วิธีการฝึก(สอน) การอ่านวรรณคดี


๑๐. วิธีการฝึก(สอน)อ่านวรรณคดี

 

หลักการ   วรรณคดีเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันล้ำค่าของมนุษย์ ที่สะท้อนเรื่องราว ชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ อารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ในแต่ละยุค ด้วยภาษาที่มีอรรถรสไพเราะบรรจงเลือกสรรมา เพื่อกระทบอารมณ์อย่างประณีต มีอิทธิพลต่อจิตใจอย่างยิ่ง

"...ผู้ใดซาบซึ้งวรรณคดี  ผู้นั้นมีจิตใจและชีวิตที่สุนทรีย์..."

 

ขั้นตอนการฝึก

๑. ครูเลือกสรรวรรณคดีต่างสมัยที่มีรูปแบบ กลวิธีการเขียน การใช้ถ้อยคำภาษา ความไพเราะ เหมาะ งาม ทั้งเสียงของคำ และความหมายของคำทุกรูปแบบ มาให้เด็กได้อ่าน /ได้ยิน

๒. ครูอ่านวรรณคดีให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ควรใช้เทปบันทึกเสียง เพราะเสียงสูงต่ำ สีหน้าอารมณ์ขณะอ่านสำคัญมาก เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เสียงไม่เพราะไม่เป็นไร

๓. ฝึกให้นักเรียนอ่านตามครูทีละวรรค ละบท เพราะการอ่านออกเสียงวรรณคดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

๔. ฝึกให้นักเรียนอ่านออกเสียงวรรณคดีด้วยทำนองน้ำเสียงต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยครูคอยชี้แนะจังหวะน้ำเสียง ทำนอง สีหน้าที่แสดงถึงอารมณ์ แต่ครูไม่ต้องคาดหวังให้ไพเราะ แค่ถูกจังหวะ ถูกทำนองเสียง อักขระชัดเจนก็พอ เพราะสิ่งที่ได้ คือ สนุก ยินดี เพลิดเพลิน และ “เข้าถึง”

๕. อ่านเสร็จ ช่วยกันวิจารณ์ทั้งเนื้อเรื่อง ตัวละคร การใช้ภาษา

 

เทคนิคการฝึก

๑. ใช้หลัก  :  อ่านให้เข้าใจ   ได้ยินเสียงเสนาะ   ฝึกเจาะแนวคิดสำคัญ   หมั่นวิเคราะห์วินิจฉัย   ใส่ใจวิพากษ์วิจารณ์  ประสานกิจกรรม  ทำให้สัมพันธ์เนื้อหา

๒. เลือกวรรณคดีที่ดีที่สุด  มีภาษาไพเราะครบทุกอรรถรส  มาให้นักเรียนได้ยิน ได้อ่านออกเสียงตามฉันทลักษณ์  เช่น พระอภัยมณี สามก๊ก ราชาธิราช  และควรหามาให้ครอบคลุมทุกลักษณะคำประพันธ์

๓. ชี้ให้เห็นถึงรสวรรณคดี ๘ รส ให้ได้   ควรฉายภาพ(วีดิโอ)การแสดงลิเก / โขน / การขับเสภา มาให้นักเรียนได้ชมบ่อยครั้ง

หมายเลขบันทึก: 546639เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท