Northeast Regional HA Forum ครั้งที่ 10 ประจำปี 2556 (4): Safety Goal 2013 to 2014 โดย อ.พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ


ทิศทางเรื่องความปลอดภัยในปี 2014 จะเป็นการชักชวนให้ตระหนักรู้ด้วยตนเอง ประชาชนมีส่วนร่วม องค์กรวิชาชีพหลายองค์กรมีส่วนร่วม

เรื่องของความปลอดภัย (Safety) ยังคงมีความสำคัญมากเป็นอันดับแรกๆ ของงานบริการสาธารณสุข เรื่อง Safety Goal 2013 to 2014 บรรยายโดย อ.พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

 

คำสำคัญที่อาจารย์กล่าวถึงมิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่างกันของคำสำคัญเหล่านี้ (รายละเอียดติดตามได้จากสไลด์ของอาจาีรย์ซึ่งจะโพสต์โดย HACC Md KKU)ได้แก่

  • ความปลอดภัย
  • ความไว้วางใจ
  • ความพึงพอใจ
  • การฟ้องร้อง
  • Adverse event
  • HA & SHA
  • WHO
  • JCI
  • ISQua
  • อื่นๆ

 

ทิศทางเรื่องความปลอดภัยในปี 2014 จะเป็นการชักชวนให้ตระหนักรู้ด้วยตนเอง ประชาชนมีส่วนร่วม องค์กรวิชาชีพหลายองค์กรมีส่วนร่วม การดึงประสบการณ์ ความรู้ ความสำเร็จออกมาร่วมกันปฏิบัติ และการปฏิบัติตามมาตรฐานจะทำให้ลดการฟ้องร้อง ลดความวุ่นวาย และลดเอกสารต่างๆ

 

 

ยุคปัจจุบันเมื่อผู้รับบริการไม่พึงพอใจสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วมากผ่านทางเว็ปไซต์ เราจึงควรช่วยกันเขียนเรื่องดีๆในมุมของเราบ้าง เพื่อเป็นช่องทางถ่ายทอดให้สังคมเข้าใจการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานของเราเพิ่มขึ้น

 

 

มีข้อสงสัยว่า Zero defect ซึ่งถูกยกเป็นเรื่องสำคัญในวงการยานยนต์ เป็นการตั้งไว้เพื่อให้รู้สึกว่า เขาต้องทำทุกวิถีทางที่ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แต่ในวงการสาธารณสุขที่กระทำโดยตรงเกี่ยวกับมนุษย์ กลับไม่กล่าวถึง Zero defect เลยซึ่งเป็นเรื่องน่าคิด

 

 

โดยสรุปเนื้อหาทั่วๆไป

  •  ความรู้พื้นฐานเรื่องความปลอดภัย
  • พื้นฐานเบื้องต้นของความปลอดภัย คือการทำตามมาตรฐานทางวิชาชีพ
  •  ถามตนเองว่า ทุกวันนี้เราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง ต้องคิดว่า Safety first
  • เครื่องมือต่างๆเรื่องลดความเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ถูกสร้างขึ้นและมีใช้ตั้งแต่ปีแรกๆ ของการเกิดกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เช่น  RCA FMEA  RM เป็นต้น และพัฒนาเรื่อยมา
  • ที่สำคัญคือ การปฏิบัติให้ได้มาตรฐานและคงเส้นคงวา
  • สนใจและใส่ใจในคำพูด, คำถามทุกคำของผู้ป่วย/ญาติ เพราะหัวใจสำคัญของข้อข้องใจที่ไม่ได้รับการอธิบายอาจเป็นประเด็นของความไม่พึงพอใจ

การบรรยายของอาจารย์ที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยและการลดความเสี่ยงสำหรับผู้เขียนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องของการปฏิบัติบนมาตรฐานวิชาชีพด้วยการใส่ใจในการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และพึงพอใจ 

และเป็นความพยายามของ สรพ.ในตลอดเวลาที่ผ่านมาที่หากลยุทธ์มากมายเพื่อต้องการให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากอันตรายที่ไม่ควรเกิด ที่เราป้องกันได้

 

 

 

เรื่องความปลอดภัยในงานของผู้เขียน แม้ผู้เขียนจะปฏิบัติต่อผู้ป่วยแต่ละรายเหมือนกันในประเด็นมาตรฐานวิชาชีพ แต่ก็ไม่คิดว่าจะเหมือนกันในทุกเรื่องได้ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนก็มีความเฉพาะของตนเอง

... ผู้เขียนสอนน้องเสมอว่า แม้ผู้ป่วยจะถูกประเมินความเสี่ยงทางวิสัญญีเบื้องต้นเหมือนกัน มีการเซ็ทผ่าตัดเหมือนกัน แพทย์ผ่าตัดคนเดียวกัน และวางแผนในทีมเลือกใช้ยาประเภทเดียวกัน แต่จะไม่มี routine ในการดูแลผู้ป่วยที่มาระงับความรู้สึกแต่ละราย เพราะผู้ป่วยแต่ละคนก็มีความเฉพาะที่เป็นตัวของเขาเอง

 

(ขอขอบคุณ ภาพการ์ตูนน่ารักจาก http://www.dek-d.com/board/view/2782023/ ค่ะ)

 

หมายเลขบันทึก: 547189เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2013 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2013 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับพี่ติ๋ว ที่ถอดบทเรียนการประชุมที่ดีให้รู้ครับ

ตามมาเรียนรู้ค่ะพี่ติ๋ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท