การปรับตัวท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย


 

  การอยู่ท่ามกลางกลุ่มชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้คนเราต้องเผชิญกับความเครียด การเอาชนะความรู้สึกที่สับสนในการข้ามวัฒนธรรมจะนำมาซึ่งความสุขในการดำรงชีวิต  เหตุการณ์เหล่านี้ทุกท่านมีโอกาสเจอะเจอได้นับตั้งแต่การไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ การไปอบรม การไปทำงานในต่างแดน จนถึงการไปตั้งถิ่นฐานกับครอบครัว การอยู่อาศัยในต่างประเทศอาจเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ อิ่มเอมใจ น่าทึ่ง ความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดกับทุกคนที่เดินทางเข้าไปถึงใหม่ๆ หลังจากนั้นมันจะค่อยๆ ลดลง เมื่อความรู้สึกเชิงบวกลดลงคนเราจะเริ่มมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วนำมาเปรียบเทียบระหว่างความเป็นอยู่ที่เก่ากับที่ใหม่ อาหารการกินที่บ้านเรากับที่ใหม่ การเดินทาง ความสะดวกสบาย รวมทั้งวัฒนธรรมของเรากับวัฒนธรรมในที่ใหม่ ทำการเปรียบเทียบก็เพื่อที่จะค่อยๆเรียนรู้การปรับตัว การปรับตัของเราจากวัฒนธรรมเดิมสู่รูปแบบวัฒนธรรมใหม่เป็นสิ่งท้าทาย โดยเฉพาะในเรื่องที่เรามองดูวัฒนธรรมของเขาหรือวัฒนธรรมใหม่จากมุมมองวัฒนธรรมดั้งเดิมของเรา เราอาจมองเห็นว่าวัฒนธรรมใหม่ของพวกเขาไม่ดี ไม่ลงตัว ไม่เจริญ สิ่งที่เกิดขึ้นหรือความสับสนนี้ถือได้ว่าเป็นการรับรู้ความรู้สึกที่สับสนต่อวัฒนธรรมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ในระยะเวลาของการปรับตัวบางคนอาจรับไม่ได้ หงุดหงิด ผิดหวัง แต่ถ้าเราเอาชนะความรู้สึกเหล่านี้ได้ความรู้สึกสับสนทางวัฒนธรรมก็จะผ่านพ้นไป   วิธีการที่ดีที่สุดในการก้าวข้ามช่วงเปลี่ยนผ่านก็คือ การทำตัวเองให้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมใหม่ เอาใจใส่ รับรู้ เสาะแสงหาเพื่อนใหม่สิ่งใหม่ หาแหล่งข้อมูลเพื่อความอยู่รอดของชีวิต พร้อมกับสังเกตุหาสิ่งที่ชอบสิ่งที่ดีของวัฒนธรรมใหม่ และหันมาทำสิ่งที่คุ้นเคย บางครั้งต้องปิดหู ปิดตา ไม่ลิ้มรสสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม 

   การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่นในกลุ่มของคนจีนที่อพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเขาจะไปรวมตัวกัน อาศัยอยู่ในที่เดียวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ทำมาหากิน ใช้ชีวิต ในกลุ่มคนพวกนี้จะมีบางพวกที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจะคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิมองตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย ภาษา พวกนี้ถือเป็นการปรับตัวแบบ Ethnocentricism แต่ก็จะมีคนบางส่วนที่สามารถปรับตัวเข้ากับบริบท สิ่งแวดล้มที่เปลี่ยนไป สามารถเรียนรู้จนเกิดการยอมรับวัฒนธรรมใหม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีติดตัวมาก็ยังคงอยู่สามารถแสดงออกมาได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ถือเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมคุณลักษณะดังกล่าวเป็นการปรับตัวในรูปแบบที่เรียกว่า Acculturation หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ยอมรับสิ่งใหม่ แต่ยังคงรากเหง้าเดิม". ส่วนกลุ่มคนอีกประเภทหนึ่งก็คือพวกที่ปรับตัวแล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใหม่ไม่คงเหลือซึ่งของเดิม เป็นการผสานกลืนทางวัฒนธรรม จะเหิดขึ้นสมบูรณ์แบบเมื่อไม่สามารถทำการแยกคนออกจากกลุ่มได้ เรียกรูปแบบนี้ว่า Assimilation จะพบในกลุ่มของรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบรมสั่งสอน การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นสำคัญ

   ในขณะเดียวกันประชาคมอาเซียนใกล้เข้ามาทุกที ปม้ว่าพวกเราจะอยู่ในเมืองไทย อยู่กับที่ไม่ย้ายถิ่นไปไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าจะมีผู้คนหลากหลายเข้ามาหาเรา การเข้ามาเขาจะนำพาวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้ามาด้วยทางหนึ่ง เราในฐานะคนในสังคมไทยมีผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นจำนวนมาก การรับค่านิยม การติดกระแสเลียนแบบมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไป คนในสังคมไทย วัฒนธรรมไทยก็จะถูกกระทบไปด้วยอีกทางหนึ่ง

  แล้วในมุมมองของท่านหละ การปรับตัวในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อการก้าวข้ามสำหรับการดำรงชีวิตที่มีความสุขในสังคมท่านมีความคิดเห็นอย่างไร  เราจะอยู่อย่างไร สอนลูกหลายอย่างไร การจัดการเรียนการสอนช่วยอะไรได้บ้างไหม สิ่งเหล่านี้ใกล้ตัวมาทุกทีช่วยกันหาคำตอบให้ได้เพื่อสังคมไทยในอนาคต

   

หมายเลขบันทึก: 545920เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท