วิธีการฝึก(สอน) การสรุปความ


๖. วิธีการสอนการสรุปความ

 

หลักการ    เป็นการนำเนื้อหาที่เกิดจากการตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร มาเรียบเรียงใหม่ต่อเนื่องให้สละสลวย ชัดเจน กระชับ ย้ำความสำคัญ

"....สรุป ไม่ใช่ ย่อ ...."

ขั้นตอนการฝึก

๑. ฝึกบอก-เล่าเรื่องโดยย่อจากเรื่องที่อ่านหรือฟัง (เป็นเรื่องอะไร มีใครบ้าง)

๒. ฝึกลำดับเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านหรือฟัง

๓. ฝึกแยกแยะประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประโยคขยาย

๔. ฝึกจับใจความที่สำคัญ

๕. ฝึกสรุปความ

 

เทคนิคการฝึก

๑. ฝึกใช้วิธีการสรุปด้วยแผนภาพโครงเรื่อง

๒. ฝึกขยายประโยคจากประโยคความเดียว เป็นประโยคความรวม ความซ้อน ออกไปเรื่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 546627เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์คะ  ดิฉันขอความรู้ค่ะ

ดิฉันพยายามแยก "สรุปความ" กับ "ย่อความ"

แต่ทำไม่สำเร็จค่ะ  กรุณาชี้แนะด้วยค่ะ

ดูคำอธิบายที่หลักการครับ    

 

ย่อ แค่เอาใจความสำคัญแต่ละ "ย่อหน้า" มาเรียบเรียงใหม่    

 

ส่วนสรุป คือ "จับใจความสำคัญ" ของเรื่องหรือบทความทั้งหมดมาเขียนเรียบเรียงใหม่ให้ได้ความว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

 

หัวใจทั้งย่อ และสรุป คือจับใจความสำคัญ  

 

ต่างกันที่ ย่อ เอาใจความสำคัยแต่ละย่อหน้ามา    ส่วนสรุป เอาใจความทั้งหมดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท