ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ “บัณฑิตที่มีความร้บผิดชอบ พร้อมทำงาน”


Good Practice ในงาน The 5th Dent KKU Show and Share 2013  

ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ บัณฑิตที่มีความร้บผิดชอบ พร้อมทำงาน” คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น        
สมพิศ นามเปือย, วิชาญ  ธรรมวิรัตน์, กชพรรณ  มณีกานนท์ และทีมงาน
งานแผนและสารสนเทศ งานพัฒนานักศึกษา และงานจัดการศึกษา 

ลักษณะของผลงาน :

เป็นการสร้าง/พัฒนาระบบงาน  และส่งต่อกระบวนงานระหว่างหน่วยงาน โดยเน้นกระบวนการคัดเลือกนักศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน กระบวนการพัฒนานักศึกษา และกระบวนการวัดผล  ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตบัณฑิตเพื่อให้เกิดผลลัพธ์/ผลกระทบกับผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต ประชาชน และตามเป้าหมายของคณะฯ ตามลำดับ

วิธีดำเนินการ :

  • คณะกรรมการประจำคณะฯ ได้กำหนดอัตลักษณ์ ““บัณฑิตที่มีความรับผิดชอบ พร้อมทำงาน”  ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555
  •  ฝ่ายแผนฯ /ฝ่ายพัฒนานักศึกษา/ฝ่ายวิชาการ ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ตามกระบวนการ Input process output/outcome
  • ฝ่ายแผนฯ มีการติดตามประเมินผลการพัฒนา  โดยการออกแบบสอบถาม กำหนดประเด็นการประเมินให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน IQA  และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการประเมินคือ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาชั้นปีที่ 6 ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต         
  • รวบรวมข้อมูล ประเมินผล  วิเคราะห์ผล  และสรุปผล
  • รายงานผลตามตัวชี้วัด IQA ตัวที่ 9.2 ผลการพัฒนาตามอัตลักษณ์ ต่อสำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ มข. และอ้างอิงในการตรวจประเมิน IQA คณะฯ
  • รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร เพื่อนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะ เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาคณะฯ และตัดสินใจของผู้บริหารต่อไป     

ผลลัพธ์/ผลกระทบ

 

การนำไปใช้ประโยชน์         

  • ผลการประเมินนำมาปรับกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของคณะฯ
  • ผลการประเมินนำมาปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ของคณะ

ความภาคภูมิใจ

 

เป็นการพัฒนากระบวนการทำงานเป็นทีม เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิต ระหว่างงานแผน งานพัฒนานักศึกษา และงานจัดการศึกษา ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ บัณฑิตที่มีความรับผิดชอบ พร้อมทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #งานสร้างสุข
หมายเลขบันทึก: 547236เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2013 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท