วิธีการฝึก(สอน) การย่อความ


๗. วิธีการสอนการย่อความ

 

หลักการ   เป็นการเก็บข้อความที่สำคัญแต่ละตอน มาเรียบเรียงใหม่ ให้ได้ใจความเดียวกัน

"..ย่อ  ไม่ใช่  สรุป..."

 

ขั้นตอนการฝึก

๑. ฝึกบอก-เล่าเรื่องโดยย่อจากเรื่องที่อ่านหรือฟัง (เป็นเรื่องอะไร มีใครบ้าง)

๒. ฝึกลำดับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านหรือฟัง

๓. ฝึกแยกแยะประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประโยคขยาย

๔. ฝึกจับใจความที่สำคัญแต่ละตอน หรือแต่ละย่อหน้า

๕. ฝึกย่อความแต่ละย่อหน้าให้เหลือประโยคหลัก ๑ ประโยค

๖. เก็บ ข้อ ๔,๕ มาเรียบเรียงใหม่ให้สอดคล้องกลมกลืน เป็นข้อความเดียวกัน

 

เทคนิคการฝึก

๑. ใช้บุรุษที่ ๓ , ถ้ามีราชาศัพท์ให้คงเดิม , ตัดเครื่องหมายทุกอย่างทิ้ง

๒. ฝึกวางรูปแบบการย่อไว้ในย่อหน้าแรก ย่อหน้าที่สองจึงเป็นเนื้อความของการย่อ

๓. ฝึกนำใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า มาให้เหลือประโยคความเดียว ๑ ประโยค

หมายเลขบันทึก: 546629เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เดี๋ยวนี้วิชาภาษาไทยยังมีสอน ย่อความ อยู่มั๊ยคะ

เห็นเด็กเดี๋ยวนี้เรียนจบมาทำงาน  ย่อความ สรุปความไม่ค่อยเป็นค่ะ

ให้เขียนรายงาน (เรียงความ) ก็ทำไม่ค่อยได้ค่ะ

ยังมีอยู่ครับ  แต่ครูส่วนใหญ่ไม่ค่อยเอาใจใส่ในการ "ฝึก" ครับ   มัวแต่อธิบายตามหนังสือแบบเรียน

มีวิธีย่อความแบบใจง่ายๆอีกไมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท