94. ความพร้อมในการประชุมกับชาวต่างชาติ?????


คนไทยพร้อมไหม?

ประเทศไทยคุ้นเคยกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากมาย
แม้ว่าเราอาจใช้เวลาเตรียมการราวๆ สองปีเศษ ก่อนหน้าการจัดประชุมก็ตาม แต่ใครๆ
ก็อยากมาร่วมประชุมในประเทศไทยเพราะนอกจากสะดวกในเรื่องสถานที่จัดการประชุม ที่พักแล้ว ราคาก็สมเหตุสมผล อีกทั้งมีแหล่งชอปปิ้ง และสถานที่เที่ยวมากมายที่จะให้เรียนรู้ได้ภายหลังการประชุม นอกจากนี้ ผู้เข้าประชุมจะได้รับเนื้อหาสาระ รวมถึงเครือข่ายจากการประชุมด้วย

 

การจัดประชุมในระดับประเทศที่เรียกว่า“มหกรรม” โดยมีชาวต่างชาติมาร่วม เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯโดยอาจสลับเป็นรายปีเพราะมีโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างกันนั้น ปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นประธานในปีนี้ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือผู้ปาฐกถาฝ่ายไทยไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษเลย ไม่มีแปลล่าม หรือหูฟังทั้งๆ ที่ห้องประชุมหรูหรา อลังการมาก เราไปเน้นแต่รูปแบบพิธีกรรมมากกว่าสาระของการประชุม ทุกคนที่พบกันต่างบ่นผิดหวังว่าเราไม่ได้ฟังนโยบายหรือวิสัยทัศน์ในเรื่องการวิจัยหรืออะไรที่จะขยายเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยกับต่างประเทศในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเลยคนมากันแต่เช้า แน่นห้องประชุมแต่มาฟังประธานกล่าวเปิดไม่ถึง 5 นาที นอกนั้นเป็นพิธีกรรมถ่ายรูป และชมนิทรรศการ

 

นักวิชาการระดับอาวุโสของอินเดีย เดินทางมา 24 คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตอินเดียที่มาร่วมงานท่านก็ฟังไม่รู้เรื่องว่าทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นเขาพูดอะไรกัน ในช่วงเย็นมี dinner talk เพื่อเปิดงานสัมมนาร่วมไทย-อินเดีย ก็เป็นแนวเดียวกับช่วงเช้าคือภาษาไทยล้วน ยกเว้นท่านเอกอัครราชทูตอินเดียท่านเดียวที่บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ผู้เขียนคิดว่าคนที่มาร่วมงานในระดับนี้แล้วไม่มีใครฟังภาษาอังกฤษไม่ออกดังนั้นยิ่งเป็น session พิเศษเช่นนี้ผู้บรรยายทุกท่านควรใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ หรือมิฉะนั้นต้องมีล่ามแปลเพื่อให้สมศักดิ์ศรีงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ
เป็นการประกาศความพร้อมของผู้นำการวิจัยไทยไปสู่อาเซียนและนานาชาติ
และให้ผู้ฟังชาวอินเดียที่เป็นแขกของงานเข้าใจในสิ่งที่ที่ประชุมกำลังพูดกัน
มิฉะนั้นแล้วเหมือนแยกเขาออกไม่ต้องการให้เขารับรู้รายละเอียดในสิ่งที่ฝ่ายไทยพูดแทนที่จะได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็ไม่มี

 

ถ้าผู้นำทำให้เห็นเป็นตัวอย่างจะสร้างความประทับใจ และเป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆ
พยายามที่จะพัฒนาทำให้ได้ตามท่านด้วย!!!!!!!!

 

--------------------

 

บอกกล่าว เล่าแจ้ง

 

หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา เอกอินเดียศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
มหาวิทยาลัยมหิดลกำลังเปิดรับสมัครรอบที่ 1

ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม -15 ธันวาคม 2556

ทาง internet กรุณาเข้าไปศึกษารายละเอียดที่

www.grad.mahidol.ac.th/grad/admission/schedule_th.php

โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3123/3108

นักศึกษาอาจได้รับทุนการศึกษาไปออกภาคสนามที่อินเดีย หรือไปทัศนศึกษาที่อินเดียด้วย

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 546595เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท