นายฮูโต๋
สิทธิชัย สิทธิชัย สุขสมกลิ่น

มาตรฐานของนักเรียนไทย ฝากไว้ที่ O-NET ได้หรือไม่ ตอนที่ ๑


 ทุกวันนี้ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีการกำหนดมาตรฐานของนักเรียนไทย โดยมีการกำหนดมาตรฐานเดียวกันที่ใช้วัด นักเรียนทั่วประเทศ นั้นคือ O-NET โดยการนักเรียนในชั้นสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น มาทดสอบด้วยข้อสอบที่ ออกโดย สำนักงานทดสอบมาตรฐานการศึกษาของรัฐ เป็นศูยน์การในการทดสอบ มาตรฐานการศึกษา ของนักเรียนไทยตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ ที่ได้จากการทดสอบและนำมาประเมินตามเกฑณ์การประเมินที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ของการศึกษาไทย ซึ่งเป็นการกำหนดที่เป็นมาตรฐานที่ดี ส่วนหนึ่ง แต่ทว่าความจริงยังมีอีกอย่างหนึ่งที่ ยังเห็นน้อยมากนั้นคือ ทักษะชีวิติ กล่าวคือ นักเรียนของเรารู้ทุกเรื่อง ใน 8 กลุ่มสาระ เช่น หาพื้นที่ได้ แก้สมการเป็น เก่งกลอน เป็นในเรื่องธาตุ ฉลาดในการสนทนาต่างชาติ สามารถในความเป็นสังคม นิยมในกีฬา ก้าวหน้าในเทคโนโลยี สุนทรีย์ใน ดนตรีและงานศิลป์ นี้คือความรู้ความสามารถในกลุ่มสาระต่างๆ แต่เรายังนึกไม่ถึงว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลยังมีอยู่ บางคนเก่งในหนังสือ (แนวคิดและทฤษฎี) และบางคนมีความสามารถในเรื่องการลงมือทำ แต่สำนักงานทดสอบมาตรฐานการศึกษา กลับนำแบบสอบที่เหมือนกันมาทดสอบกับนักเรียนทั่วประเทศ ลองคิดเอาและกันว่าอะไรมันจะเกิด

หมายเลขบันทึก: 546459เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...บางประเทศจะมีแบบทดสอบวัดทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนที่จะไม่ประสงค์เรียนต่อในสายสามัญนะคะ...

เท่าที่ทราบ ข้อสอบที่ใช้ออกใหม่ทุกปี เปลี่ยนคนเขียนข้อสอบทุกปี มาตรฐานจึงเปลี่ยนไปทุกปี ไม่รู้ว่าวัดอะไรแน่ และมีข่าวฮาทุกปีเกี่ยวกับข้อสอบ ข้อสอบผิด เฉลยผิด ข้อสอบประหลาดต้องเดาใจคนเฉลยว่าข้อไหนถูก ฯลฯ จึงบอกอะไรไม่ได้มาก เอาแค่เรียงลำดับคะแนน ใครได้มากกว่าก็ถือเอาว่าเก่งกว่าแม้จะต่างกันแค่ 1 คะแนน

ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่สร้างข้อสอบมาตรฐานซะทีประเทศนี้ มีคนที่มีความรู้ มีเงิน(ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากเด็กและงบประมาณแผ่นดิน) มีความคิดที่จะทำ เดาว่าคงประชุมมากไปจนหมดเวลาทำก็ถึงฤดูกาลสอบอีกแล้ว... 

ไม่เหมือนต่างประเทศที่ใช้ standardized tests ซึ่งเป็นข้อสอบที่ผ่านกระบวนการสร้างตามหลักทฤษฏีในศาสตร์ด้าน Testing and psychometric measurement (สาขานี้เรียนไม่ง่าย) เริ่มตั้งแต่การกำหนดนิยามของสิ่งที่จะวัด เขียนข้อสอบ ทดลองใช้  หาค่ามาตรฐานต่าง ๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบและสรุปความสามารถของแต่ละคนได้อย่าง valid (ถูกต้องสมเหตุสมผล) และ

reliable (เชื่อมั่นได้)  ตัวอย่างเช่น SAT TOEFL  IELT ฯลฯ  ซึ่งแต่ละ test มีข้อสอบหลายฟอร์มที่เทียบเท่ากัน เลือกเอามาใช้ไม่ซ้ำกันแต่ละครั้งที่จัดสอบ นอกจากนี้ยังมีข้อสอบมาตรฐานวัดความสามารถหลายอย่าง เช่น ความสามารถทางวิชาการ ความสามารถทางดนตรี ทักษะอาชีพ ฯลฯ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท