ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


 

ทฤษฎีการเรียนรู้(Learning Theory) 
มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง คือ

1.       พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

2.        ปัญญานิยม (Cognitivism)

3.        การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)


พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
พฤติกรรมนิยมมองผู้เรียนเหมือนกับ กระดานชนวนที่ว่างเปล่าผู้สอนเตรียม ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เรียน อาจ กระทำซ้ำจนกลายเป็นพฤติกรรม ผู้เรียนทำในสิ่งที่พวกเขาได้รับฟังและจะไม่ทำการคิดริเริ่มหา หนทางด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่ง ต่างๆ ให้ดีขึ้น 

ปัญญานิยม (Cognitivism)
ปัญญานิยมอยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อน แสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต สิ่งเหล่านั้น มันก็เป็นเพียงแต่การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียน เท่านั้น ทักษะใหม่ๆ ที่จะทำ การสะท้อนส่งออกมา กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา 

การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญาอยู่บนฐานของ การอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้นแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของ เราด้วยตัวของเราเอง และอยู่บนฐานประสบการณ์ของแต่ละบุคคล องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมี ความแตกต่างกันไปในแต่ละคน

ทั้งสามทฤษฏีต่างมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เมื่อได้การตัดสินใจที่จะใช้ยุทธศาสตร์นี้ มีสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดของชีวิตที่ต้องพิจารณาทั้งสองระดับ คือ ระดับองค์ความรู้ของนักเรียนของท่าน และระดับการประมวลผลทางสติปัญญาที่ ต้องการในผลงานหรือภาระงานแห่งการเรียนรู้ ระดับการประมวลผลทางสติปัญญาที่ ต้องการสร้างผลงาน/ภาระงาน และระดับความชำนิชำนาญของนักเรียนของเรานี้ การมองหาภาพทางทฤษฎี จะมีความเป็นไปได้ที่สนับสนุนการมีความ พยายามที่จะเรียนรู้ทางยุทธวิธีบางทีก็มีความซับซ้อนและมีความเลื่อมล้ำกันอยู่บ้าง และก็มีความจำเป็นเหมือนๆ กัน ในการวบรวมยุทธวิธีต่าง ๆ จากความแตกต่างที่เป็นจริง ทางทฤษฎี เมื่อเรามีความต้องการ


ที่มา : ไตรรงค์ เจนการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สพฐ

ทฤษฏีการเรียนรู้นั้นมีอยู่หลายคนที่เขียนไว้ ทั้ง กาเย่  ทั้ง ไทเลอร์ แต่วันนี้ผมขอยกตัวอย่างของ บูลม มาครับ เพราะว่า ผมคิดว่าดูง่ายและเข้าใจดี

 

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)

 

 

 จากการดูแผนภูมิต้องดูจากข้างล้างสุดไล่จนถึง บนสุดครับ

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ  แบ่งได้ตามนี้ครับ

1.       ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด

2.        ความเข้าใจ (Comprehension)

3.        การประยุกต์ (Application)

4.        การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้

5.        การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่

6.        การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด    

 

           ดังนั้นทฤษฎีการเรียนรู้จึง มีความสัมพันธ์ในการสอน เพราะว่าการที่จะสอนให้มนุษย์เข้าใจในเรื่องต่างๆ ผู้สอนจะต้องเข้าใจในกฏของธรรมชาติว่ามนุษย์ว่ามีการเรียนรู้อย่างไร ถ้าสามรถทำได้ถูกวิธีก็จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจในการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อ้างอิง

ไตรรงค์ เจนการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสพฐ 

 http://teacher80std.blogspot.com/2012/06/101-learning-ecology.html

http://l-theory-g6.blogspot.com/

 

หมายเลขบันทึก: 545973เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท