หลักการ ขั้นตอน เทคนิค เคล็บลับ การสอนสะกดคำ ๓


๑.๗ วิธีฝึก(สอน)สะกดคำที่สระเปลี่ยนรูปและลดรูป

หลักการ มีสระบางสระ เมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูปคำ เช่น

๑. สระโอะ มีตัวสะกดจะลดรูป เช่น ลด (ลอ – โอะ – ดอ - ลด)

๒. สระอะ มีตัวสะกดจะเปลี่ยนเป็น ไม้หันอากาศ เช่น วัน

๓. สระเอะ มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูปโดยใช้ไม้ไต่คู้ เช่น เป็ด

๔. สระเออ มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป เช่น เดิน (ดอ – เออ – นอ - เดิน)

๕. สระแอะ มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป เช่น แข็ง

๖. สระอัว มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป เช่น ลวด (ลอ – อัว – ดอ - ลวด)

เคล็บลับ  การสอนสะกดคำชนิดนี้ ครูต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำ จนเข้าใจว่าใช้สระใดเป็นสระประสมคำ จะทำให้รู้ความหมายและรูปของคำ

 

..................................


๑.๘ วิธีฝึก(สอน)สะกดคำที่มีตัวการันต์เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น

- ควรอ่านเป็นคำ แล้วสังเกตรูปคำ

- ให้หลักว่าถ้ามีคำที่มีตัวการันต์จะไม่ออกเสียง

..................................


๑.๙ วิธีการฝึก(สอน)การผันเสียงวรรณยุกต์

หลักการ  เป็นการอ่านคำ โดยแจกแจงเสียงของคำไปตามลำดับเสียง โดยมีเครื่องหมายเสียง (วรรณยุกต์) กำกับ ทำให้รูปของคำ เสียงของคำ และความหมายของคำเปลี่ยนไป

ขั้นตอนการฝึก

๑. สร้างความตระหนัก เห็นความสำคัญของวรรณยุกต์

๒. อธิบายรูปวรรณยุกต์ และเสียงวรรณยุกต์ควบคู่กับการผันเสียง

๓. ฝึกผันเสียงวรรณยุกต์อักษรกลาง แล้วต่ออักษรสูง อักษรต่ำตามลำดับ

๔. ฝึกผันเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นสระเสียงยาว เสียงสั้น

๕. ฝึกสังเกตคำบนรูปคำที่รูปวรรณยุกต์และเสียงไม่ตรงกันจากกลุ่มคำ หรือตารางผันเสียง

๖. ฝึกผันเสียงวรรณยุกต์ของคำเป็น คำตาย ที่มีเสียงสระสั้น ยาวต่างกัน จากตารางการผันเสียงวรรณยุกต์

เทคนิคการฝึก

สอนเรื่องไตรยางศ์ โดยวิธีจำกลุ่มคำ /ทำตาราง หรือให้เด็กคิดวิธีจำเอาเอง

......................................


๑.๑๐ วิธีฝึก(สอน)คำที่มีตัวสะกดต่างกัน และมีการผันเสียงวรรณยุกต์

หลักการ

พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ ทำให้เสียงของคำแตกต่างกัน ตามตัวพยัญชนะที่นำมาประกอบ

ขั้นตอนการฝึก

๑. ฝึกให้เห็นความแตกต่างของคำที่มีตัวสะกดต่างกัน เพราะที่มาของคำ ความหมายของคำ และการผันเสียงวรรณยุกต์

๒. ฝึกเขียนคำอ่านของคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จะทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่องมาตราตัวสะกดมากขึ้น

๓. ฝึกนักเรียนรวบรวมคำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน

๔. ฝึกนักเรียนเขียนคำ ตามที่ครูอ่าน

๕. ฝึกรวบรวมคำศัพท์ที่มีคำเขียนต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน

๗. ฝึกรวบรวมคำพ้อง

เทคนิคการฝึก ใช้ค้นหาคำจากเพลง, เติมคำสำนวนไทย, สร้างคำใหม่

......................................

หมายเลขบันทึก: 546613เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท