สาระที่ 8 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


ทฤษฎีการเรียนรู้

การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา

ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
 ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก

จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้

 

ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
ทฤษฎีทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของ บรุนเนอร์

 

การเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
1. บันดูรา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะ เรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ดังนี้

2. บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ บันดูราได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2.1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ
2.2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ 
2.3 พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ
3. บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ 

การประยุกต์ในด้านการเรียนการสอน
1. ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะทำให้นักเรียนแสดงพฤติกรรม หรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2. ผู้สอนแสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็น คน การ์ตูน ภาพยนตร์ วิดีโอ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3. ผู้สอนให้คำอธิบายควบคู่ไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละครั้ง
4. ชี้แนะขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน เช่น แนะให้นักเรียนสนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ
5.จัดให้นักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบหรือไม่ ถ้านักเรียนทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีการสอนหรืออาจจะแก้ไขที่ตัวผู้เรียนเอง
6.ให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง เพื่อจะให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน

 

สรุป

 แนวคิดเกี่ยวกับการทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ แม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ไม่อาจตัดสินได้ว่าทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มใดจะมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพราะแต่ละทฤษฎีก็มีข้อดีและข้อจำกัดในการนำไปใช้แตกต่างกัน

 ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาว่ากำลังจะสอนอะไร มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างไร แล้วจึงเลือกแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ไปใช้ให้เหมาะสม เช่น การสอนเพื่อให้เกิดทักษะ อาจใช้ทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทั้งในเรื่องการเสริมแรง กฎการเรียนรู้ของธอร์นใดค์ หรือ การวางเงื่อนไขเพื่อปรับพฤติกรรมของผู้เรียน แม้แต่การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปก็ต้องใช้หลักการของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม แต่ถ้าจะสอนวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ การคิดการตัดสินใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แนวทางของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมก็จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อม และเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การหยั่งรู้ และความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และเมื่อเข้าใจแล้วผู้เรียนยังต้องได้รับการฝึกฝนด้วยการทำแบบฝึกหัด เพื่อให้เกิดทักษะ ซึ่งต้องนำหลักการของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้ด้วยนอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงตัวผู้เรียนและ การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน การปฏิบัติต่อผู้เรียนในลักษณะของการชื่นชม ยอมรับ ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการคิด การตัดสินใจ โดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และประคับประคองให้ผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเรียนรู้ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม

หมายเลขบันทึก: 546795เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท