู้คนต้องรู้สึกอย่างแรงกล้าถึงอนาคตแทนที่จะไม่พอใจกับสิ่งที่ผ่านมาในอดีต
     

    ประการที่สอง ในการสร้างความปรองดองสิ่งที่เราพูดกันคือเรื่องความขัดแย้งที่ทำให้ต้องมีการปรองดองกัน สิ่งที่ผมเรียนรู้คือเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แต่ไม่ควรตัดสินว่าจะนำมาซึ่งความพอใจของทุกฝ่ายได้ เราต้องยอมรับว่าอย่างไรก็ตามจะมีสองฝ่ายในการอธิบายถึงอดีตที่ผ่านมาซึ่งเราไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ แต่เราตรวจตราอดีตในลักษณะที่จะทำให้เราสามารถเดินไปสู่อนาคตได้ด้วย 
     

    สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับเรื่องความไม่พอใจที่จะสกัดกั้นไม่ให้เราก้าวไปสู่อนาคต โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยนักโทษ เพราะมันย่อมมีสองฝ่าย กรณีไอร์แลนด์เหนือ ด้านหนึ่งมองว่าไออาร์เอเป็นผู้ก่อการร้ายที่เข่นฆ่าผู้บรสุทธิ์ ขณะที่อีกด้านมองว่าคนเหล่านี้ต่อสู้เพื่อปลดแอก ความปรองดองสมานฉันท์ไม่ใช่การเปลี่ยนความคิดในอดีตที่ประสบมา แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนคือการเปลี่ยนแปลงความคิดที่จะมุ่งไปสู่อนาคต 
     

    ข้อตกลงสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือที่เกิดขึ้นในสมัยผมเป็นนายกรัฐมนตรี หนึ่งในนั้นคือการปล่อยตัวนักโทษไออาร์เอ ถ้าเรามองจากมุมของคนเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย คนเหล่านี้คือผู้รับผิดชอบกับการสูญเสียคนในครอบครัวที่เรารัก แต่วันนี้พวกเขากลับมาเดินบนท้องถนน แน่นอนว่าเราย่อมรู้สึกโกรธแค้น โศกเศร้า และยากจะหลุดพ้นไปได้ ผมมีโอกาสได้พบกับครอบครัวของผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์เหล่านี้ แต่สิ่งที่เขาพูดกับผมซึ่งทำให้ผมสะเทือนใจคือ เราต้องเดินหน้าต่อไปเพราะไม่อยากเห็นเหตุการณ์และความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นอีก
     

    ถ้ามองสถานการณ์ในไทยจากการศึกษารายงานต่างๆ ก็จะเห็นประเด็นที่คล้ายคลึงกัน เราสามารถมองทุกอย่างตามความจริงที่เกิดขึ้น ความโศกเศร้ายังมีอยู่ ภารกิจปรองดองไม่ใช่ให้ลบล้างมันแต่ให้ก้าวข้ามมันไปเพื่อไปทำสิ่งอื่่น 
     

    ประการต่อมา หากเป็นไปไม่ได้ที่จะลบล้างความอยุติธรรมในอดีตเพื่อก่อให้เกิดความปรองดอง เราก็ต้องทำให้เกิดกรอบในการทำงานต่อไปได้ สิ่งที่เกิดในอดีตนั้นผู้คนต้องถกเถียงกันต่อไป รวมถึงใครจะต้องรับผิดชอบ แต่เราสามารตั้งกรอบการทำงานในอนาคตที่เห็นว่ายุติธรรมและสามารถทำให้เราทำงานต่อไปได้ รากฐานของความขัดแย้งก็สามารถนำมาพูดคุยได้ แม้จะเป็นเรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องทำ 
     

    กรณีไอร์แลนด์ถ้าไม่มีการเจราจากู้ดไฟร์เดย์เราก็จะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะการเจรจานี้ ทำให้เรามีกรอบในการทำงานต่อไป สาระของการเจรจาคือเป็นการปรองดองในระดับหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ เราต้องยอมในบางเรื่องเพราะคนส่วนใหญ่ควรมีสิทธิ แต่ถ้าใช้เสียงส่วนใหญ่ก็อาจไม่เกิดสันติภาพขึ้นได้เลย เราจึงต้องสร้างกรอบขึ้นเพื่อให้มีการแบ่งปันอำนาจในไอร์แลนด์เหนือโดยที่ทำให้คนไม่รู้สึกว่าเขาถูกปิดกั้นจากการแบ่งปันการปกครอง ไทยมีกรอบอยู่แล้วแต่หากไม่สามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมได้ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นวิธีที่จะสร้างสันติสุขได้คือรับว่าเรามีความขัดแย้งในอดีต แต่ก็มีกรอบที่จะทำให้มันเดินหน้าต่อไปได้
     

    มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญหรือใครมายึดอำนาจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ผิวเพราะลึกลงไปมันจะมีรากของความขัดแยัง แต่การปรองดองจะเกิดได้เมื่อเราพูดถึงเหตุผลที่ลึกลงไปเหล่านี้ซึ่งจะทำได้จริงเมื่อมีกรอบที่จะก้าวต่อไป โดยพูดถึงปัญหาที่หยั่งรากลึกเหล่านี้ในแง่ความยุติธรรมเพื่อสร้างความปรองดอง เราต้องทำให้เขาเห็นว่าอนาตตมีทางไป

     

หมายเลขบันทึก: 547265เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2013 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2013 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

-เมื่อคืน  ได้ดูสัมภาษณ์ คุณ โทนี่แบลร์   ในรายการ Thai Pbs   โดย คุณณัฐฐา  โกมลวาทิน  /// ความคิด  แหลมคม มากค่ะ

ต่อจากที่โพสต์ไว้แล้ว 

 

สี่

หลักการที่สำคัญยิ่งคือประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะใช้งานได้ แต่ละประเทศแม้จะเป็นประเทศเดียวแต่ก็มีการแบ่งแยกแตกต่างอยู่ภายใน มีพรรคการเมือง ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในไทยการแบ่งแยกมีมากมายแต่ก็เป็นเรื่องปกติคล้ายคลึงที่ทุกประเทศก็มี เพียงแต่สถานการณ์มีความพิเศษไม่เหมือนกัน ประชาธิปไตยทั่วโลกมีมากมาย แต่มีสองสามอย่างที่สำคัญสำหรับประชาธิปไตยที่แท้จริงนั่นคือ ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นวิถีแห่งความคิดที่ว่าไม่ใช่แค่คนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ หรือผู้ชนะจะได้ทุกอย่าง ทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกัน ในความคิดของผม ประชาธิปไตยไม่ใช่การยึดครองโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีพื้นที่แบ่งปันที่ทุกคนจะสามารถทำงานร่วมกันได้ มีพื้นที่ให้คนกลุ่มใหญ่ทำงานร่วมกันคนกลุ่มน้อยเพื่อแบ่งปันคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่างร่วมกัน เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของแนวคิด ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
 

ที่สำค้ญคือต้องมีหลักนิติธรรมซึ่งต้องดำเนินไปโดยไม่มีความโน้มเอียง ซึ่งไม่ใช่แค่รัฐบาลหรือศาล หลักนิติธรรมยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุน ต้องสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ กระบวนการตุลากรที่เป็นอิสระก็มีความสำคัญ
 

เมื่อผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้ามา ทำให้เป็นครั้งแรกที่ศาลสูงสามารถคว่ำมติของรัฐบาลได้หากเห็นว่าขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเดิมอังกฤษไม่มีเรื่องเช่นนี้ แต่สิ่งนี้เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล บางครั้งนายกรัฐมนตรีเสนอกฎหมายที่เห็นว่ามีความสำคัญ แต่ศาลก็สามารถยกเลิกได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องน่าขัดใจ แต่เมื่อเราให้สิทธิเขาแล้วเราก็ต้องยอมรับ แต่สิ่งเหล่านี้จะทำได้ต่อเมื่อความยุติธรรมต้องเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการเป็นอิสระและปราศจากอคติจึงเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ผมชื่อว่าประชาธิปไตยที่ีแท้สังคมแบบพหุและต้องขับเคลื่อนด้วยหลักนิติธรรม เราจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชัดเจน
 

ห้า การปรองดองจะทำได้ง่ายขึ้นถ้าการเมืองของประเทศนั้นๆ รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และจัดการปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ เพราะรัฐบาลคือความคาดหวังของประชาชนและมีหน้าที่ดูแลประชาชนของตน 
บทเรียนหนึ่งในการดูแลประชาชน คือการยื่นมือออกไปสู่กลุ่มที่แตกต่าง การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประชาชน ให้เขารู้สึกว่าชีวิตของเขาดีขึ้น รู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพจะนำสิ่งที่ดีีมาสู่ตนเอง ถ้าเขาไม่รู้สึกเช่นนั้นเขาก็จะไม่อยากวางความแตกต่างและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น
 

เป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับรัฐบาลว่าจะหลุดพ้นจากนโยบายที่วางไว้ได้อย่างไร ถ้าต้องการการสร้างสิ่งที่ดีขึ้นและสามารถก้าวข้ามผ่านการแบ่งแยกโดยนโยบายของพรรคการเมืองไปได้ ก็จะทำให้เราสามารถทำสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับอนาคต
 

บทเรียนของผมจากการทำงานที่ผ่านมาคือกระบวนการนี้ไม่ง่าย เราจะเจอความแตกต่างมากมายจนเหมือนไม่สามารถจะสร้างความปรอดองได้เลย สิ่งสำคัญสำหรับปรองดองสมานฉันท์คืออย่ายอมแพ้ แม้มันจะดูยากแค่ไหน หรือช่องว่างจะดูกว้างแต่ไหน เพราะมันเป็นอนาคตของประเทศ มันเป็นเรื่องจำเป็นและะคุ้มค่า 
 

ทุกประสบการณ์ที่ผมเคยทำมาในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ผู้นำต้องนำแต่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและก้าวตามหลัง การปรองดองที่ปราศจากการสนับสนุนจากประชาชนจะก้าวไปไม่ได้ มันเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันร่วมกันและเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่งถ้าเราไม่ก้าวไปสู่โอกาสนั้น
 

แม้จะแตกต่างกันมากแต่หากสามารถทำงานร่วมกันได้ ประโยชน์มหาศาลจะตกอยู่กับประชาชน

........................................................................................................................

 

 

 

จาก   ถอดบทเรียน 3 กูรูระดับโลกแก้ปัญหาปรองดอง จากเวที “ผนึกกำลังสู่อนาคต ...

ต้องให้ต่างชาติเขาสอน จริง ๆ บางเรื่องง่ายนิดเดียวแต่คิดไม่ออก การแก้กฎหมายที่เป็นธรรม ต้องมีรัฐบาลและฝ่ายค้านเท่า ๆ กันจึงจะเสมอภาค พรรคเล็ก ๆ ไม่ควรร่วมจัดตั้งรัฐบาล ต้องคิดเป็นฝ่ายค้าน ทุกวันนี้หลายคนไม่สนใจการเมือง ไม่มองอย่างเป็นธรรม มองเป็นพวกพ้อง มองผลประโยชน์ใกล้ ๆ ตัว ไม่คิดแก้กฎหมายที่ใช้ได้อย่างเป็นธรรมและอย่างยาวนาน 

 

ได้นำทั้ง 5 ข้อ แบบย่อ ๆ ไปทิ้งไว้ใน เฟซบุ๊ค

เผื่อท่่าน ที่ถูกใจได้นำไปแชร์ต่อ

ครับ http://goo.gl/zauwe3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท