แม้จะค้านจนคอขึ้นเอ็น สภาก็ผ่านกฏหมายนิรโทษกรรมวาระที่ 1: ย้อนอดีตดูคลิปต์กรรมที่จะนิรโทษ


ผ่านแล้ว ! สภามีมติรับหลักการ ร่าง นิรโทษฯ 

มื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ฉบับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นการพิจารณาในวันที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ใช้เวลาพิจารณาไปกว่า 9 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมประธานได้เปิดให้สมาชิกได้หารือข้อเดือดร้อนของประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานที่รัฐสภา ว่า เมื่อเวลา 16.30 น. หลังจากมีการถกเถียงว่าให้มีการปิดการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ เพื่อไทย หรือไม่นั้น ประธานในที่ประชุมนายเจริญ จรรย์โกมล ได้เปิดให้มีการลงมติ ซึ่งเสียงข้างมาก 300 เสียงเห็นควรให้ปิดการอภิปราย  ขณะที่ 126 เสียง เห็นควรให้เปิดอภิปรายต่อ งดออกเสียง 6 เสียง โดยที่ประชุมในขณะนั้นมีมี 323 เสียง

ต่อมานายเจริญ ก็เปิดให้ลงคะแนนมติรับหลักการวาระที่ 1 ทันที และเป็นไปตามคาดคือเสียงส่วนใหญ่ 300 เสียง รับหลักการ ส่วนไม่รับหลักการมีเพียงแค่ 124 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง โดยที่ประชุมในขณะนั้นมี 437 เสียง

จากนั้น ที่ประชุมให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจำนวน 35 คน แบ่งโควตาเป็นคณะรัฐมนตรี (ครม.)  3 คน พรรคเพื่อไทย 17 คน พรรคประชาธิปัตย์ 10 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคชาติพัฒนา 1 คน และพรรคพลังชล 1 คน

ทั้งนี้ สภาได้มีมติ 286 ต่อ 92 เสียง เห็นชอบระยะเวลาการแปรญัตติเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นเวลา 7 วัน

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้เสนอรายชื่อ 3 คนที่เป็นคณะกรรมาธิการในสัดส่วน ครม.โดย 1 ในนั้นมีรายชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอชื่อคณะกรรมการธิการ 17 คน โดยหนึ่งในนั้นมีรายชื่อ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นคณะกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย 

จากนั้นประธานในที่ประชุมสั่งให้ปิดประชุมสภา เป็นอันว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผ่านมติสภาในวาระที่ 1 เป็นที่เรียบร้อย

เมื่อเวลา 14.05 น.  นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.ปชป. ลุกขึ้นเสนอนับองค์ประชุม หลังบรรยากาศห้องประชุมโหรงเหรง ทำให้นายเจริญ จรรย์โกมล ที่ทำหน้าที่ประธานสภาฯในขณะนั้น กดออดเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุม หลังรอ 8 นาที ปรากฏว่าสภาไม่ล่ม โดยมีสมาชิกอยู่ในห้อง 296 คน

ต่อมา เมื่อเวลา 14.13 น. หลังนับองค์ประชุมเสร็จ นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพื่อไทย ลุกขึ้นเสนอญัตติต่อสภา ขอให้ปิดการอภิปรายทันที โดยมีสมาชิกรับรองครบถ้วน

ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ปชป. ซึ่งจ่อคิวอภิปรายคนต่อไป ลุกขึ้นกล่าวขอร้องให้ประธานเปิดอภิปรายต่อ โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้านร่วมด้วยช่วยวิงวอน บอกว่าฝ่ายค้านเข้าคิวจ่ออีก 60 คน ตอนนี้เพิ่งพูดไปได้แค่ 4 คนเท่านั้น

ขณะที่นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ภูมิใจไทย สนับสนุนให้อภิปรายต่อ โดยระบุว่า ถ้าปิดอาจทำให้มวลชนข้างนอกไม่พอใจ แล้วอาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้ รวมทั้งนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.จ.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ก็ขอให้มีการเปิดอภิปรายต่อ แต่อาจจะให้เวลาถึงแค่ 18.00 น. พร้อมกับแอบเหน็บนายบุญยอดว่า  "บุญยอดนี่ 2 ครั้งแล้วนะ เป็นอย่างนี้ทุกที"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังโต้เถียงกันไปมารายครึ่งชั่วโมง ประธานในที่ประชุม ได้สั่งพักการประชุม

เมื่อเวลา 12.20 น. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อภิปรายไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า เพราะร่างดังกล่าวสร้างความขัดแย้งครั้งใหม่ให้กับสังคมไทย หากต้องการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม รัฐบาลต้องเป็นเจ้าภาพเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมเอง ไม่ต้องกลัวการกล่าวหาว่าทำเพื่อพี่ชาย ไม่ใช่ให้คนอื่นเสนอกฎหมายแทนแบบปิดบังซ่อนเร้น

ทั้งนี้การนิรโทษกรรมในอดีตไม่เคยนิรโทษให้กับผู้ที่วางเพลิงเผาทรัพย์สินรัฐและเอกชน การทุจริตและการหมิ่นพระบรมราชานุภาพ ปชป.ยินดีกับความปรองดองที่ไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรม คนที่ทำความผิดเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

"วันนี้พรรคฝ่ายค้านยินดีให้นิรโทษกรรมในความผิดที่นิรโทษได้ ยินดีร่วมอยู่ในสภาปรองดองของนายกรัฐมนตรี แม้รู้ดีว่าสุดท้ายแล้วกฎหมายฉบับนี้ออกไปเพื่อลบล้างความผิดให้กับใคร แต่ต้องมีเงื่อนไขตรงไปตรงมาและถอนกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อไปปรึกษาหารือกันก่อน ก่อนที่จะลงมติรับหลักการ"
 
เมื่อเวลา 10.53 น. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ขึ้นอภิปรายคนแรกว่า ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเป็นการทำลายอธิปไตย กฎหมายของประเทศ จะทำให้สังคมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญญา เชื่อว่าผู้เสนอกฎหมายและพวกพ้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกฎหมายนี้ 100% และตนเห็นว่า คนที่กระทำความผิดต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขอเสนอทางออกให้ประเทศให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถอนกฎหมายนิรโทษกรรมออกจากสภาและให้ทุกคนเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และควรทำประชามติถามประชาชนว่า ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ รัฐบาลอย่าสร้างปัญหาเพิ่ม

โดยการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ชื่อบอกว่าเป็นการปรองดอง แต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่ บรรยากาศในการพิจารณาก็ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ปิดทางเข้าออกสภา ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าฟังการอภิปราย แม้กฎหมายมีเพียง 7 มาตรา แต่ก็เป็นการเริ่มต้นความขัดแย้งของคนในชาติ มีการชุมนุมประท้วงต่อต้าน

หมายเลขบันทึก: 545010เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ย้อนอดีตซึ่งเป็นที่มาของโทษกรรมกันซักหน่อยดไหมครับ

http://www.youtube.com/watch?v=gDilc5PrrPI

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท