ลำไยลูกเล็ก เกษตรกรจะทำอย่างไรดี


แต่ถ้าลำไยในจังหวัดเชียงราย หรือจังหวัดไหนๆ ลูกเล็กกันทั้งจังหวัด หรือส่วนใหญ่เป็นเหมือนกันหมดเลย ก็พอจะสรุปประเมินได้ว่่า ได้เกิดผลค้างเคียงของสารพิษตกค้างในสวน ได้เข้าสู่ระดับเตือนภัยเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาวะที่ยุ้ยตั้งชื่อให้ว่า สภาวะ "สวนชงักงัน" ซึ่งเกิดขึ้นกันทั้งตำบล ทั้งอำเภอ หรือทั้งจังหวัด ได้เริ่มออกอาการแล้ว....ค่ะ และจะมีสิ่งอื่นๆ ตามมาอีกอย่างแน่นอน

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

วันนี้ได้รับคำถามจากเกษตรกรท่านหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งขณะนี้กำลังประสบปัญหาคล้ายๆ กับเกษตรกรท่านอื่นๆ ในจังหวัดเดียวกัน กล่าวคือ "ลำไยลูกเล็ก"

เห็นว่าเป็นคำถามที่เป็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหย๋ จึงคิดว่าน่าจะได้นำแนวคำตอบ ซึ่งเป็นเพียง "ความเห็นส่วนตัวของยุ้ย" มาเผยแพร่ให้เกษตรท่านอื่นๆ ได้รับฟัง และพิจารณาเป็นอีกองก์ความรู้หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกสำหรับการระวังป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจจตามมาได้...ค่ะ

สมชาย ไชยราช ศรีดอนฯ เทิง เชียงราย

นู๋ยุ้ย แนะนำหน่อยนะครับ ปีนี้ลำไยที่เชียงรายลูกเล็กมาก ต่างกับทุกปีนะเวลานี้มีแตจับโบ้ เอเอ

แต่ปีนี้เร่งเท่าไหร่ก็ไม่โต สาเหตุจากช่วงระยะเรีิ่มสร้างเนื้อมันขาดน้ำหรือเปล่า จำได้ว่า 15 กค.

ใส่ปุ๋ย 0 0 60 บวก 13 13 21 มันก็ไม่ค่อยโตเท่าไหร่ มีวีธีไหนบ้างบอกด้วย ขอบคุณ

ตอบคุณสมชาย

สิ่งที่คุณสมชายถามนั้น เป็นคำตอบในตนเอง เนื่องจากคุณสมชายพิจารณาลักษณะการดูแลว่าขาดน้ำหรือไม่นั้น ก็เป็นสาเหตุประการหนึ่ง การไม่ใช้แคลเซี่ยม และโบรอน ก็อีกประการหนึ่ง และการใช้ 0-0-60 หรือ 13-13-21 จะเป็นการใช้สำหรับ 30 วันสุดท้ายก่อนการเก็บผลผลิต

แต่ในช่วงที่ลำไย พัฒนาจากลูกเท่าหัวไม้ขีด หรือเมล็ดถั่วเขียวนั้น มีกระบวนการที่จำเป็นต้องดำเินินการ คือการล้างสารพิษตกค้าง เพื่อช่วยไม่ให้รากลำไย ถูกปิดกั้น จนไม่สามารถดูซึม ธาตุอาหาร และแร่ธาตุเข้าไป เพื่อการเจริญเติบโตได้ แม้ว่าเกษตรกรจะใส่ปุ๋ย ให้ยา หรือสารเคมี ให้น้ำอย่างดี เรียกได้ว่าถูกต้องทุกประการ ก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกลำไยมีการพัฒนาแต่อย่างใด เพราะไม่ได้มีการกำจัดสารพิษตกค้าง ซึ่งทำให้รากถูกปิดกั้นการดูดซึมไว้หมดแล้ว จะมีก็แต่หญ้าภายในสวนลำไย เติบโต ออกดอกอย่างดีแทน

คุณสมชายไม่ได้ให้รายละเอียด ว่าราดสารวันที่เท่าไร หรือว่า ดอกลำไยเริ่มร่วงจนเห็นเป็นลักษณะที่รู้ได้เ่ลยว่า ดอกลำไยดอกนี้ติดลูกแน่นอน หรือที่ยุ้ยเรียกเอาเองว่า ระยะ "บักห่ำน้อย" ซึ่งจะสามารถประเมินสถานะการณ์ และแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วงได้ อย่างไร ช่วยแจ้งมาด่วน...ค่ะ เพราะการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ถึงแม้วิธีการจะถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงมันผิดเวล ซึ่งกลับทำให้การแก้ปัญหาด้วยวิธีนั้นกลับไม่ถูกต้อง และจะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นมาทันที

ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้...ค่ะ

1. วันที่ ที่ดอกลำไยร่วงโรย จนเห็นการติดผลลำไย (ระยะบักห่ำน้อย) คือ วันที่เท่าใด เดือนอะไร

2. ประวัติการดูแล การให้น้ำ ให้ปุ๋ยยา หรือสารเคมี (ควรมีการจดบันทึกไว้อย่างละเอียด และจดบันทึกสม่ำเสมอทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงานภายในสวนลำไย เพื่อประกอบการวินิจฉัย)

แต่ระหว่างนี้ ขอขยายสาเหตุของลำไยมีลูกขนาดเล็ก....หน่อยค่ะ


สาเหตุที่ลำไยมีลูกขนาดเล็กลงนั้น อาจมีปัจจัยดังต่อไปนี

ประการที่ 1.กิดจากผลจากผลกระทบของสารเคมีที่คงเหลือตกค้างอยู่ในดิน ลำต้น และ ใบ ซึ่งได้แก่ สารโพแทสเเเซียมคลอเรต ซึ่งเราใช้สำหรับราดสารทำลูกลำไย และยากำจัดแมลง และกำจัดเชื้อราทุกประเภท ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้สิ่งมีชีวิตในดินตาย หรือหนีหายไป เช่นไส้เดือน มดแมลงใต้ดิน รวมถึงจุลินทรีย์ภายในดินซึ่งหนีไม่ได้ ตายสถานเดียว ซึ่งโดยปกติหลังการเก็บเกี่ยว เราจำเป็นต้องกำจัดสารพิษตกค้างเหล่านี้ด้วยการดังนี้

การกำจัดสารพิษตกค้างในทรงพุ่มลำไย และในดิน

1.1 ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่มต้นลำไยทั้งต้น และพ่นบริเวณพื้นดินให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณที่ราดสารควรพ่นให้มากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งจะได้ผลรวดเร็วกว่า วิธีนี้รวดเร็วเพราะจะเพิ่มจุลินทรีย์ในดินได้ทันที

1.2 ใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยขี้วัว) เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน โดยใส่บริเวณใต้ทรงพุ่ม และรอบๆ บริเวณที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งสุดท้าย

1.3 ใช้กากน้ำตาลผสมน้ำเทราดใต้ทรงพุ่มลำไย และเพิ่มมากขึ้นในบริเวณที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรต กากน้ำตาลจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ วิธีนี้การย่อยสลายจะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป และจุลินทรีย์จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น

1.4 สปริงเกอร์น้ำ เพื่อให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการเจริญเติบโต และช่วยในการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน

ผลของสารเคมีตกค้าง

โพแตสเซียมคลอเรต จะรบกวนรากของต้นลำไย ด้วยการปิดกั้นการดูดซึมของราก ทำให้ต้นลำไยไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ต้นลำไยจะพัฒนาช้า ถึงไม่พัฒนาเลย ซึ่งมีผลดังนี้

1. หากเป็นระยะที่ลำไยต้องการสร้างใบก็จะได้ใบเล็ก แคระแกร่น ใบบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบซีดเหลือง หรือใบมีจุดสีม่วงกระจัดกระจาย ทำให้ลำต้น และกิ่งก้านของลำไยมีขนาดเล็ก และเปราะ ฉีกขาด หรือแตกหักได้ง่าย

2. ถ้าเป็นระยะที่ลำไยกำลังสร้างผล สารตกค้างเหล่านี้ จะทำให้ลูกลำไยไม่พัฒนาเติบโต หรือมีการเจริญเติบโตช้า และได้ลูกลำไยที่มีขนาดเล็ก

ดังนั้น ในระยะที่ลูกลำไยมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือ ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำ ฉีดพ่นทรงพุ่ม และโคนต้นลำไย เพื่อช่วยให้พิษสารตกค้างดังกล่าวสลายไปบ้าง และช่วยให้มีจุลินทรีย์ และแมลงผิวดิน และใต้ดินมากขึ้น จะช่่วยให้รากลำไยสามารถดูดซึมปุ๋ย หรือธาตุอาหารในดิน เพื่อนำไปใช้สำหรับพัฒนาการด้านเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของต้นลำไย ซึ่งรวมถึงการเจริญเติบโตของลูกลำไยที่เราต้องการด้วย

การกำจัดสารพิษสารเคมีตกค้าง

สำหรับทรงพุ่มให้ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำฉีดพ่น เท่านั้น ม่ควรใช้กากน้ำตาลเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก กากน้ำตาลเป็นอาหารของเชื้อรา จะทำให้เกิดราดำเกาะเกาะที่ลำต้น ใบ และผล โดยเฉพาะบริเวณผิวของลูกลำไย ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (ผิวไม่สวย เป็นจุดกระสีดำ หรือเป็นคราบ ทำให้ลำไยลูกลาย)

การฉีดพ่นจะกระทำเพียง 2 ครั้ง คือ

1. หลังจากลำไยติดผลได้ขนาดเท่าหัวไม่ขีดไฟ หรือเมล็ดถั่วเขียวแล้ว ให้ทำการพ่นอิมิดาคลอพิค เพื่อป้องกัน กำจัดหนอนเจาะขั่วผล และกำจัดแมลงในกลุ่มปากดูด เช่นพวกเพลี้ยไก่แจ้ลำไย และเพลี้ยไฟ ฯลฯ หลังจากนั้น 10-15 วัน เมื่อพิษของยากำจัดแมลงหมดลง ให้ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่ม ตามคำแนะนำเบื้องต้น

2. ให้ทำการฉีดพ่น "จุลินชีพชีวภาพ" ในครั้งที่ 2 ถัดจากครั้งแรก 10-15 วัน

หมายเหตุ :

- "จุลินชีพชีวภาพ" สามารถใช้ผสมพร้อมปุ๋ยทางใบทุกชนิดได้ ยกเว้นยากำจัดแมลง เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตาย

- ในระยะลูกลำไยมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มสร้างเนื้อแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นทรงพุ่มด้วย "จุลินชีพชีวภาพ" หรือให้น้ำผสมกากน้ำตาลทางดินอีก เนื่องจากจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อรา

- กรณีที่บริบทของสวนลำไยของเกษตรกร ซึ่งอยู่ในระยะการทำลูกลำไยนั้น เป็นช่วงที่มีอากาศเปิด ลมพัด หรือมีแดดจัด เพียงพอที่จะช่วยให้การระบายความชื้นภายในทรงพุ่มของลำไย หรือระบายความชื้นภายในบริเวณสวนได้ดี เกษตกรจะสามารถใช้ "จุลินจีพชีวภาพ" ผสมน้ำฉีดพ่นเพิ่มเติมได้อีกทุก 10-15 วัน จะช่วยให้ประหยัดปุ๋ยได้

- ให้หยุดพ่น "จุลินชีพชีวภาพ" ในช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรต้องใส่ปุ่ย 0-0-60 ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพความหวานให้กับเนื้อลำไย ถ้าหากพ่นในช่วงเวลาดังกล่าว จุลินทรีย์จะเข้าไปแย่งอาหาร และ จะเจริญเติบโตอยู่บริเวณกิ่ง ใบ และผล ซึ่งอาจทำให้ผิวลำไยไม่สวยได้

- หากเกิดเชื้อราดำ จะช่วยได้ด้วยการพ่นยากำจัดเชื้อรา "อามิสตา" ซึ่งนอกจากจะกำจัดเชื้อราแล้ว ยังมีสภาพเป็นกรดอ่อน ทำให้ผิวลำไยยุ่ย เป็นขุ๋ย หลังการใช้อามิสตาแล้ว ถ้าหากไม่มีฝนตกลงมากชะล้าง จะทำให้ลำไยเป็นคราบ ผิวไม่สวย

- หากเกิดเชื้อรา หรือคราบ บริเวณผิวลูกลำไย เกษตรกรสามารถแก้ไขได้ ด้วยการใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำสะอาด โดยพ่นให้เป็นละอองมีความแรงพอสมควร ไปยังช่อผลลำไย

- การฉีดพ่นละอองน้ำนั้น จะต้องฉีดพ่นจากช่อลำไยที่อยู่ข้างบนสุด ลงมาช่อข้างล่างสุด อาจจะทำให้เกษตรกรเสียเวลา เสียแรงงาน และเสียเงินค่าจ้าง แรงงาน และไม่อาจรับประกันได้เลยว่า ผิวลำไยจะสวยงามทุกช่อ เนื่องจากอาจจะยังมีฤทธิ์ตกค้างของยา "อามิสตา" คงอยู่ตามช่อผลต่างๆ อีกหรือไม่

- การจะเลือกใช้ยา "อามิสตา" ควรดูถึงปัจจัยที่จะทำให้เกิดเชื้อราภายในสวนลำไยของเกษตรกรก่อน ดังนี

บริบทที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดเชื้อรา ภายในสวนลำไย

1. ภายในสวนโดยรอบมีความชื้นสูง (ช่วยในการขยายเส้นใยของเชื้อรา)

2. ท้องฟ้าอึมครึม ไม่มีแดดออกเลยต่อเนื่อง 3 วัน (ช่วงวันที่ 4 จะเกิดทั้งแปลงทันที)

3. อากาศร้อนอบอ้าวตลอด (ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อรา)

4. เดือนสุดท้ายเพิ่งใส่ปุ๋ย 0-0-60 ไป หรือให้สารอาหารทางใบในกลุ่มน้ำตาล (เป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา)

บริบทที่เป็นปัจจัยที่จะช่วยบรรเทาการเกิดเชื้อราภายในสวนลำไย

1. เกิดฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก (เม็ดฝนจะตัดเส้นใยเชื้อราขาด ต้องเริ่มเติบโตกันใหม่)

2. ท้องฟ้าเปิด มีแดดจัดตลอด 2 วัน (ทำให้ความชื้นภายในสวนลดลง)

3. ลมพัดต่อเนื่อง ไม่อบอ้าว (ลดอุณหภูมิภายในสวน แต่ก็อาจจะเป็นลมที่พัดพาเชื้อราใหม่เข้ามาได้เ่ช่นกัน)

4. งดเว้นการใส่ปุ๋ย 0-0-60 หรือสารอาหารทางใบในกลุ่มน้ำตาล (ลูกลำไย แม้จะไม่หวานมาก ก็ยังสามารถขายผลผลิตลูกลำไยได้ แต่ถ้าผิวลำไยเกิดลาย ก็จะเสียราคาทันที)

ประการที่ 2 เกิดจากกระบวนการดูแลลำไย ไม่สอดคล้องกับจังหวะของสภาพบริบทสวน

บริบทสวน หมายถึง : สภาพแวดล้อมทั้งหลายทั้งปวงของสวนลำไย อันได้แก่

- ปัจจัยภายนอก อันได้แก่สภาพอากาศ การให้ปุ๋ย หรือสารเคมี การให้น้ำ การดูแลป้องกันการกำจัดเชื้อรา และแมลงศัตรูพืช เงินทุนขาดแคลน ตัวบุคคลผู้ดูแลสวนลำไย : ความรู้เชิงวิชาการด้านสรีรวิทยา ความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ย และสารเคมีต่างๆ ความเชื่อมั่นในตนเองสูง และความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน การไม่ตรงต่อช่วงเวลาที่จำเป็นจะต้องดำเนินการ การสุ่มเสี่ยงกระทำการที่คิดเอาเองว่าน่าจะถูกต้อง (ซึ่งความจริงไม่ถูกต้อง)ฯลฯ

- ปัจจัยภายใน อันได้แก่ สภาพของต้นลำไย ความพร้อม ความสมบูรณ์ โรคพืช โรคแมลง สภาพดิน การได้รับสารพิษตกค้างสะสม ทำให้ความสมดุลของระบบสรีรวิทยภายในมีการผิดปกติ ฯลฯ

จากที่บรรยายมาซะยืดยาวทั้งหมดนั้น เพื่อให้พอทราบหลักการ และเหตุผลที่ทำให้ลำไยลูกเล็ก ให้เกษตรกรได้ลองอ่าน และพิจารณาดูว่า ปัจจับใดเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกลำไยมีสภาพอย่างที่เกิดขึ้น เพราะยุ้ยไม่ทราบบริบท และวิธีการดูแลของเกษตรแต่ละท่าน

แต่ถ้าลำไยในจังหวัดเชียงราย หรือจังหวัดไหนๆ ลูกเล็กกันทั้งจังหวัด หรือส่วนใหญ่เป็นเหมือนกันหมดเลย ก็พอจะสรุปประเมินได้ว่่า ได้เกิดผลค้างเคียงของสารพิษตกค้างในสวน ได้เข้าสู่ระดับเตือนภัยเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาวะที่ยุ้ยตั้งชื่อให้ว่า สภาวะ "สวนชงักงัน"ซึ่งเกิดขึ้นกันทั้งตำบล ทั้งอำเภอ หรือทั้งจังหวัด ได้เริ่มออกอาการแล้ว....ค่ะ และจะมีสิ่งอื่นๆ ตามมาอีกอย่างแน่นอน

แต่ภาวะดังกล่าวในปีนี้ จะส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เพิ่งราดสารไปเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา กล่าวคือ "ผลผลิตลำไยในภาพรวมลดลง แต่ราคารับซื้อลำไยจะสูงขึ้นแทน" เพราะพ่อค้าต้องแข่งขัน แย่งกันซื้อ และยอมทุมราคาเพิ่ม เพื่อหาลำไยให้ได้ตามข้อตกลงในสัญญากับประเทศคู่ค้า ก่อนจะปิดตูคอนเทนเนอร์.ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 545061เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2013 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...แวะมาอ่านบันทึกดีมีประโยชน์ของสาวน้อยใจดีนะคะ

ขอบคุณพี่ใหญ่ ทุกๆ ท่าน สำหรับดอกไม้... และคำทักทาย..ค่ะ

อยากทราบว่าเราใช้ em ในอัตราส่วนเท่าใดต่อน้ำ200ลิตร พี่ใส่สารชุดแรกเดือนสิงหา เจอฝนตกหนักหลายวันเลบยไม่ดก ชุดสองใส่กันยา ออกดอกมาทำไหมดอกผู้เยอะมากเลยครับ มือใหม่นะน้องยุ้ยคนงาม ช่วยแนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท