รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนการสอน

  ทิศนา  แขมมณี (2545: 221-296) กล่าวว่า จากการสังเกตและวิเคราะห์ผลงานของนักการศึกษาผู้ค้นคิดระบบและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ พบว่านักการศึกษานิยมใช้คำว่า “ระบบ” ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่ ๆ เช่นระบบการศึกษา หรือถ้าเป็นระบบการเรียนการสอน ก็จะครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ๆ ของการเรียนการสอนในภาพรวม และนิยมใช้คำว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ“วิธีสอน” ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยที่สำคัญของระบบการเรียนการสอน ดังนั้นการนำวิธีสอนใด ๆ มาจัดทำอย่างเป็นระบบตามหลักและวิธีการจัดระบบแล้ว วิธีสอนนั้นก็จะกลายเป็น “ระบบวิธีสอน” หรือที่นิยมเรียกว่า “รูปแบบการเรียนการสอน”รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล

  รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้

  1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)

  2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)

  3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)

  4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)

  5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

  การพัฒนาประชากรให้เป็นคนดีมีคุณภาพนั้นจะต้องดำเนินการให้เป็นระบบครบวงจรให้ความรู้การพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม การวางระบบการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถานศึกษาก็แตกต่างกัน มีการดำเนินการที่ไม่เหมือนกัน เช่น สถานศึกษาบางแห่งที่มีการจัดการศึกษาระดับอนุบาล  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน เพื่อให้เหมาะสมในการศึกษาต่อระดับประถมศึกษาจะมอบหมายให้ครูติดตามดูแลการเรียนการสอนตลอดเวลาทั้งอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ถึง ป. 6 ติดต่อกัน การดำเนินการก็จะต้องมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ข้อดี ก็คือว่าครูจะมีความคุ้นเคยนิสัยใจคอ  ความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นอย่างดี บางสถานศึกษาจะให้สอนประจำโดยไม่มีการมอบหมาย ให้ติดตามไปสอนผู้เรียนในระดับที่สูงขึ้น เช่น สอนอนุบาล 1 ก็ประจำอยู่ชั้นอนุบาล 1  ตลอดเวลาข้อดีก็คือว่าจะทำให้ครูรู้ว่าครูควรจะให้อะไรกับผู้เรียนในวัยนี้  ต้องมีการพัฒนาการให้ความรู้ตลอดเวลา

  การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพคนที่เป็นครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้การศึกษาจะต้องมีการศึกษาหลักสูตรในการให้การศึกษากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ถูกต้องและเหมาะสม  การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพนั้น  ควรจะต้องมีการศึกษาสภาพความเป็นจริงของผู้เรียนหลักสูตรต้องการให้อะไรกับผู้เรียนจะมีเทคนิควิธีการในการพัฒนาผู้เรียนอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต หลักการอันสำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนาข้าราชการครู  กอบกู้คุณภาพคน

อ้างอิงมาจาก

การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพ. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=0CCwQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.moe.go.th%2Fwebtcs%2FTable4%2FKosin12%2Fa6.doc&ei=7h4EUt3UIIjsrAeGh4CYBg&usg=AFQjCNG2kROAYRyqQK_nYabSSM8pVPw&sig2=pHdsDWOujkTUiy3G2Tm7ug&bvm=bv.50500085,d.bmk&cad=rja (09 สิงหาคม 56)

รูปแบบการเรียนการสอน. (2553). เข้าถึงได้จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/408448(09 สิงหาคม 56)


หมายเลขบันทึก: 545036เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2013 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2013 05:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท