ช่วยกันลดพฤติกรรมความฟุ้งเฟ้อของนิสิตนักศึกษา



          ลูกสาวเขาทำมูลนิธิพูนพลัง ช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน  และส่วนหนึ่งเป็นนิสิตนักศึกษา (ไม่กี่คน)  และเมื่อเร็วๆ นี้ มีกรณี นิสิตมุสลิมที่รับทุนจากจังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่งคิดยุติการศึกษา  จากปัญหาหลายด้าน และส่วนหนึ่งเป็นเพราะทนรับภาระการเงินจากแรงบีบคั้นทางสังคมในหมู่เพื่อนนิสิตไม่ไหว

          นิสิต (ปี ๒) คนนี้บอกว่า วงการนักกิจกรรมของนิสิตเขาเรียกร้อง กดดัน ให้นิสิตทุกคน ต้องร่วมมือทำกิจกรรมด้วยกัน  เน้นความร่วมมือ โดยที่ต้องมีค่าใช้จ่ายมาก เช่นค่าเสื้อสารพัดตรากิจกรรม  และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นๆ  เขาบอกว่าเป็นเงินประมาณเดือนละ ๒,๒๐๐ บาท  โดยที่นิสิตได้รับทุนจากมูลนิธิปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท  นิสิตคนนี้ได้พยายามประหยัดโดยกินอาหารเพียงวันละ ๒ มื้อ   แต่ก็ไม่เพียงพอ  

          ลูกสาวเขารู้จักเด็กดี และรู้ว่าเด็กไม่โกหก  ผมจึงขอสื่อสารมายังผู้ใหญ่ทั้งหลาย โดยเฉพาะครูอาจารย์ ให้ช่วยกันปรามนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ เรื่องการกำหนดกิจกรรมที่ต้องใช้จ่ายเงิน ให้นึกถึงคนที่ยากลำบากขาดแคลนบ้าง

          ผมยกเอาจดหมายจากนิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุนจากมูลนิธิพูนพลัง ที่เล่าเรื่องค่าใช้จ่ายมาให้อ่านกัน  โดยผมเอาชื่อมหาวิทยาลัย และชื่อผู้เขียนจดหมายออก  ต้องอ่านจดหมายที่เด็กเขียนเล่าเองนะครับ จึงจะเห็นชัด   


๑. ปี ๒๕๔๙  ผู้เขียนคนเดียวกับหมายเลข 3

๒. จดหมายถามจากมูลนิธิ 

๓.  ปี ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด 

๔. ปี ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยในกรุงเทพ 

๕. ปี ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด 

๖. ปี ๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด 


          ย้ำว่า ผมเขียนบันทึกนี้เพื่อชักชวนกันลดพฤติกรรมความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยของนิสิตนักศึกษา  และขอความเห็นใจนิสิตนักศึกษาที่ยากจน


          ที่จริงไม่เฉพาะนิสิตนักศึกษาหรอก ที่ควรลดความฟุ่มเฟือย  ตัวเราเองทุกคนก็ควรทำตัวเป็นตัวอย่าง  ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า คนที่รู้จักกำกับตัวเองให้มีความสันโดษ พอเพียง ตามฐานะของตน เป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี 


          และทำให้ผมได้ตระหนักว่า  มูลนิธิพูนพลังไม่ได้ให้แค่เงินช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาเท่านั้น  แต่ได้ให้ความรักความเมตตาเห็นอกเห็นใจด้วย


วิจารณ์ พานิช

๑ ก.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 545089เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2013 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2013 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเห็นด้วยกับการที่ครูบาอาจารย์ต้องปลูกฝังเรื่องนี้ให้กับเด็ก ๆ

กิจกรรมใดประหยัดได้ก็ควรทำ ...
กิจกรรมใดจ่าย ก็ควรมีข้อยกเว้นบ้าง ...

แต่ ... ตัวครูเองยังฟุ้งเฟ้อ ก็ไม่ควรเป็นครูไปสอนเขาเหมือนกันครับ
มีเยอะเลย ;)...

...อะไรคือความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย...ระบุไม่ได้นะคะเพราะสถานะของแต่ละคนแตกต่างกัน...น่าจะเป็นว่ารู้จักใช้เงินให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าอย่างสูงสูด...เพราะของบางอย่างหากซื้อราคาถูกแต่ใช้ได้ไม่กี่ครั้งต้องโยนทิ้งเป็นขยะ แล้วต้องซื้อใหม่เรื่อยๆ รวมแล้วราคาจะแพงกว่าสินค้าแบนด์เนมนะคะ...

จริงด้วยค่ะอาจารย์ นักเรียนไม่รู้จักประมาณตนเองในการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องของเคร่ืองมือเคร่ืองใช้ และการบริหารการจัดการเวลา...เป็นรสนิยมใหม่ของนักเรียนการไม่มีโทรศัพย์มือถือเป็นเรือ่งน่าย การไม่ได้เล่น ถือว่าล้าหลัง..

สังคมก้มหน้า  สักแต่ต้องเล่นไลน์ทั้งที่นั่งอยู่ในโต๊ะเดียวกัน...หนูขอกดไลท์ให้สัก 1000  ครั้งค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ   คนส่วนใหญ่ไม่เดือดร้อน แต่คนส่วนน้อยเดือดร้อน อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดี

ที่เสียงส่วนใหญ่ทำให้คนส่วนน้อยเดือดร้อน ทางออกคือจะต้องพูดให้คนส่วนน้อยไม่ต้องสนใจและ

ไม่ต้องเช้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน และไม่ต้องแคร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท