คำราชาศัพท์


คำราชาศัพท์


ราชาศัพท์ มีความหมายตามถ้อยคำว่า ถ้อยคำสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน แต่ความหมายของคำราชาศัพท์นั้น หมายถึงถ้อยคำที่ใช้กับผู้ที่ควรเคารพตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินิพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ พระศาสดา พระสงฆ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนบุคคลอื่นที่อยู่ในฐานะอันควรแก่การเคารพ

คำราชาศัพท์นั้นมีทั้งมาจากคำไทยดั้งเิดิมนำมาตกแต่งเป็นคำราชาศัพท์โดยเติมคำว่า "พระ" หน้าคำนาม เช่น พระที่นั่ง(ที่ประทับ) พระแท่น(เตียง) พระยอด(ฝี) หรือ เติมคำว่า "ทรง" หน้าคำกริยา เช่น ทรงช้าง(ขี่ช้าง) ทรงดนตรี(เล่นดนตรี) ทรงบาตร(ตักบาตร) นอกจากนี้เป็นคำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาอื่น เช่น พระหัตถ์(บาลี) พระเนตร(สันสกฤต) พระราชดำรัส(เขมร)

การใช้คำราชาศัพท์ที่มักจะผิดพลาดอยู่เสมอได้แก่การใช้คำว่า "ทรง" ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

1. คำใดเป็นคำราชาอยู่แล้ว ห้ามใช้"ทรง"นำหน้าเข้าไปอีก จะทำให้ฟุ่มเฟือย ที่พบเห็นบ่อยๆทางสื่อต่างๆ เช่น ทรงเสด็จฯ ทรงโปรด ทรงพระราชทาน ทรงพอพระทัย ทรงทอดพระเนตร ทรงรับสั่ง ทรงเสวย ควรใช้เพียง เสด็จฯ โปรด ทอดพระเนตร รับสั่ง เสวย

2. คำกริยาสามัญที่ไม่มีคำราชาศัพท์ ใช้ "ทรง"นำหน้าเพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงฟัง ทรงทักทาย ทรงชื่นชม ทรงเล่นกีฬา

3. คำว่ามี และเป็น ตามด้วยคำราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้คำว่า "ทรง" นำหน้าอีก จะทำให้ดูฟุ่มเฟือย เช่น

มีพระบรมราชโองการ มีพระราชดำริ มีพระมหากรุณาธิคุณ

เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา เป็นพระประมุข

4. "ทรงมี" "ทรงเป็น" ไม่ต้องตามด้วยคำราชาศัพท์จะทำให้ฟุ่มเฟือย เช่น

ทรงมีทุกข์ ทรงมีเหตุผล ทรงมีความสงสาร

ทรงเป็นศิษย์เก่า ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นประธาน

ได้เวลาทดสอบ

1. ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คำว่า "เป็นแขก" ควรใช้ถ้อยคำอย่างไรจึงจะเหมาะสม

ก. พระราชอาคันตุกะ

ข. ราชอาคันตุกะ

ค. พระอาคันตุกะ

ง. อาคันตุกะ

เฉลย คำตอบที่ถูกต้อง คือ ข้อ ง

เหตุผล ประธานาธิบดีเป็นบุคคลสามัญไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์

2. ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

คำว่า "เป็นประมุข" ควรใช้ถ้อยคำอย่างไรจึงจะเหมาะสม

ก. ทรงเป็นพระประมุข

ข. เป็นพระประมุข

ค. ทรงเป็นประมุข

ง. เป็นประมุข

เฉลย คำตอบที่ถูกต้อง คือ ข้อ ค

เหตุผล พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประชาชนซึ่งเป็นสามัญชน จึงไม่ต้องใช้ว่าพระประมุข

หมายเลขบันทึก: 544865เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2013 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณครูแป๊ว  มาเรียนรู้คำราชาศัพท์ด้วยคนครับ

ดูแบบทดสอบแล้ว ถ้าข้อ ๑. เป็นผู้นำของประเทศบรูไนหละครับ 

ควรใช้ถ้อยคำข้อไหนดี

สวัสดีค่ะ

    บรูไน ดารุสซาลาม ประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียน  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เนการา บรูไน ดารุสซาลาม แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข  

    บรูไนปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระิองค์ที่ 29

   ดังนั้นหากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบูรไนเสด็จฯ เยือนไทย พระองค์จะทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คำตอบข้อ ก ค่ะ       

   

อยากจะสอบถามครับว่าข้อที่ ๑ เฉลยผิดหรือเปล่าครับ ?เท่าที่ทราบ ควรจะต้องตอบ ก. พระราชอาคันตุกะ นะครับ เนื่องจากเป็นแขกของพระราชา ไม่ได้อยู่ที่ว่าคนที่มาเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่ …. ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ไปเป็นแขกของ ประธานาธิบดี ก็ใช้คำว่า “อาคันตุกะ” ให้ดูที่เจ้าบ้านเป็นหลักไม่ใช่หรือครับว่าเป็นใคร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท