การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม


จากที่ได้ศึกษาเนื้อหาเรื่องการบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของ ดร.สมนึก ธาตุทอง หนังสือชื่อ เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ขอสรุปได้ดังนี้

ความสำคัญที่ต้องมีการจัดหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ ไม่มีรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งที่จะสำเร็จรูปและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้อย่างสมบูรณ์ การแก้ไขไปปัญหาต่างๆ ต้องใช้ความรู้จากหลายๆวิชา การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งทำให้เอื้อปรธโยชน์ต่อการเรียนรู้วิชาอื่นๆอีกด้วย

 

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1.ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ผสมผสานกลมกลืนและมีความหมายต่อผู้เรียน

2.ช่วยสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่เรียน

4.ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียน

 

กรมวิชาการได้แบ่งการบูรณาการหลักสูตรและการสอนเป็น 4 แบบดังนี้

1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว ครูสอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆเช่น การอ่าน การเขียน การคิด คำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
2. การบูรณาการแบบคู่ขนาน มีครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ครูผู้สอนคนหนึ่งสอนวิทยาศาสตร์เรื่องเงา ครูผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา คิดคำนวณในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่าง ๆ จัดการทำกราฟของเงาในระยะต่าง ๆ หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ ผู้เรียนรู้ศิลปะ เรื่องเทคนิค การวาดรูปที่มีเงา 


3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ การบูรณาการในลักษณะนี้นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องครูผู้สอน จัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นต้น


4. การบูรณาการแบบโครงการ ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเป็นโครงการโดยผู้เรียนและครูผู้สอน ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันในหลายชั่วโมงด้วยการนำเอาจำนวนชั่วโมงของวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนเคยสอนแยกกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษครูผู้สอนสามารถแยกการสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายดนตรี กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ
 

อ้างอิง

 

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090917053843AA1AqIE

 

สมนึก  ธาตุทอง.(2548).หลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมการพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 545513เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท