การประเมินผลการเรียนรู้


การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการสอน และเป็นส่วนสำคัญที่ผู้สอนที่ดีจะแสวงหาแนวทางให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ และเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนจะต้องรู้ความสามารถของผู้เรียน ความสนใจของผู้เรียน และข้อบกพร่องของผู้เรียน โดยอาศัยกระบวนการของการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา จึงทำให้การวัดผลและประเมินผลการเรียนสอน จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในระดับใดหรือวิชาใดก็ตาม การวัดผลและประเมินผลจะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในระดับนั้นหรือในวิชานั้น เพราะผลจากการวัดและประเมิน เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของครูผู้สอนและนักการศึกษา เพื่อใช้ในการปรับปรุงวิธีการสอนการแนะแนว การประเมินผลหลักสูตร แบบเรียน การใช้อุปกรณ์การสอน ตลอดจนการจัดระบบบริหารทั่วไปของโรงเรียน และนอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงการเรียนของผู้เรียนให้เรียนได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น ผู้เรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนมีผลการเรียนอ่อนจะแสดงถึงความสามารถในการเรียนของผู้เรียน และแสดงถึงผล
การสอนของครูผู้สอนด้วย ครูผู้สอนจะต้องนำผลการเรียนที่ไม่ดีของผู้เรียนนั้นกลับมาช่วยปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสม และถ้าผู้เรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนมีผลการเรียนอ่อน ฝ่ายแนะแนวในโรงเรียนจะต้องช่วยแนะแนวให้ผู้เรียนได้เรียน ในโปรแกรมหรือสายวิชาที่เหมาะกับความสามารถของเขา และทางฝ่ายบริหารโรงเรียน จะต้องกลับมาพิจารณาดูระบบการบริหารการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา เป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงปริมาณ หรือคุณภาพของคุณลักษณะที่วัดได้ เพื่อจะได้นำผลของการวัดมาเป็นข้อมูลในการประเมินผลได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการวัดผลทางการศึกษาจะมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้ (เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ 2521 : 21)
1.วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ในการวัดผลแต่ละครั้งถ้าผลของการวัดไม่ตรงกับคุณลักษณะที่เราต้องการจะวัดแล้ว ผลของการวัดจะไม่มีความหมาย และเกิดความผิดพลาด
2. ใช้เครื่องดีมีคุณภาพ ผลของการวัดจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ ถ้าหากเครื่องที่ใช้วัดมีคุณภาพไม่ดีพอแล้ว การวัดนั้นก็ให้ผลที่ไม่เกิดคุณค่าใดๆ
3. มีความยุติธรรม การวัดผลการศึกษาซึ่งจัดได้ว่าเป็นการการวัดตัวแปรทางด้านจิตวิทยาหรือทางสังคมศาสตร์นั้น จะได้ผลดีต้องมีความยุติธรรมในการวัด สิ่งที่ถูกวัดจะต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นไปเหมือน ๆ กัน ไม่มีการลำเอียง
4. แปลผลได้ถูกต้อง การวัดผลทุกครั้งผลที่ได้ออกมาย่อมเป็นตัวแทนของจำนวนหรือระดับของคุณลักษณะที่ต้องการจะวัดนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผลของการวัดมักออกมาในรูปของคะแนนหรืออันดับที่ แล้วจึงนำผลนั้นไปอภิปรายหรือเปรียบเทียบกัน จึงจะทำให้ผลการวัดนั้นมีความหมาย
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า การวัดที่นอกจากจะเป็นการตรวจสอบว่าสิ่งที่วัดมีคุณภาพ เช่นไรแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะนำผลที่ได้จากการวัดไปเป็นเเนวทางในการปฎิบัติและปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษาให้ดีขึ้นด้วย

ดังนั้นในการสอบหรือการทดสอบนักเรียน เพื่อประเมินผลว่านักเรียนได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมากน้อยเพียงใด มีจุดเด่นจุดด้อยประการใดควรต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง ครูจึงต้องมีทักษะและความรู้ความสามารถ ในเรื่องต่อไปนี้ (ยรรยง ยรรยงเมธ 2540 : 15)
1. มีความรู้-ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี
2. มีความรู้-ความเข้าใจในตัวนักเรียนที่ได้รับการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี
3. มีทักษะในการใช้ภาษา
4. มีความรู้และความคุ้นเคยในเครื่องมือวัดและประเมินผล

อ้างอิงมาจาก
การวัดผลและการประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 56. จาก http://www.ipesp.ac.th/learning/websatiti/chapter1/unit1.html

หมายเลขบันทึก: 546256เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท