"ตังค์ ติง ตุงนัง ติ๊ง (think)" ... (แด่ลมหายใจ...ที่ไม่เคยรู้สึก : ดร.ปภัสสร กิมสุวรรณวงศ์)


 

ตังค์ ติง ตุงนัง ติ๊ง (think)

 

 

ตังค์

ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสังคมที่เน้นวัตถุนิยมมาก
ทุกสิ่งของรอบตัวต่างมีดีไซน์รูปแบบแปลกใหม่ น่าสนใจ และอยากได้มาเป็นเจ้าของ
รถ มือถือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กระเป๋า รองเท้า อื่น ๆ
ซึ่งต่างหลอกล่อให้เราต้องการซื้อมัน
และการที่จะซื้อสิ่งเหล่านั้นมา ก็ต้องมีเงินหรือ "ตังค์"
ดังนั้น ตังค์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนในสังคมต้องมี
และตังค์กลายเป็นตัวชี้วัดความสุขไปด้วย
ทุกคนต่างดิ้นรนให้ได้ตังค์

อาจมีน้อยคนนักที่ไ่ม่คิดเรื่องตังค์
จะด้วยว่าฐานะดีอยู่แล้ว หรือพึงพอใจชีวิตความเป็นอยู่ของตน
จึงคิดเรื่องตังค์น้อยหน่อย
แต่ก็เพราะตังค์นี่เองที่สามารถบันดาลสิ่งที่เราต้องการอยากได้
มันจึงมีอิทธิพลและสามารถเปลี่ยนแปลงคนได้
และถ้าไม่มีตังค์ เราอาจถูก "ติง"

 

 

ติง

ติงหรือก็คือท้วงติง ตำหนิ
ในเมื่อตังค์มีอิทธิพลขนาดที่ว่า
ผู้ใดมีตังค์เยอะก็จะดูน่าสรรเสริญ ให้เกียรติ เกรงใจ
แต่ผู้ใดที่ไม่ีมีตังค์ มักถูกท้วงติงหรือตำหนิ

นี่อาจเป็นเพราะเราเ้น้นวัตถุนิยมมากจนเกินไป ทำใำ้ห้ไม่เห็นค่าของคน
ค่าของคน รวมถึงความสุข ก็เลยขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า
เ้จ้าตังค์นี้มันมีอิทธิพลจริง ๆ

 

 

ตุงนัง

โลกใบนี้ช่างอีรุงตังนัง
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเกิดจากตังค์เป็นเหตุให้เกิดการติติง
เมื่อติติงก็ส่งผลให้เราต้องกระเสือกกระสนให้ได้ตังค์
ก็เลยเกิดความยุ่ง "ตุงนัง" ทุกวันนี้
ตังค์อาจได้มาจากการหยิบยืม
ขอยืม (ไม่มีกำหนด)
การกู้ยืม
และขโมย (เสี่ยงต่อการเสียชีวิต)
ในทางสร้างสรรค์หน่อยก็อาจจะเป็นการทำ OT หารายได้พิเศษ
ซึ่งก็ต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น!
ทุกวิถีทางต่างทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์กายหรือทุกข์ใจ
นั่นอาจเป็นเพราะเราตีค่าตังค์มากเกินไป
ให้ค่าตังค์คือพระเจ้า สามารถบันดาลสุขได้

โดยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมรักสุขเกลียดทุกข์
ดังนั้น ที่ต้องกระเสือกกระสนหาตังค์ก็เพราะต้องการความสุข
ความสุขซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกข์
จริง ๆ แล้วตังค์ไม่ได้ผิด
ผิดที่ใจไปตีค่าความสุขอยู่ที่ตังค์
ตังค์สามารถบันดาลสุขนอกกาย
เช่น รถ บ้าน มือถือ เสื้อผ้า อื่น ๆ ได้มากมาย
แต่เมื่อใดก็ตามที่สิ่งเหล่านี้หมดลง ความสุขก็จะหมดลงตาม
และต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาครอบครองอีก วันแล้ววันเล่าไม่มีที่สิ้นสุด
ความสุขแบบนี้จึงเป็นสุขที่ต้องหามาเติมเต็มอยู่เสมอ

 

 

ติ๊ง (think)

มีสุขอย่างหนึ่งที่ไม่อาศัยตังค์เลย
เป็นสุขที่เกิดจากภายในใจ
เป็นสุขที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องไปดิ้นรนหรือต้องคอยเต็มเติมตลอดเวลา
(ไม่เช่นนั้น ถ้าหมดแล้วอาจทุกข์ได้)
สุขที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลภายนอก
แค่อาศัยใจเราเอง
ใจที่เลือก "ติ๊ง" (think)
จากนั้นก็เืลือกรัก
เลือกตีค่า
เลือกที่จะเป็น
เลือกที่จะอยู่โดยปราศจากอิทธิพลของตังค์
วิธีสร้างสุขที่ใจมีได้หลายวิธี เช่น การให้ทาน การคิดดี ทำดี
การถือศีล การปฏิบัติธรรม การเจริญสติ
วิธีเหล่านี้ก่อให้เกิดสุขจากภายใน
เพียงแค่คุณติ๊ง (think) ก็เป็นสุขที่ยั่งยืนถาวรอย่างแท้จริง
เมื่อมีสุขที่เกิดจากภายในแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น ตังค์ ติง ตุงนัง ก็ไม่มีอิทธิพลทำให้ใจเราทุกข์ได้
เพียงแค่ใจคุณ ติ๊ง (think) แค่นี้เอง

 

 

..........................................................................................................................................

 

การที่เราอยู่สังคมที่นับถือวัตถุมีคุณค่ามากกว่าจิตใจหรือความดีงาม
เราก็มักจะเลือกลงไปว่ายน้ำแข่ง ไขว่คว้าที่อยากได้มา
เพื่อตอบสนองความอยาก ความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของเรา
จนกระทั่งเราสามารถตีค่าวัตถุเหล่านั้นได้ว่า มีค่ามากกว่าคน

ชีวิตเรามีทางเลือกมิใช่หรือ

เลือกที่จะพอใจกับสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเป็น
สุขที่เิกิดจากใจ จะอยู่ได้นานกว่า สุขที่เกิดจากสิ่งภายนอก

จงปัดเป่ากิเลสของตนให้เบาบางลง
เื่พื่อให้ผงแห่งความอยากมันหายไป

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

 

 

..........................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ...

ปภัสสร กิมสุวรรณวงศ์.  แด่ลมหายใจ...ที่ไม่เคยรู้สึก.  กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, ๒๕๕๖.

 

หมายเลขบันทึก: 547145เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2013 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2013 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยินดีและขอบคุณ คุณแสง แสงแห่งความดี เช่นกันครับ ;)...

ขอบคุณ คุณ Thinking มากๆค่ะ ช่วยบอก ช่วยสอน ให้เข้่ใจ นะคะ

ขอบคุณมากครับ พี่เปิ้น Dr. Ple ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท