การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


สำหรับในเรื่องการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทิศนา แขมมณี (2554) ได้กล่าวเรื่องของหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไว้ในหัวข้อ "หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย" ซึ่งในหัวข้องหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี้ ได้แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ดังต่อไปนี้

1. แบบเน้นตัวผู้เรียน
- การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
- การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self-Directed Learning)

2. แบบเน้นความรู้ความสามารถ
- การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)
- การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล (Verification Teaching)
- การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concept-Based Instruction)

3. แบบเน้นประสบการณ์
- การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning)
- การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม (Service Learning)
- การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)

4. แบบเน้นปัญหา
- การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)
- การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการ (Project-Based Instruction)

5. แบบเน้นทักษะกระบวนการ
- การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ (Inquiry-Based Instruction)
- การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด (Thinking-Based Instruction)
- การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process-Based Instruction)
- การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย (Research-Based Instruction)
- การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Instruction Emphasizing Self-Learning Process)

6. แบบบูรณาการ

สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นการลดบทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้าพบว่า การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะเหมาะสมกับนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้มักจะหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสทออยู่แล้ว นักเรียนบางคนรู้บางเรื่องลึกกว่าครูเสียอีก ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อนักเรียน แต่จะแทบจะไม่ได้ประโยชน์เลยกับนักเรียนที่เรียนค่อนข้างอ่อน เพราะนักเรียนยังขาดพื้นฐานหลายอย่างอีกมาก อีกทั้งรู้สึกถึงความล้มเหลวในการเรียนของตน จึงขาดแรงจูงใจที่จะไปค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ได้แต่รอให้ครูมาป้อนให้ ซึ่งครูผู้สอนต้องคำนึงถึงจุดนี้ และปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนของตน โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างอยากจะลองใช้การจัดการเรียนการสอนในทุกๆแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ต้องยอมรับว่าอุปสรรคหนึ่งที่ยิ่งใหญ่มาก นั่นคืออัตราส่วนครูต่อนักเรียน ซึ่งบ่อยครั้งทำให้การมาอภิปรายร่วมกันนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ลำบาก ผมคิดว่า หากเราสามารถลดอัตราส่วนครู 1 คน ต่อจำนวนนักเรียนได้ การจัดการเรียนการสอนของครูจะมีประสิทธิภาพขึ้นอีกเยอะครับ

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

หมายเลขบันทึก: 545021เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

...  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ .... สำคัญจริงๆๆ ค่ะ  

 

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท