วิกฤตการณ์อียิปต์ : ข้อคิดจากข่าว


 

ภาพจาก 

I am crying about you Egyptians, my global friends.

คณะมนตรีความมั่นคงฯเริ่มหารือวิกฤตการณ์ในอียิปต

้http:/site/content?id=520d88d8150ba0093e00009f#.Ug28kdJgc8o 

By Digital Media | 16 ส.ค. 2556 09:05 | 43 views | View Comment

สหประชาชาติ 16 ส.ค. – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเริ่มเปิดการหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในอียิปต์แล้ว หนึ่งวันหลังกองกำลังรักษาความมั่นคงเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 600 คน

ด้านประธานคณะมนตรีความมั่นคงชาวอาร์เจนตินาได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในอียิปต์อดทนอดกลั้น และว่า สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ เสียใจที่เกิดการสูญเสียชีวิตในกรุงไคโร และเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงและเดินหน้าไปสู่การปรองดองระหว่างกัน

คณะมนตรีความมั่นคงฯ เปิดการประชุมหลังได้รับการขอร้องจากทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้านนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์การปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงในอียิปต์แล้ว และนางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการสอบสวน

ด้านตุรกีเรียกตัวทูตประจำอียิปต์เดินทางกลับประเทศเพื่อหารือสถานการณ์ล่าสุด  ขณะที่อียิปต์ก็เรียกทูตประจำตุรกีเดินทางกลับประเทศเพื่อหารือเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

 

จาก http://news.voicetv.co.th/global/78906.html

โอบามา 'เหยียบเรือสองแคม' วิกฤตอียิปต์

รัฐบาลโอบามาพยายามเอาใจทั้งฝ่ายกองทัพและฝ่ายประชาธิปไตย แต่ท่าทีเช่นนี้ทำให้สหรัฐสูญเสียอิทธิพลที่จะผลักดันการเมืองในอียิปต์ และทำให้อเมริกาถูกเมินจากทั้งสองฝ่าย 

เมื่อวันพฤหัสบดี ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ได้ประกาศยกเลิกการซ้อมรบร่วมกับอียิปต์ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อกรณีกองทัพอียิปต์ปราบปรามผู้สนับสนุนประธานาธิบดีที่ถูกขับ โมฮัมเหม็ด มอร์ซี แม้กระนั้น ทำเนียบขาวยังคงนโยบายความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศนี้ต่อไป

นักวิจารณ์บอกว่า โอบามาดำเนินนโยบายต่ออียิปต์แบบน้อยเกินไปและสายเกินการณ์ ส่งสัญญาณไปยังอียิปต์อย่างพร่ามัว เหตุก็เพราะอเมริกากลัวว่า ถ้าเล่นแรง ตัวเองจะสูญเสียผลประโยชน์

นับแต่กองทัพเข้าโค่นอำนาจประธานาธิบดีคนแรกของอียิปต์ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม  ผู้นำสหรัฐได้เดินเกมในสไตล์ 'บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น' ทำเนียบขาวเพียงแต่พูดว่า อยากเห็นประชาธิปไตยกลับคืนสู่อียิปต์โดยเร็ว แต่ก็ไม่ได้ประณามการรัฐประหาร ไม่ได้เรียกร้องให้คืนตำแหน่งแก่มอร์ซี

@  ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ประกาศเมื่อ 15 สิงหาคม ระงับการฝึกร่วม ไบรท์สตาร์ เพื่อประท้วงที่กองทัพอียิปต์ปราบปรามผู้ประท้วง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 623 คน

 

เหตุที่อเมริกาแค่ตีฝีปากสนับสนุนประชาธิปไตยในอียิปต์ แต่ไม่กดดันพวกนายพลของกองทัพนั้น เป็นเพราะความมีเสถียรภาพของอียิปต์เป็นผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐเอง

ถ้าผู้กุมอำนาจในอียิปต์เกิดไม่พอใจอเมริกา ฉีกสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล รัฐยิวซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐก็จะเดือดร้อน หรือถ้าอียิปต์ไม่ยอมให้สหรัฐเดินเรือผ่านคลองสุเอซ อเมริกาก็ลำเลียงทรัพยากรและสินค้าเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าทั่วโลกไม่ได้

อดีตนายทหารระดับสูงของสหรัฐผู้หนึ่ง บอกว่า อันที่จริง การซ้อมรบร่วม ไบรท์สตาร์ ที่จัดขึ้นปีเว้นปีกับอียิปต์นั้น หมดความสำคัญสำหรับเพนตากอนไปตั้งนานแล้ว เพราะเน้นการรบด้วยรถถัง ขณะที่อเมริกาสนใจเรื่องการปราบปรามการก่อการร้ายมากกว่า

อดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐคนหนึ่ง เสริมว่า การระงับการฝึก Bright Star ดังกล่าว ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ทางทหารกับอียิปต์ เพราะอียิปต์ให้น้ำหนักกับความช่วยเหลือจากสหรัฐปีละ 15,500 ล้านดอลลาร์มากกว่า ซึ่งในจำนวนนี้เป็นความช่วยเหลือทางทหารถึง 13,000 ล้านดอลลาร์

บรรดาอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลอเมริกันพูดตรงกันว่า แม้แต่ความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือต่อรองที่ได้ผลนัก พวกนายพลอียิปต์ให้ค่ากับเรื่องการปราบพวกอิสลามิสต์ในประเทศให้อยู่หมัดเป็นอันดับแรก ถ้าปราบไม่อยู่ กองทัพจะสูญเสียอำนาจ ไม่สามารถควบคุมประเทศได้

@  สตรีผู้หนึ่งเข้าขวางรถไถปราบดิน ขณะชายวัยรุ่นนอนบาดเจ็บอยู่กับพื้น ระหว่างการสลายการชุมนุมที่มัสยิดรอบาอ์ อัลอาดาวียะห์ ทางตะวันออกของกรุงไคโร เมื่อวันพุธ

 

นอกจากนี้ กองทัพอียิปต์ยังได้ท่อน้ำเลี้ยงจากบรรดาชาติอาหรับในย่านอ่าวเปอร์เซียด้วย อาทิ ซาอุดีอาระเบีย, คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  ซึ่งให้คำมั่นที่จะให้เงินสนับสนุนรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังของอียิปต์จำนวน 12,000 ล้านดอลลาร์

ที่ผ่านมา รัฐอาหรับเหล่านี้ให้เงินแก่อียิปต์ มากกว่าที่สหรัฐให้ มากมายทีเดียว เมื่อไม่ต้องพึ่งพาแต่เงินอเมริกัน ยังมีแหล่งทุนอื่นให้อิงอาศัย อเมริกาย่อมไม่สามารถบงการความเป็นไปในอียิปต์ได้ 

อดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐคนเดิม บอกว่า การที่โอบามาพยายามไม่เลือกข้าง กลับทำให้สหรัฐหมดราคาในสายตาของทั้งสองฝ่าย

"กองทัพอียิปต์ไม่ชอบเรา เพราะเราพูดเรื่องประชาธิปไตย พวกภราดรภาพมุสลิมก็ไม่ชอบเรา เพราะเราห่วงผลประโยชน์ของตัวเอง" เขากล่าว.

 

ข้อคิดจากข่าว

- เมื่อประชาชนแบ่งเป็นสองฝ่ายตีกัน  เมื่อมีเหตุการณ์ร้าย ผู้แทนที่เลือกไว้หายหัวเอาตัวรอดไว้ก่อน

- เมื่ออาวุธร้่ายที่มีไว้ป้องกันประเทศ ถูกนำมาใช้ฆ่าประชาชน จลาจลก็จะเกิดขึ้นทุกคราไป

- เมื่อสมองตีบตัน หาทางออกให้ยุติการฆ่ากันไม่ได้ อาวุธร้ายจึงถูกนำมาใช้ในการยึดอำนาจ และปราบปราม

- ยึดอำนาจได้ แต่ไม่มีปัญญาปกครองประเทศเองได้ ก็เพราะเก่งแต่ใช้กำลัง  ไม่สั่งสมสมอง ไว้ปกครองประเทศ

-  ความห่วงใยต่อกันของเพื่อนร่วมโลกในศาสนาเดียวกัน หรือต่างศาสนาก็ไม่เว้นที่จะห่วงใยกันได้ เพราะทุกศานานั้นก็สอนให้สงสารเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะคนที่นับถือศาสนาเดียวกันกำลังฆ่าฟันกันตาย

- ศาสนาจะหมดความหมายในทันที  ที่ขากสติ โกรธ เกลียดชัง

- ต่างชาติเขาคงได้แค่ห่วงใย หากผู้มีอำนาจในหลายสาขา ไม่ออกมาใช้สติ+ปัญญา ร่วมแก้ปัญหา ก็ทุกข์ระทมกันโดยหน้าอย่างที่เห็น ๆ

- ความห่วงใย มีทั้งจริงใจ และไม่จริงใจ อยู่ที่กระทบผลประโยชน์ของประเทศตนเอง หรือไม่ 

หมายเลขบันทึก: 545640เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท