สังวาลย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังวาลย์ ตุกพิมาย

ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการใช้บริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง อ้างอิงตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 5 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,602 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ บริการยืม-คืน หนังสือและวัสดุการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( =3.79) อ่านหนังสือประกอบรายวิชาที่เรียน/เตรียมการสอบ ( =3.69) และใช้บริการ Interne ( =3.59) ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน ด้านความพึงพอใจทรัพยากรสารสนเทศภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ( = 3.45) ด้านความพึงพอใจในบริการอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์พิมพ์งานในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ( = 2.77) และนักศึกษามีมุมมองต่อการบริการของผู้ให้บริการในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พาท่านไปที่ชั้นหนังสือที่หาหนังสือ ( = 3.45) ให้คำตอบที่ถูกต้อง ( = 3.29) และติดต่อได้ง่ายและยินดีต้อนรับ ( = 3.55) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง


คำสำคัญ การใช้สารสนเทศ ความพึงพอใจ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

 

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to study information literacy level of undergraduate students in Surindra Rajabhat University 2) to acknowledge the proposal of information literacy of undergraduate students in Surindra Rajabhat University
The samples of this study were 1,602 undergraduate students in surindra Rajabhat University who enrolled in the first semester of academic year 2012. These samples were drawn through a stratified random sampling procedure. The test had reliability coefficient of 0.87. The statistics tools that used to analyse this research were standard deviation, percentage and mean.
The results of this research showed that The over all of undergraduate students had information literacy at medium level 51.65 percents that could be analysed as the students who had the highest information literacy of information evaluation field at medium level 58.80 percents and the determine of type and scope information field at medium level 51.37 percents. The information acknowledgment proposal is to cultivate the information using in code of conduct and legal. Moreover the information literacy should be integrated taught with other subjects.

Keywords: Information literacy, Undergraduate students, Surindra Rajabhat University

 

หมายเลขบันทึก: 546245เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท