สา
นางสาว สารี สา สุทธิรักษ์

สัมมนา KM


ในการทำนาของเกษตรกรตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการรระบาดของหอยเชอรี่อย่างรุนแรง จนเกษตรกรบางรายต้องเลิกการทำนา แต่ยังมีเกษตรกรส่วนใหญ่พยายามต่อสู้ในการแก้ไขปัญหาการระบาดของหอยเชอรี่ เช่น การใช้เหยื่อพิษ การใช้สารเคมี การใช้สมุนไพร การใช้กากชาที่ใช้เบื่อปลาในบ่อกุ้งเป็นต้น และจากการพูดคุยเล่าประสบการณ์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หมู่ที่ 19 บ้านราษำร์สงวน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง คือ นายชรินทร์ นกทวี ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาคลองน้อย เล่าถึงวิธีการฆ่าหอยเชอรี่ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านราษฎร์สงวน จำนวน 26 คน พื้นที่ทำนา 720 ไร่ ว่าทุกวิธีการข้างต้นดังกล่าวกลุ่มทำนาข้านราษฎร์สงวน ปฏิบัติมาแล้วสามารถแก้ไขปัญหาทำได้ระดับหนึ่ง แต่วิธีที่ดีที่สุดในวันนี้คือการใช้กากชาที่ใช้เบื่อปลาในบ่อกุ้ง นำมาหมักน้ำ (สัดส่วนกากชาต่อน้ำ ประมาณ 5 ต่อ 10 กิโลกรัม) ประมาณ 1 คืน นำน้ำที่ได้จากการหมักไปราดในแปลงนาพื้นที่ 2 ไร่ รวมทั้งหากชาขณะเตรียมดินและคลาดเทือก และเอาน้ำเข้าแปลงสูง 5 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วไขน้ำออก จึงหว่านพันธุ์ข้าว จนข้าวงอก มีอายุประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มไขน้ำเข้าในแปลงนา จะทำให้หอยเชอรี่ในแปลงตายหมด และการทิ้งระยะ 15-20 วัน ในการไขน้ำเข้าแปลงนาจะลดการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนของหอยเชอรี่ที่มากับน้ำหรือตัวแก่ของหอยเชอรี่เข้าแปลงนา แต่เมื่อพ้นระยะ 20 วันไปแล้วต้นข้าวแข็งแรงพอและมีความสูงพอที่จะลดความเสี่ยงของการเข้าทำลายของหอยเชอรี่ได้ เพราะระยะที่อันตรายนที่สุดของการทำลายของหอยเชอรี่คือ ระยะกล้า

              จากการเข้าร่วมสัมมนาองค์ความรู้ฯ  เมื่อวันที่ 30 กันยายน - วันที่ 2 ตุลาคม 2549 ณ องลงกตรีสอร์ท อำเภอขนอม  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริม (คุณอำนวย)  และเจ้าพนักงานธุรการ (คุณลิขิต)  ทำให้สามารถจับประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถใช้ บล๊อคที่ถูกต้อง  จึงขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ แนะนำวิธีการที่ถูกต้อง  เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในการสร้างบล๊อคที่ถูกต้องต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ปากพนัง
หมายเลขบันทึก: 54678เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2006 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท