การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญหรือผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนสนองความแตกต่าง ระหว่างบุคคลผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ รอบด้านสมดุล มีทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

                หลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

        ในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญมีหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งขอเสนอที่นักวิชาการและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดกระบวนการ ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้เสนอหลักการ ดังนี้

1. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้

2. เป้าหมายเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม

3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต

4. การเรียนรู้ได้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

5. ผู้เรียนเรียนรู้จากการได้คิด ปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ด้วยตนเองได้

6. ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและร่วมมือกันในการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติได้เสนอหลักการดังนี้

1.ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construct) ดังนี้

1.1 แสวงหาข้อมูล

1.2 ศึกษาทำความเข้าใจ

1.3 คิดวิเคราะห์

1.4 ตีความ

1.5 แปลความ

1.6 สร้างความหมายแก่ตนเอง

1.7 สังเคราะห์ข้อมูล

1.8 สรุปข้อความรู้

2. ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด (Participation)

3. ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันและได้เรียนรู้จากกันและกันได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ "กระบวนการ" ควบคู่ไปกับ "ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้" (Process / Product)

5. ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน (Application)

กมล ภู่ประเสริฐ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับหลักการการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1. ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการให้มีการแสวงหาข้อมูลประสบการณ์

2. ศึกษาทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ สร้างความหมายแก่ตนเอง สังเคราะห์ข้อมูล จัด ระเบียบความรู้ จัดโครงสร้างความรู้ สรุปความรู้ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา

3. อารมณ์ จิตใจให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งกับบุคคล สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมด้านสื่อ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมทางสังคมและอารมณ์

4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะ กระบวนการ เช่น ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดทักษะการจัดการ ทักษะการทำงานเป็นทีมฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม      ทางสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ

5. ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง  ที่หลากหลาย

อ้างอิงจาก

        http://www.kroobannok.com/blog/39827

 

 

หมายเลขบันทึก: 547011เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท